สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในจังหวัดนครนายก
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาการใช้งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดนครนายก 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการใช้งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดนครนายก โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่ใช้การดำเนินการด้วยการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดนครนายก มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครนายกทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 88 โรงเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling method) โดยกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามความต้องการและสภาพปัญหาในการบริหารการจัดการศึกษาและความต้องการใช้งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในจังหวัดนครนายก วิเคราะห์โดยการหาร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการในการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดนครนายกทั้ง 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านการบริหารงานบุคคลและ 4) ด้านการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการมากที่สุด คือ ด้านบริหารวิชาการ (X = 3.28) ตามด้วย ด้านการบริหารทั่วไป (X = 3.25) ด้านการบริหารงานบุคคล (X = 3.18) และด้านการบริการงบประมาณ (X = 2.91) ตามลำดับDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ