การศึกษารูปแบบการโกลนพลอยสีในจังหวัดจันทบุรี

A STUDY OF COLORED GEMSTONE PREFORMING PATTERNS IN CHANTHABURI

Authors

  • ปริญญา ชินดุษฎีกุล
  • อุทิศ บำรุงชีพ

Abstract

บทคัดย่อ                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการถ่ายทอดวิธีการโกลนพลอย ขั้นตอนการทำงาน และการใช้อุปกรณ์ของช่างโกลนพลอยในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาการสร้างรูปร่างรูปทรงของพลอย การวางตำแหน่งสีของพลอยจากพลอยก้อนของช่างโกลนพลอยในจังหวัดจันทบุรีด้วยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างช่างโกลนพลอยในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 ท่าน ที่มีประสบการณ์โกลนพลอยมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจงโดยการขอข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรีพบว่าการเรียนรู้วิธีการโกลนพลอยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ  1) ช่างโกลนพลอยที่มีพื้นเพเป็นคนจันทบุรีส่วนใหญ่ฝึกฝนการโกลนพลอยจากญาติพี่น้องที่ทำการสอนต่อ ๆ กันมา 2) ช่างโกลนพลอยที่มาจากต่างจังหวัดที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถานประกอบการ 3) ช่างโกลนพลอยที่การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบครูพักลักจำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการโกลนพลอยประกอบด้วยโต๊ะโกลน และหินโกลนพลอยที่มีความละเอียดแตกต่างกันตามความเหมาะสมของลักษณะพลอยแต่ละชนิด การพิจารณารูปร่าง รูปทรง และการวางตำแหน่งสีของพลอยมีผลต่อราคาพลอยอย่างยิ่ง  พลอยส่วนใหญ่จะถูกโกลนเป็นรูปไข่เนื่องจากมีความนิยมการซื้อขายกันมากที่สุด ในส่วนของพลอยที่ไม่สามารถทำรูปไข่ได้จะพิจารณารูปร่างอื่นที่ใกล้เคียงกับลักษณะก้อนพลอยมากที่สุดเพื่อการเก็บน้ำหนัก ลักษณะสีตามธรรมชาติของก้อนพลอยชนิดต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) พลอยที่มีหย่อมสีจะมีการวางตำแหน่งสีในบริเวณก้นพลอยเพื่อให้สีกระจายขึ้นที่ด้านหน้าพลอย 2) พลอยที่ไม่มีหย่อมสีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือพลอยที่มีสีเดียวทั้งเม็ด การโกลนพลอยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหลบรอยแตกร้าว รูปร่างและเก็บน้ำหนัก กลุ่มที่ 2 พลอยที่มีสีแฝด พลอยกลุ่มนี้จะต้องเพิ่มการพิจารณาเลือกตำแหน่งที่มีสีเหมาะสมร่วมด้วย   คำสำคัญ : การโกลนพลอย, หย่อมสี, สีแฝด                 Abstract The research aimed to investigate the knowledge transferring method on gemstone preforming by the gems cutters in Chanthaburi including the technique and equipment of the preforming. Moreover, the aim was to analyze the process of rough-stone shaping and color positioning by the cutter in Chanthaburi. In-depth interview by semi-structured questionnaire was used to collect information from ten gemstone cutters in Chanthaburi. Each of them had over two years of experience. Purposive sampling of the gem’s cutter group was done by requesting the information from Chanthaburi Gems and Jewelry Traders Association. The findings identified three groups of knowledge transferring methods on gemstone preforming. The first group, Chanthaburi-local gems cutters, gained the skill from the family members. The second group, the cutters from outside Chanthaburi, was trained by the company. The third group was self-taught. The preforming equipment comprised of the preforming table and the grinding wheel with different scales of roughness depending on types of gemstones.  Shape, cut and color of gemstones affects a market value of the gemstones. The study showed that, in Chanthaburi, the stones were mainly cut in oval shape due to the market demand. Otherwise, the stones were shaped to maximize their final-cut weight. Gemstone color positioning methods were divided into two groups. One group, for gemstones with color zoning, was to position the color zone at the bottom of the shape. So the color would appear on the face of the cut stone.  The other group, for the stones without color zoning, was separated into two sub-group. (1) For one-color gemstones, color-positioning was unnecessary. The preforming was only to remove crack, shape and preserve the weight. (2) For gemstones with pleochroism, color positioning was necessary to locate the appropriate color of the gemstones. Keywords : Gemstone preforming, Color zoning, Pleochroism  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-12-30