ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อผลการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี และพยาธิใบไม้ตับของครูประถมศึกษาในอำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Abstract
โรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ในตับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง การทำความเข้าใจปัญหาผ่านมิติการศึกษาถือเป็นความพยายามครั้งสำคัญของผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุขและการศึกษา ที่ร่วมมือกันออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมองค์ความรู้และความตระหนักต่อโรคภัย ซึ่งการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ถือเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในอำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มครูผู้สอนที่เข้ารับการฝึกอบรม ฯ จำนวน 139 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 41-50 ปี ส่วนใหญ่สังกัดสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่าสถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อผลการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบจากบทความนี้ช่วยพัฒนาและออกแบบรูปแบบการจัดฝึกอบรมหลักสูตร ฯ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อโรคได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ