การเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักของฟันรักษารากที่มีขนาดคลองรากฟันกว้างมาก (ผนังคลองรากฟันบาง) เมื่อใช้เดือยไฟเบอร์จำนวนต่างๆ กัน

Authors

  • อุษณีย์ ปึงไพบูลย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาวิณีย์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นิศากร เวศย์วิริยะกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร

Abstract

ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันที่มีคลองรากที่ผายออกมาก ผนังคลองรากฟันบาง เป็นฟันที่มีความเสี่ยงต่อการแตกหักสูงกว่าฟันที่ผ่านการรักษารากฟันทั่วไป มีผู้เสนอวิธีการบูรณะด้วยการก่อแกนด้วยเรซินคอมพอสิตทั้งหมด การใช้เส้นใยแก้วสำเร็จรูปร่วมกับเรซินคอมพอสิต หรือการใช้เดือยฟันไฟเบอร์ร่วมกับการก่อแกนด้วยเรซินคอมพอสิต มาใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงของผนังเนื้อฟัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักของฟันลักษณะดังกล่าวโดยใช้เรซินคอมพอสิตยึดเดือยฟันไฟเบอร์พร้อมกับก่อแกนฟันเป็นวัสดุเดียวกัน และใส่เดือยไฟเบอร์เสริมในส่วนคลองรากที่ผายออกเป็นจำนวนต่างๆ กันแบ่งฟันกรามน้อยล่างซี่ที่หนึ่งที่ผ่านการรักษารากแล้วออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซี่ โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมบูรณะด้วยเรซินคอมพอสิตก่อแกนฟัน (Multicore Flow) กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยเดือยฟันไฟเบอร์ 3 จำนวน 1 อัน ร่วมกับการก่อแกนฟันด้วยเรซินคอมพอสิต (FRC Postec Plus No.3, Multicore Flow) และกลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยเดือยฟัน ไฟเบอร์เบอร์ 3 จำนวน 1 อัน เบอร์ 0 จำนวน 2 อัน ร่วมกับการก่อแกนฟันด้วยเรซินคอมพอสิต (FRC Postec Plus No.3 & No.0, Multicore Flow) แล้วทำครอบฟันโลหะทั้ง 3 กลุ่ม จากนั้นทำการทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบอเนกประสงค์ (Universal testing machine: static, LLOYD, Model LR10K) ใส่แรงกดทำมุม 135 องศากับแนวแกนฟันจนกระทั่งฟันแตกโดยใช้ความเร็วหัวกด เท่ากับ 1 มิลลิเมตร/นาทีผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของแรงที่ทำให้เกิดการแตกในกลุ่มที่ 1 มีค่า 361.80 ± 93.16 นิวตัน กลุ่มที่ 2 มีค่า 559.46 ±155.12 นิวตัน และกลุ่มที่ 3 มีค่า 468.48±155.17 นิวตัน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)การบูรณะฟันที่ผ่านการรักษารากฟันที่มีคลองรากฟันกว้าง ผนังคลองรากฟันบาง สามารถทำได้ด้วยการก่อแกนฟันด้วยเรซินคอมพอสิตเท่านั้น หรือจะใส่เดือยฟันไฟเบอร์ จำนวน 1 หรือ 3 อัน ร่วมกับการก่อแกนด้วยเรซินคอมพอสิต ซึ่งไม่ว่าจะบูรณะด้วยวิธีใด ต่างก็ไม่ได้ให้ความแตกต่างของความต้านทานต่อการแตกหักของฟันลักษณะดังกล่าวคำสำคัญ: เดือยฟันไฟเบอร์ เรซินคอมพอสิต ความต้านทานต่อการแตกหัก ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันที่มีคลองรากฟันกว้างEndodontically treated tooth with flared root canal poses the greater risk of fracture than the tooth undergone regular endodontic treatment. In order to increase success rate of restoration, several researchers proposed different solutions; building up the whole tooth structure with resin composite core material, resin composite core in combination with preformed glass fibers, or resin composite core in combination with a fiber post to strengthen the tooth structure. However, the solution with the single fiber post in flared root canal resulted in excessive resin cement in the flared root canal that may weaken the tooth structure.Objective: The purpose of this study was to compare the fracture resistance of endodontically treated teeth with flared root canals restored with different number of fiber post.Method: Fifteen mandibular first premolar teeth were endodontically treated and divided into 3 groups of 5. Group 1 was the control, restored with a resin composite core material (Multicore Flow), Group 2 was restored with a single fiber post and resin composite core (FRC Postec Plus No.3, Multicore Flow), and Group 3 was restored with 3 fiber posts and resin composite core (1 FRC Postec Plus No.3 and 2 fiber posts No.0, Multicore Flow). Samples from all groups were then restored with metal crowns. They were tested at 135 degree angulation in respect to the longitudinal axis of the teeth using a Universal testing machine (LLOYD, Model LR10K) in compressive mode at a crosshead speed of 1 mm/min.Result: The average fracture resistances were as follows: Group 1: 361.80 ± 93.16 N, Group 2: 559.46 ±155.12 N, Group 3: 468.48±155.17 N. Data were analyzed using One-way ANOVA, showing no statistical difference between groups (P > 0.05).Conclusion: Endodontically treated teeth can be restored with either resin composite core alone or resin composite core combined with 1 or 3 fiber posts. These three methods gave no significant difference in fracture resistance of the teeth.Keywords: fiber post, resin composite, fracture resistance, endodontically treated tooth with flared root canal

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุษณีย์ ปึงไพบูลย์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาวิณีย์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิศากร เวศย์วิริยะกูล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร

Downloads

Published

2015-01-02

How to Cite

ปึงไพบูลย์ อ., ดิดรอน ภ. ป., & เวศย์วิริยะกูล น. (2015). การเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกหักของฟันรักษารากที่มีขนาดคลองรากฟันกว้างมาก (ผนังคลองรากฟันบาง) เมื่อใช้เดือยไฟเบอร์จำนวนต่างๆ กัน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(13, January-June), 76–87. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/7352