ชนชั้น การผลิตซ้ำ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย
Abstract
บทความวิชาการ เรื่อง ชนชั้น การผลิตซ้ำ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ชนชั้นทางสังคมกับการผลิตซ้ำทางการศึกษา ที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย ใช้การศึกษาเอกสารจากหนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีแนวคิดของ Pierre Bourdieu (1990) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ พบว่า บูดิเยอร์ ค่อนข้างประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำแนวคิดทางสังคมวิทยา จากนักคิดทางสังคมวิทยายุคคลาสสิกอย่าง Karl Marx (1818 - 1883) Emile Durkheim (1858 - 1917) และ Max Weber (1864 - 1920) มาสู่การพัฒนาและต่อยอดแนวคิดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในปัจจุบันได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งการพัฒนาแนวคิดเรื่องชนชั้นที่มีมุมมองแตกต่างจากนักคิดยุคคลาสสิก ทั้งนี้ บูดิเยอร์ยังได้วิเคราะห์แนวคิดการผลิตซ้ำโดยกล่าวถึงการผลิตซ้ำทางสังคมที่เป็นสิ่งที่ครอบงำ และส่งต่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม โดยผู้เขียนมุ่งเน้นไปที่การผลิตซ้ำทางการศึกษาเป็นหลัก ดังนั้นบทความฉบับนี้ จึงมุ่งเน้นการนำเสนอมุมมองของผู้เขียนต่อแนวคิดของ Pierre Bourdieu ในเรื่อง ชนชั้น (Class) และการผลิตซ้ำ (Reproduction) ในการอธิบายปรากฏการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบริบทสังคมไทยต่อไปในอนาคตDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ