การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านระบบฐานข้อมูล นักเรียนรายบุคคล ของโรงเรียนอนุบาลระนอง

Authors

  • มนตรี สังข์ชุม โรงเรียนอนุบาลระนอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) เพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านระบบฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ของโรงเรียนอนุบาลระนอง การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและการศึกษาเอกสารหลักการแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างรูปแบบการพัฒนา 2 การสร้างรูปแบบ 3 การทดลองใช้รูปแบบ  และ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูประจำชั้นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 38 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบศึกษาสภาพแวดล้อมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหา การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านระบบฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล คู่มือการจัดทำระบบฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล แบบสัมภาษณ์การใช้งานรูปแบบ แบบศึกษาความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพและปัญหา 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องและครบถ้วน และไม่ตรงตามความจริง ทำให้การแปลผลการประเมินคลาดเคลื่อน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ข้อมูลที่ครูมีและไม่ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออก ขาดข้อมูลที่แท้จริง 3) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน พบว่า การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ยังต้องมีการปรับปรุง 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ปกครองขาดความเข้าใจวิธีการป้องกันและจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็ก 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพและความถนัด 2.การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบคุณภาพ  และการปรับปรุงแก้ไข 3. การใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเป็นระบบเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน มีความชัดเจนตรงกับความต้องการกระชับเวลาเอื้อต่อการทำงานของครู  4  ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูประจำชั้นและหัวหน้าสายชั้นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย