รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลระนอง

Authors

  • มนตรี สังข์ชุม โรงเรียนอนุบาลระนอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอนุบาลระนอง การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครู 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครู 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนอนุบาลระนอง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ แบบประเมินวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูมี 3 องค์ประกอบ คือ ความสามารถในการจัดชั้นเรียน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และความสามารถในการวัดและประเมินผลผู้เรียน และแนวทางการส่งเสริมวิธีการจัดการเรียนรู้ของครู คือ การส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งเสริมวิธีการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า รูปแบบการพัฒนาครู มี 6 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมาของรูปแบบ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล รูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู พบว่า หลังการพัฒนาครูมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยรวมร้อยละ 72.89 โดยครูทุกคนมีพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 72.50 และ ครูมีวิธีการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการใช้รูปแบบในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการพัฒนา ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ พบว่า ทุกปัจจัยมีจุดเด่นมากกว่าจุดด้อยที่จะต้องพัฒนาและแก้ไข 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย