วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong><br />1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ<br />2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br /><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม)<br /><strong><br />วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)</strong> เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน <strong>วารสารกลุ่มที่ 1</strong> (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)<br /><br /><strong>กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)</strong> ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ<br /></span></p> en-US swujournal@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.วิชชากร จารุศิริ) swujournal@gmail.com (กองบรรณาธิการวารสาร) Sun, 12 Mar 2023 03:24:50 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แบบจำลองของการอบแห้งจิ้งหรีดด้วยเครื่องอบแห้งแบบสเปาเต็ดฟลูอิดเบด (DRYING MODEL OF CRICKET DRIED USING THE SPOUTED FLUID BED DRYER) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15064 <p>บทความนี้ดำเนินการเพื่อหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำนายการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนความชื้นของจิ้งหรีดด้วยเครื่องอบแห้งแบบสเปาเต็ดฟลูอิดเบด ซึ่งมีเงื่อนไขการอบแห้ง ดังนี้ อุณหภูมิอบแห้ง 3 ระดับ (65, 75 และ 85<sup>o</sup>C) ความเร็วลมสเปาต์ 2 ระดับ (14 และ 16 m/s) ความเร็วฟลูอิดไดซ์คงที่เท่ากับ 12 m/s และความสูงเบดเท่ากับ 10 cm พิจารณาแบบจำลองที่เหมาะสมด้วยค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) และค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองของ Logarithmic สามารถทำนายคุณลักษณะการอบแห้งของจิ้งหรีดได้เหมาะสมที่สุด เพราะว่าค่า R<sup>2</sup> มีค่าสูงสุด และ RMSE มีค่าต่ำที่สุด ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นของจิ้งหรีดมีค่าอยู่ระหว่าง 7.63×10<sup>-8</sup>- 11.4×10<sup>-8</sup> m<sup>2</sup>/s และค่าพลังงานกระตุ้นมีค่าเท่ากับ 17.98 kJ/mol. และ 18.16 kJ/mol. ที่ความเร็วลมสเปาต์ 14 m/s และ 16 m/s ตามลำดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สเปาต์ฟลูอิดเบด แบบจำลองการอบแห้ง จิ้งหรีด</p> <p>This research aimed to determine the most appropriate mathematical model for predicting the moisture ratio of cricket dried by a Spouted fluid bed dryer. The drying operations were: three levels of drying temperature (65, 75 and 85<sup>o</sup>C), two levels of spout air velocity (14 and 16 m/s), constant fluidized velocity of 12 m/s, and bed height of 10 cm. Two statistical indices which are the coefficient of determination (R<sup>2</sup>) and root mean square error (RMSE) were applied for finding the optimum model. The results showed that, the Logarithmic model could represent the drying characteristics of cricket most satisfactorily with the highest R<sup>2</sup> values and the lowest RMSE values. The calculation of moisture diffusivity values achieved in the ranged from 7.63x10<sup>-8</sup> to 11.4x10<sup>-8</sup> m<sup>2</sup>/s. The activation energies were 17.98 and 18.16 kJ/mol. at spout velocity of 14 and 16 m/s, respectively.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Spout Fluid Bed, Drying Model, Cricket</p> กิตติ สถาพรประสาธน์, โพธิ์ทอง ปราณีพลกรัง Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15064 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการประมาณค่าช่วงความเชื่อมั่นของความแปรปรวนของการแจกแจงปกติและปกติปลอมปนด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างซ้ำ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15065 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการประมาณช่วงความเชื่อมั่นของความแปรปรวนในการแจกแจงปกติและปกติปลอมปน ด้วยวิธีความแปรปรวนของตัวอย่าง และเทคนิคการสุ่มตัวอย่างซ้ำ ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีแจ็คไนฟ์ และวิธีบูตสแตรปมาตรฐาน โดยสุ่มข้อมูลปกติ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2 และความแปรปรวน ( ) เท่ากับ 2 และ 6 และจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติปลอมปน ที่มีค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนเท่ากับการแจกแจงปกติ โดยกำหนดสัดส่วนการปลอมปน ( ) เท่ากับ 0.1 และสเกลแฟคเตอร์ ( ) เท่ากับ 2 และ 5 ขนาดตัวอย่าง ( ) ที่ใช้ในการศึกษา คือ 10, 20, 30 และ 50 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และ 99% ในการจำลองข้อมูลใช้โปรแกรมอาร์ในการวิจัย โดยทำซ้ำ 1,000 รอบ ในแต่ละสถานการณ์ เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาหาวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่นที่ดีที่สุดจากค่าความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุด จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อข้อมูลเป็นการแจกแจงแบบปกติ วิธีความแปรปรวนของตัวอย่างให้ผลการประมาณช่วงความเชื่อมั่นที่ดีที่สุด ส่วนการแจกแจงแบบปกติปลอมปนวิธีแจ็คไนฟ์ และวิธีบูตสแตรปมาตรฐานจะให้ผลที่ดีกว่าวิธีความแปรปรวนตัวอย่าง และวิธีบูตสแตรปมาตรฐานมีค่าความกว้างเฉลี่ยความเชื่อมั่นแคบกว่าวิธีแจ็คไนฟ์</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การแจกแจงปกติ การแจกแจงปกติปลอมปน ความแปรปรวนของตัวอย่าง แจ็คไนฟ์ บูตสแตรปมาตรฐาน</p> <p>The objective of this research is to compare the efficient confidence interval of variance based on normal and contaminated normal distribution by sample variance method and resampling techniques consisted of jackknife and standard bootstrap methods. The data sample are generated from the normal distribution with the parameter of mean ( ) 2 and variance ( ) 2 and 6. The mean and variance of contaminated normal distribution are the same as the normal distribution, but proportion of contamination ( ) is 0.1 and scale factor ( ) is 2 and 5. The sample sizes ( ) for this study are set as 10, 20, 30 and 50, and the 95% and 99% confidence intervals.The simulated data is generated by R program and repeated 1,000 times in each situation. The criterion to consider the best confidence interval is a minimum value of average width. On normal distribution, the results are shown that sample variance method is the best confidence interval estimation. For contaminated normal distribution, jackknife and standard bootstrap methods outperform the sample mean method, and the standard bootstrap method has the average width narrower than jackknife method.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Normal Distribution, Contaminated Normal Distribution, Sample Variance, Jackknife, Standard Bootstrap</p> กิตติคุณ สุภาวณิชย์, อัชฌา อระวีพร Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15065 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ความเข้าใจของผู้ประเมินคุณภาพภายในต่อสาระของเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตร (THE UNDERSTANDING OF INTERNAL QUALITY ASSESSORS TOWARDS ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE (AUN-QA) AT A PROGRAM LEVEL) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15066 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจของผู้ประเมินคุณภาพภายในต่อสาระของเกณฑ์ประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จากกลุ่มประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร จำนวน 112 คน ที่สังกัดใน 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งประกาศใช้ระบบ AUN-QA ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประเมินทั้งหมดได้รับการอบรมเกี่ยวกับสาระของเกณฑ์และการประเมินก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน ส่วนใหญ่เคยทำหน้าที่ผู้ประเมินมาแล้ว 6-9 หลักสูตร (80.12%) โดยมีการจัดทีมผู้ประเมิน 2-5 คนในแต่ละทีม ผู้ประเมินทุกคนประเมินตนเองว่ามีความเข้าใจสาระของเกณฑ์และวิธีการประเมินในระดับปานกลาง และระบุประเด็นที่ยังต้องการให้มีการทำความเข้าใจเพิ่มเติม ได้แก่ การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การจัดทำหลักสูตร วิธีการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ การคำนวณภาระงานอาจารย์ตามรูปแบบของ AUN-QA กระบวนการที่ถูกต้องในการวิเคราะห์ความจำเป็น (Need Analysis) และการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking)</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การประเมินคุณภาพการศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ ผู้ประเมินคุณภาพภายใน</p> <p>The objective of this study is to explore the understanding of internal quality assessors towards the AUN-QA criteria. Data were collected from 112 academic staff currently served as program internal assessors in 11 Thai universities by an in-depth interview during November 16 to December 25, 2017. These universities had implemented AUN-QA at a program level. The results show that all respondents received the training on AUN-QA criteria and assessment procedure prior to their first assessment. About 80% of them had an experience in assessing six to nine programs, with the number of two to five assessors per team. All respondents self-rated their understanding of AUN-QA criteria as “fair.” In addition, the respondents believed that the assessors should be trained more on the following issues, including the assessment of Expected Learning Outcomes (ELOs); the design of curriculum, teaching and learning activities, and student assessment to be aligned with ELOs; the calculation of lecturers’ workload according to AUN-QA; and the correct concept and procedure of need analysis and benchmarking.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Education Quality Assessment, ASEAN University Network, Outcome-Based Education, Internal Quality Assessors</p> กัญคดา อนุวงศ์, อาจรี ศุภสุธีกุล, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล, นิธินาถ ศุภกาญจน์, ปิ่นปินัทธ์ ดำนุ้ย, ประพฤทธิ์ สวัสดิ์วิภาชัย Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15066 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ผลของปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกร่วมกับการใช้เจลมิโนไซคลินต่อพารามิเตอร์ทางคลินิกและสารสื่ออักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15067 <p>วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทางคลินิกและสารสื่ออักเสบของการใช้ยามิโนไซคลินเสริมการรักษาในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบและเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย: อาสาสมัคร 60 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบ และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 คน อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการทำปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิก แต่เฉพาะอาสาสมัครในกลุ่มทดลองได้รับการทำปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกร่วมกับการใช้เจลมิโนไซคลินในครั้งแรกของการรักษาและที่ระยะเวลา 3 เดือน ตรวจพารามิเตอร์ทางคลินิกและสารสื่ออักเสบ (อินเตอร์ลิวคิน-1เบต้า อินเตอร์ลิวคิน-6 ทูเมอร์เน็คโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟ่า และโมโนไซต์คีโมแอทแทร็กแทนท์โปรตีน-1) อะดิโพเนคติน และพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส แอนติบอดี ก่อนและหลังการรักษา 3 และ 6 เดือน ผลการศึกษา: อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม มีพารามิเตอร์ทางคลินิกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการรักษา 3 และ 6 เดือน ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของร่องลึกปริทันต์ลดลงและค่าเฉลี่ยของระดับยึดเกาะทางคลินิกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการรักษา 3 เดือน (p&lt;0.05) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม มีอินเตอร์ลิวคิน-6 ทูเมอร์เน็คโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟ่า และโมโนไซต์คีโมแอทแทร็กแทนท์โปรตีน-1 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการรักษา 3 เดือน อาสาสมัครในกลุ่มทดลองมีอะดิโพเนคตินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการรักษา 6 เดือน นอกจากนี้ยังพบระดับพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส แอนติบอดีของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกร่วมกับการใช้เจลมิโนไซคลินในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบและเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้พารามิเตอร์ทางคลินิกและสารสื่ออักเสบดีขึ้นภายหลังการรักษา 3 เดือน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> เจลมิโนไซคลิน โรคปริทันต์อักเสบ ปริทันต์บำบัดด้วยอัลตร้าโซนิก โรคเบาหวานชนิดที่ 2</p> <p>Objective:To evaluated the clinical periodontal and inflammatory outcomes of adjunctive minocycline in patients with both periodontitis and type 2 diabetes mellitus (T2DM). Methods: Sixty patients with T2DM diagnosed with periodontitis were recruited and divided into control and test groups. All participants underwent a single-visit subgingival ultrasonic debridement, but only the test group received adjunctive sustained-release minocycline gel immediately afterward. Periodontal parameters, cytokines (IL-1, IL-6, TNF-α and MCP-1), adiponectin, and Porphyromonas gingivalis (Pg) antibody were measured at baseline, 3 and 6 months after treatment. Results: Patients in both groups showed significant improvement in all clinical parameters after three and six months. The mean probing depth reduction and clinical attachment level gain after three months were significantly improved in the test group compared to the control group (p&lt;0.05). IL-6, TNF-α, and MCP-1 were significantly reduced at the 3-month visit in both groups. Adiponectin was significantly increased at 6 months only in the test group. Moreover, Pg antibody was significantly reduced in both groups. Conclusion: Subgingival ultrasonic debridement combined with locally administered minocycline gel was effective in improving periodontal and inflammatory parameters in patients with T2DM at 3 months after treatment.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Minocycline Gel, Periodontitis, Subgingival Ultrasonic Debridement, Type 2 Diabetes</p> จารุพัฒน์ จุลแดง, ธีรเชษฐ์ นันทกีรติพัฒน์, ชื่นชีวิต ทองศิริ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15067 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การทดสอบความล้าของครอบฟันลิเธียมซิลิเกตเสริมด้วยเซอร์โคเนียที่รองรับด้วยรากเทียม (FATIGUE TESTING OF IMPLANT SUPPORTED ZIRCONIA REINFORCED LITHIUM SILICATE CROWN) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15068 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขีดจำกัดความล้าของครอบฟันชนิดลิเธียมซิลิเกตเสริมด้วยเซอร์โคเนียที่รองรับด้วยรากเทียม โดยทำครอบฟันโมโนลิทธิกเซรามิกทั้งหมด 11 ชิ้น บนหลักยึดสำเร็จรูปของรากเทียมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ยาว 10 มิลลิเมตร นำมาทดสอบขีดจำกัดความล้าตามมาตรฐานการทดสอบ ISO 14801:2016 ด้วยเครื่องทดสอบความล้าในน้ำเกลือความเข้มข้นร้อยละ 0.9 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ที่ความถี่ 15 Hz จำนวน 5 ล้านรอบ แบ่งชิ้นงาน 3 ชิ้น มาทดสอบแรงกดแบบคงที่ที่ทำให้เกิดความล้มเหลว ส่วนชิ้นงานอีก 8 ชิ้น นำมาทดสอบขีดจำกัดความล้า ให้แรงกดแบบเป็นวงจร (Cyclic Load) โดยใช้ระดับแรงร้อยละ 10 20 30 และ 40 ของค่าเฉลี่ยแรงกดแบบคงที่ที่ทำให้เกิดการแตกหัก โดยกดระดับแรงละ 2 ชิ้นงาน จนชิ้นงานเกิดความเสียหายหรือครบ 5,000,000 รอบ พบว่าค่าเฉลี่ยการรับแรงที่ทำให้เกิดความล้มเหลวอยู่ที่ 1,316.68 ± 50.59 นิวตัน ค่าขีดจำกัดความล้าเท่ากับ 395 นิวตัน ชิ้นงานที่ล้มเหลวเกิดการแตกที่ส่วนครอบฟัน โดยที่ส่วนประกอบของรากเทียมไม่เกิดความเสียหายใด ๆ จึงสรุปจากระดับแรงของการทดสอบความล้า พบว่าครอบฟันชนิดลิเธียมซิลิเกตเสริมด้วยเซอร์โคเนียที่รองรับด้วยรากเทียมมีขีดจำกัดความล้าเพียงพอที่จะรองรับแรงบดเคี้ยวตั้งแต่ตำแหน่งฟันหน้าถึงฟันเขี้ยวได้ถึง 5 ปี <br /><br /><strong>คำสำคัญ:</strong> รากเทียม ครอบฟัน ความล้า ความล้มเหลวทางกล</p> <p>The purpose of this study was to evaluate fatigue limit of implant-supported zirconia reinforced lithium silicate (ZLS) crown. Eleven implant-supported ZLS crowns (Implant diameter 5 mm x 10 mm in length) were fabricated for fatigue limit test using a standard fatigue tester. Following ISO 14801: 2016, samples were tested at 37<sup>๐</sup>C in 0.9% saline at 15 Hz until failure or reach 5x10<sup>6</sup> cycles. Three samples were subjected to static load for evaluation of single load to failure. Nominal peak levels at 10%, 20%, 30%, 40% of previously obtained static failure load were used for fatigue limit test. Two samples were tested at each load until catastrophic failure or the maximum of 5x10<sup>6</sup> cycles were reached. The mean failure load was 1,316.68 ± 50.59 N and the fatigue limit was 395 N. The fracture of failed samples was found only at the crowns, no failure was observed in implant components. In conclusion the fatigue limit value of implant-supported ZLS crowns obtained from this study show that ZLS can be used efficiently as restoration on dental implant from incisor to canine region for up to 5 years.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Dental Implant, Crown, Fatigue, Mechanical Failure</p> ณัฐรัตน์ นุชอุดม, ศรัณย์ กีรติหัตถยากร, ภาวิณีย์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน, อุษณีย์ ปึงไพบูลย์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15068 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การสร้างแบบจำลองทางพลศาสตร์ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่นด้วยโครงข่ายประสาทเทียม (DYNAMIC MODELING OF PLATE HEAT EXCHANGER USING ARTIFICIAL NEURAL NETWORKS) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15069 <p>อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่นเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอย่างมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนที่ดีเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอุปกรณ์ การหาแบบจำลองทางพลศาสตร์ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในด้านการออกแบบ และการทำนายผลการตอบสนอง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการใช้โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อสร้างแบบจำลองทางพลศาสตร์ของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลของน้ำร้อนกับอุณหภูมิของน้ำเย็นขาออกเมื่อเทียบกับเวลา โดยเปรียบเทียบกับแบบจำลองทางพลศาสตร์ในรูปของฟังก์ชันถ่ายโอน จากผลการทดลองพบว่า ค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยในช่วงการตอบสนองแบบชั่วครู่ของโครงข่ายประสาทเทียมและฟังก์ชันถ่ายโอนเท่ากับ 0.0003 และ 0.0444 ตามลำดับ ส่วนค่าความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยในช่วงการตอบสนองในสภาวะคงตัวของโครงข่ายประสาทเทียมและฟังก์ชันถ่ายโอนเท่ากับ 0.0002 และ 0.0013 ตามลำดับ ซึ่งจะพบว่าแบบจำลองทางพลศาสตร์ที่สร้างจากโครงข่ายประสาทเทียมให้ผลการทำนายได้ดีกว่าทั้งในช่วงที่เป็นการตอบสนองแบบชั่วครู่และการตอบสนองในสภาวะคงตัว</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น โครงข่ายประสาทเทียม แบบจำลองทางพลศาสตร์</p> <p>Plate heat exchanger is very popular in the industry because of good heat transfer efficiency compared to its size. Dynamic modeling of plate heat exchanger is importance in terms of design and predicting the process response. This research presents the use of artificial neural network to construct a dynamic model of plate heat exchangers showing the relationship between hot water flow rate and outlet cold water temperature over time and compared the results with dynamic model in terms of transfer function. From the experimental results showed that the mean squared error during the transient response of the neural network and the transfer function were 0.0003 and 0.0444, respectively. During steady state response the mean squared error of the neural network and the transfer function were 0.0002 and 0.0013, respectively. It was found that the dynamic model from artificial neural network gave better prediction results in both transient response and steady-state response.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Plate Heat Exchanger, Artificial Neural Networks, Dynamic Modeling</p> ธนยศ อริสริยวงศ์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15069 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 พฤติกรรมการบริโภคสีเขียว และมาตรการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR AND MEASURES TO PROMOTE GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR OF THE STUDENTS AT PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15070 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคสีเขียว 2) ศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสีเขียว 3) คำนวณการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการมีพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวของนักศึกษา และการดำเนินการของมหาวิทยาลัย 4) เสนอแนะมาตรการในการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการรับรู้ และมีพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวภายใต้การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ประชากรที่ศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต กำหนดขนาดด้วยโปรแกรม G*Power ได้จำนวน 243 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบวัดการรับรู้ และแบบวัดพฤติกรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 0.76 และ 0.84 และใช้โปรแกรมการคำนวณการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75 มีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวผ่านทางคำบอกเล่าจากคณาอาจารย์ร้อยละ 77.00 จากการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นร้อยละ 68.30 จากป้ายประกาศการรณรงค์ ร้อยละ 67.5 และจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 47.3 สำหรับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีพฤติกรรมการปิดก๊อกน้ำที่รั่วไหลและหลังใช้งานเสร็จ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.49 รองลงมามีพฤติกรรมการทำความสะอาดผักและผลไม้ก่อนการบริโภคมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และพฤติกรรมการถอดปลั๊กไฟเมื่อเลิกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และมีภาพรวมพฤติกรรมการพูดคุย การโพสต์ แชร์ และการร่วมปิดป้ายรณรงค์ในด้านต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคสีเขียวมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความรู้และการรับรู้การบริโภคสีเขียวมีความสามารถในการพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคสีเขียวได้ร้อยละ 2.2 โดยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวเป็นตัวแปรพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละพฤติกรรมต่อคนเฉลี่ย 4.18 tCO<sub>2</sub>e/ปี ซึ่งในด้านการใช้พลังงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 1.97 tCO<sub>2</sub>e/ปี ดังนั้น ควรเน้นมาตรการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวควรคู่กับการกระตุ้นการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษา ตลอดจนสร้างการรับรู้ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร การผลักดันในเชิงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้นจนถึงระดับปฏิบัติการ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลเน็ตเวิร์คทุกรูปแบบ เน้นการใช้ออนไลน์ผ่านสื่อที่เข้าถึงตัวบุคคลได้ง่าย เพื่อกระตุ้นการรับรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> พฤติกรรมการบริโภคสีเขียว การรับรู้ การปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p> <p>This study was aimed (1) to examine the students’ perception and their green consumption behavior, (2) to investigate the factors influencing green consumption habits, (3) to evaluate the reduction value of carbon dioxide emissions from the student’s green consumption behavior and from the university’s policy, and (4) to propose the measures to increase the students’ awareness and behavior of the green consumption according to the university’s policy. The population included 243 students from all five campuses of Prince of Songkla University using stratified random sampling. The instruments employed in the study were a test, a perception test, a behavioral assessment test with the precision rate of 0.75, 0.76 and 0.84, the evaluation program on carbon footprint emission, and group discussion analysis. The findings revealed that the average level of the student’s green consumption perception was at 13.50. It was also found that 77% of the students perceived the green consumption knowledge from their lecturers by attending several campaigns such as Green University. The other channels of gaining knowledge were 68.30% from energy saving, 67.5% from the campaign banners, and 47.3% from the university website. In addition, the students' green consumption behavior was found at a high level which turning off the tap after use was ranked at the highest level (x ̅ = 4.49), followed by cleaning vegetables (x ̅ = 4.45) and unplugging equipment after use (x ̅ = 4.45), and overall, the behavior of talking, posting, sharing and participating in campaigning banners in various activities were revealed at the lowest average. The students' green consumption behavior was shown to be statistically significant (p = 0.01) and predictably (2.20%) related to their green consumption knowledge, making it a predictable factor with a statistical significance of. 0.05. In terms of carbon emission from the students’ green consumption behavior, it was found the average amount per person was at 4.18 tCO2e/year, which the highest average was at 1.97 tCO2e/year. As a result, it is recommended that the university should initially emphasize on educating students about green consumption, stimulating the selection of campaigning media which suitable for the student's lifestyle, and raising awareness on green consumption starting at the executive level. It is also suggested that the concrete measures and practical policies on green consumption be implemented at the operational level, the social media campaigns be increased, and the online communication channels be used to approach individuals in order to increase the awareness and to change the individual behavior in terms of dealing with the environmental changes more effectively.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Green Consumption Behavior, Perception, Carbon Footprint Emission, Prince of Songkla University</p> นภารัตน์ ไวยเจริญ, ซัมซู สาอุ, จิระวัฒน์ ตันสกุล, สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15070 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ประสิทธิภาพของน้ำยาฟอกสีฟันที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์ออกไซด์ต่อการเปลี่ยนแปลงสีฟัน (THE EFFICIENCY OF TOOTH BLEACHING AGENT ACTIVATED WITH ZINC OXIDE ON TOOTH COLOR CHANGE) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15071 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงสีฟันของน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศ และน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์ออกไซด์ ฟันกรามน้อยบนจำนวน 40 ซี่ ถูกแบ่งเป็น 8 กลุ่ม เพื่อรับการฟอกสีฟันด้วยน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศ และน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศ ที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์ออกไซด์ความเข้มข้น 0.1% โดยใช้ระยะเวลาการฟอกสีฟัน 8 16 24 และ 32 นาที วัดค่าสีฟันก่อนและหลังจากฟอกสีฟันด้วยเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และใช้วิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบบอนเฟอโรนีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เมื่อใช้ระยะเวลาฟอกสีฟัน 8 16 24 และ 32 นาที พบว่าค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงสีฟันของกลุ่มที่ฟอกด้วยน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศ คือ 3.02±1.79 4.39±1.19 5.12±1.41 และ 5.09±0.27 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยน-แปลงสีฟันของกลุ่มที่ฟอกด้วยน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์ออกไซด์ที่ระยะเวลา 8 16 24 และ 32 นาที คือ 4.43±1.27 4.99±1.35 7.49±1.09 และ 7.02±0.29 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า เมื่อใช้ระยะเวลาฟอกสีฟัน 24 และ 32 นาที กลุ่มที่ฟอกสีด้วยน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์-ออกไซด์มีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงสีฟันมากกว่ากลุ่มที่ฟอกด้วยน้ำยาฟอกสีฟันโพลาออฟฟิศอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p&lt;0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้ระยะเวลาฟอก-สีฟัน 8 และ 16 นาที จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าน้ำยาฟอกสีฟัน โพลาออฟฟิศที่เร่งปฏิกิริยาด้วยซิงค์ออกไซด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสีฟันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ระยะเวลาฟอกสีฟัน 24 และ 32 นาที</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> น้ำยาฟอกสีฟัน โพลาออฟฟิศ ซิงค์ออกไซด์ การเปลี่ยนแปลงสีฟัน</p> <p>The purpose of this study was to investigate an efficiency of tooth bleaching agents and tooth bleaching agent activated with zinc oxide on tooth color change. Forty premolar teeth were divided into eight groups, each group was treated with PolaOffice® and PolaOffice<sup>®</sup> activated with 0.1% zinc oxide, using 8,16, 24 and 32 minutes bleaching time. The tooth color was measured before and after bleaching, using the Spectrophotometer. The data was statistically analyzed using two-way ANOVA and Post-Hoc Bonferroni test at 95% level of confidence (α = 0.05). The average tooth color change of the group treated with PolaOffice<sup>®</sup> for 8, 16, 24 and 32 minutes were 3.02±1.79 4.39±1.19 5.12±1.41 and 5.09±0.27 respectively, whereas the average tooth color change of the group treated with PolaOffice<sup>®</sup> activated with zinc oxide for 8, 16, 24 and 32 minutes were 4.43±1.27 4.99±1.35 7.49±1.09, and 7.02±0.29 respectively. The statistical analysis showed that the tooth color change of groups treated with PolaOffice<sup>®</sup> activated with zinc oxide for 24 and 32 minutes were significantly higher than the group treated with PolaOffice<sup>®</sup> for the same duration. In conclusion, PolaOffice® activated with 0.1% zinc oxide can significantly improve the tooth color change when using 24 and 32 minutes bleaching time.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Tooth Bleaching Agents, Pola Office, Zinc Oxide, Tooth Color Change</p> นัชชา คลังจตุรเวทย์, ดวงพร ศรีสุภาพ, ณปภา เอี่ยมจิรกุล, ภาวิณีย์ ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15071 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การจำแนกสปีชีส์เชื้อราแคนดิดาจากสิ่งส่งตรวจทางคลินิกโดยวิธี Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15072 <p><em>Candida</em> spp. เป็นเชื้อราที่เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่สำคัญ ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ที่มีระบบทางภูมิคุ้มกันต่ำ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ดังนั้นการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ และลดอัตราการดื้อยาในเชื้อรา ซึ่งวิธีดั้งเดิมที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการมีความยุ่งยากและต้องใช้ระยะเวลาในการทดสอบนาน ปัจจุบันมีการจำแนกเชื้อก่อโรคด้วยระบบ Matrix-Assisted Laser Desorption Ionization Time-of-Flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) ซึ่งให้ผลการทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความรวดเร็วในการจำแนกเชื้อ ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจำแนก <em>Candida</em> spp. ด้วยวิธี MALDI-TOF MS ในตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ จำนวน 85 ตัวอย่าง ควบคู่ไปกับการทดสอบด้วยวิธีดั้งเดิม คือ การทดสอบการสร้างท่องอก การทดสอบการสร้าง Chlamydospore และการสังเกตลักษณะสีโคโลนีบน CHROMagar ผลการศึกษาพบว่า การจำแนกสปีชีส์ <em>Candida</em> spp. ด้วยวิธี MALDI-TOF MS มีประสิทธิภาพในการจำแนกสปีชีส์ได้ดีกว่าวิธีดั้งเดิมที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อบางชนิด เช่น <em>Candida glabrata, C. orthopsilosis, C. rugosa, Trichosporon asahii,</em> และ <em>T. inkin</em> ไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีดั้งเดิม จากการศึกษาจึงสรุปได้ว่าวิธี MALDI-TOF MS เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้สำหรับการจำแนกสปีชีส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการจำแนก <em>Candida</em> spp. ให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> เชื้อราแคนดิดา มัลดิทอฟแมสสเปคโตรเมทรี สิ่งส่งตรวจทางคลินิก</p> <p><em>Candida </em>spp. is an important opportunistic fungus that can infect mainly in immunocompromised hosts, especially in HIV infected patients. Therefore, the accurate and rapid identification of <em>Candida</em> spp. is influential in treatment decision and may reduce the rate of antifungal drug resistance. The conventional methods of fungal identification in the clinical diagnostic laboratory are complicated and time-consuming. Matrix-Assisted Laser Desorption Ionization Time-Of-Flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) is one of rapid and reliable fungal diagnostic tools used nowadays. In this study, we evaluated eighty-five isolates of <em>Candida</em> spp. form clinical specimens by using MALDI-TOF MS technique compared to the conventional methods, including Germ tube test, Chlamydospore formation test and CHROMagar.The results demonstrated that MALDI-TOF MS technique can be used to differentiate <em>Candida</em> spp. from the clinical specimen especially for <em>Candida glabrata</em>, <em>C. orthopsilosis, C. rugosa, Trichosporon asahii</em>, and <em>T. inkin</em> which could not be previously identified by using conventional methods. From our study it can be concluded that MALDI-TOF MS technique is one of the accurate tools and appropriate to increase the efficiency of Candida identification.</p> <p><strong>Keywords:</strong> <em>Candida </em>spp., Matrix-Assisted Laser Desorption Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS), Clinical Specimens</p> ปภัชญา สุวรรณโชติ, วัชรี จรูญวัชร, เกศราภรณ์ พืชผักหวาน, ภัทรภร จำรัสศรี, ดวงภัทร คุ้มสกุลไทย, ณัฐภาณินี ถนอมศรีเดชชัย Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15072 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะสำหรับวัยรุ่นบาดเจ็บสมองในระดับปานกลาง https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15073 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะของวัยรุ่นที่ได้รับบาดเจ็บสมองในระดับปานกลาง และ 2) ทดสอบผลของการนำโปรแกรมไปใช้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (Pre test-Post test Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บาดเจ็บสมองในระดับปานกลาง จำนวน 44 คน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คัดเลือกเข้ากลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มควบคุม 22 คน ได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 22 คน ได้รับการฝึกตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น การศึกษาประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะแรก การพัฒนาโปรแกรม โดยการประยุกต์แนวคิดทฤษฎี Biased competition theory of selective attention ของ Desimone and Duncan ทฤษฎี Feature-integration theory of attention ของ Treisman and Gelade และทฤษฎี Premotor theory of attention ระยะที่สอง เป็นระยะทดสอบผลของการนำโปรแกรมไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้คัดกรองผู้เข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกการเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะและเครื่องมือที่ใช้วัด ตัวแปรตาม คือ กิจกรรมทดสอบการเรียกคืนความจำแบบการระลึกคำโดยมีตัวชี้แนะ และแบบประเมิน ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมการฝึก การเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะ 4 ชุด แต่ละชุดความเร็ว 40, 60, 80 และ 100 ครั้งต่อนาที มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) อยู่ระหว่าง .91 ถึง 1.00 ใช้เวลาในการฝึกครั้งละ 14 นาที จำนวน 16 ครั้ง 2) หลังการฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์การเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะ กลุ่มทดลองมีคะแนนความถูกต้องของการเรียกคืนความจำแบบการระลึกคำโดยมีตัวชี้แนะมากกว่าก่อนการฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์การเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุป การฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์การเคลื่อนไหวตาแบบสมูทเพอร์สูทร่วมกับเสียงกำกับจังหวะ อย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มการเรียกคืนความจำแบบการระลึกคำโดยมีตัวชี้แนะของวัยรุ่นที่ได้รับบาดเจ็บสมองในระดับปานกลางได้</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การเคลื่อนไหวตาสมูทเพอร์สูท บาดเจ็บสมอง</p> <p>Objectives of research; 1) To develop smooth pursuit eye movement (SPEM) with auditory rhythmic cueing computer program of adolescence in moderate post-traumatic brain injury. 2) To examine the effects of the program. The quasi-experimental research using pretest - posttest control group design was used to examine the program. The subject were 44 people with moderate traumatic brain injury and selected according to the specified criteria. The subject divided into experimental and control group with 22 subjects in each group by simple random method. The control group received normal care and the experimental group were trained according to the developed program. This studying comprised of 2 phases: In the first phase, program was developed by applying Biased competition theory of selective attention by Desimone and Duncan, Feature-Integration theory of attention by Treisman and Gelade and premotor theory of attention. The second phase program was testing the implementation of the program. The instrument consists of screening research subject, The smooth pursuit eye movement (SPEM) with auditory rhythmic cueing computer program, The instruments used to measure dependent variables were the cued recall memory task and the program satisfaction assessment form. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. Major findings were as follows: 1) The developed program included four sessions. The SPEM level is directed at 40, 60, 80, and 100 times per minute during each session. The CVI (content validity index) ranged from .91 to 1.00. The program consisted of four 14-minute sessions number of 16 times. 2) After training with this program, the experimental group's accuracy of cued recall memory was significantly (p.001) higher than before training programs, and increased more than the control group. Conclusion: The smooth pursuit eye movement with auditory rhythmic cueing computer program of adolescence in moderate post-traumatic brain injury can improve cued recall memory in moderate post-traumatic brain injury patients and they are most effective when used on a daily basis.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Smooth Pursuit Eye Movement, Traumatic Brain Injury</p> พิทักษ์ ทองสุข, ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์, ปรัชญา แก้วแก่น Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15073 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 สภาวะที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพปลากะพงขาวอบแห้ง: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (OPTIMAL CONDITIONS FOR QUALITY DEVELOPMENT OF DRIED SEA BASS: CASE STUDY OF BANG KLUEA COMMUNITY, BANG PAKONG DISTRICT, CHACHOENGSAO PROVINCE) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15074 <p>ปลากะพงขาวมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อเกษตรจำนวนมากที่เลี้ยงปลากะพงในตำบลบางเกลือ จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ในปัจจุบันประสบปัญหาปริมาณล้นตลาด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลากะพงขาวโดยการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน การศึกษาปัจจัยของสภาวะในการอบแห้ง ได้แก่ วิธีการเตรียมตัวอย่าง ความหนา และอุณหภูมิที่มีผลต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง การศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในด้านสี ปริมาณน้ำอิสระ ความแข็ง ความเหนียว เปอร์เซ็นต์การหดตัว และการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นของเนื้อปลากะพงขาวแผ่นอบแห้ง ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปีที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพ โดยการเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีการแช่ล้างในสารละลายกรด 1% (w/v) Citric ร่วมกับ 3% (w/v) NaCl และไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ เป็นตัวอย่างควบคุม ผลการศึกษาพบว่า เนื้อปลากะพงขาวแผ่นที่ระดับความหนา 5 mm อุณหภูมิอบแห้ง 80<sup>o</sup>C ผ่านการแช่ล้างในสารละลายใช้เวลาอบแห้งสั้นกว่าตัวอย่างควบคุม คุณภาพทางด้านสี พบว่า มีค่าความสว่าง (<em>L*</em>) เพิ่มขึ้น ค่าสีแดง (<em>a*</em>) ค่าสีเหลือง (<em>b*</em>) และค่าความแตกต่างของสีโดยรวม (∆<em>E*</em>) ลดลง ค่าปริมาณน้ำอิสระเท่ากับ 0.61 ความแข็งน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม แต่ความเหนียวไม่มีความแตกต่างกัน และเปอร์เซ็นต์การหดตัวน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นของเนื้อปลากะพงขาวแผ่นอบแห้ง พบว่าปรากฏพีกสำคัญที่ตำแหน่ง 2,925, 2,854, 1,743 และ 1,170 cm<sup>-1</sup> มีค่าลดลง แสดงให้เห็นว่าวิธีการเตรียมตัวอย่างเนื้อปลากะพงขาวแผ่น ก่อนการอบแห้งสามารถช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของลิพิดทำให้ชะลอการเกิดกลิ่นและรสที่ผิดปกติได้ และยังเป็นเหตุผลที่ทำให้ความแข็งของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าตัวอย่างควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าปรากฏพีกเล็ก ๆ ในช่วง 1,300-1,200 cm<sup>-1</sup> และ 850 cm<sup>-1</sup> มีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีรสเค็มเล็กน้อย ดังนั้นเนื้อปลากะพงขาวแผ่นอบแห้งนี้มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกร</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การอบแห้งแบบลมร้อน ปลากะพงขาว ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี</p> <p>Sea bass are economically important for Bang Pakong district, Chachoengsao province causing farmers to be a career to raise a lot of sea bass but currently experiencing a problem of oversupply. This research aims to develop the sea bass products by using hot air oven dryer. The study of the drying conditions, such as sample preparation, thickness and drying temperature on drying kinetics. Study of product quality in color, water activity, hardness, toughness, percentage of shrinkage and analysis of function groups of dried sea bass products by using Fourier Transform Infrared Spectroscopy technique that affects physical characteristics. The samples were prepared by immersing in 1%(w/v) citric acid solution combined with 3%(w/v) NaCl and without any processing as a control sample. The study result was found that sea bass fillets at a thickness of 5 mm, the drying temperature of 80<sup>o</sup>C, was immersed in 1%(w/v) citric acid solution combined with 3%(w/v) NaCl led to drying time was shorter than control sample. The color quality was showed that the lightness (<em>L*</em>) increased, the redness (<em>a*</em>) and the yellowness (<em>b*</em>) decreased. The water activity was 0.61, the hardness was less than the control sample but there was no significant difference and the percentage of shrinkage was less than control sample. Analysis of function groups of dried sea bass found that the peak position significantly at 2,925, 2,854, 1,743 and 1,170 cm<sup>-1</sup> decreased, indicating that the preparation of sea bass fish products before drying can reduce lipid oxidation led to make delay the occurrence of unusual odors and flavors and also it is cause of the hardness of the product is less than the control sample. In addition, it was found that small peaks appeared between 1,300-1,200 cm<sup>-1</sup> and 850 cm<sup>-1</sup> increased which relates to products that are slightly salty. Therefore, this dried sea bass products is suitable for use as a guideline for product development for farmers in the future.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Hot Air Drying, Sea Bass, Fourier Transform Infrared Spectroscopy</p> ภูมิพัฒน์ ก๋าคำ, ชัชวาล มงคล, จักรพันธ์ ปิ่นทอง, ศรินยา ประทีปชนะชัย Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15074 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ประสิทธิภาพของไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae ในการย่อยสลายเศษอินทรีย์ (EFFICIENCY OF EARTHWORM, Eudrilus eugeniae TO DECOMPOSE ORGANIC WASTE) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15075 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดินสายพันธุ์ <em>Eudrilus eugeniae</em> ในการย่อยเศษผักคะน้าจีน วางแผนการทดลองแบบ CRD ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ได้แก่ 1) มูลโค: ขุยมะพร้าว (2:1 w/w) 2) มูลโค: เศษผักคะน้าจีน (2:1 w/w) 3) มูลโค: ขุยมะพร้าว: เศษผักคะน้าจีน (2:0.5:0.5 w/w) และ 4) มูลโค: ขุยมะพร้าว: เศษผักคะน้าจีน (2:1:0.5 w/w) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 3 มีค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมทั้งหมด และค่าความเป็นกรด-ด่าง สูงที่สุด (P &lt; 0.05) เท่ากับ 2.31, 0.89, 1.50 เปอร์เซ็นต์ และ 6.55 ตามลำดับ กรรมวิธีที่ 2 มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน อินทรียวัตถุ และสัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) สูงที่สุด (P &lt; 0.05) เท่ากับ 28.67 เปอร์เซ็นต์ , 49.32 เปอร์เซ็นต์ และ 17 ตามลำดับ กรรมวิธีที่ 4 มีค่าการนำไฟฟ้าสูงสุด เท่ากับ 4.95 (dS/m) ทั้งนี้ค่าวิเคราะห์ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินทุกกรรมวิธีทดลองให้ค่าดีกว่าเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และกรรมวิธีที่ 1 ให้ผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินสูงที่สุด (P &lt; 0.05)</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ไส้เดือนดิน ผักคะน้าจีน</p> <p>The comparison of bedding material ratio for feeding <em>Eudrilus eugeniae</em> was studied. The experiment was designed with Complete Randomized Design (CRD) consisted of 4 treatments as follow: 1) control (cow dung: coconut husk (2:1 w/w), 2) cow dung: kale (2:1 w/w), 3) cow dung: coconut husk: kale (2: 0.5: 0.5 w/w) and 4) cow dung: coconut husk: kale (2:1:0.5 w/w). The experiment was operated for 50 days and the results indicated that treatment 3 gave the highest total nitrogen, phosphorus, potassium and pH at 2.31%, 0.89%, 1.50% and 6.55 (P &lt; 0.05), respectively. Treatment 2 gave the highest percentage of organic carbon (OC), organic matter (OM) and C:N ratio at 28.67%, 49.32%, and 17, respectively. Meanwhile, treatment 4 showed the highest electrical conductivity (EC) at 4.95 (dS/m) (P &lt; 0.05). From all of the results, it was clearly that vermicompost produced from this study provided the better quality of fertilizer than the organic fertilizer standard. However, treatment 1 gave the higher vermicompost yield than other groups (P &lt; 0.05).</p> <p><strong>Keywords:</strong> Vermicomposting, Organic Fertilizer, Earth Worm, Chinese Kale</p> รพีพร ชัยชนะ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15075 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ในสารละลายโดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยเทคโนโลยีพลาสมา (FORMALDEHYDE ADSORPTION IN AQUEOUS SOLUTION USING EGGSHELL TREATED WITH PLASMA TECHNOLOGY) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15076 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ในสารละลายโดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยพลาสมาเปรียบเทียบกับการใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพตามปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ ความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มัลดีไฮด์เริ่มต้น (10-50 มิลลิกรัมต่อลิตร) ระยะเวลาสัมผัส (5-360 นาที) และขนาดของเปลือกไข่ที่ใช้ Sieve no.12, 16 และ 20 ซึ่งได้อนุภาคเปลือกไข่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ≤ 1.70 มิลลิเมตร, ≤ 1.18 มิลลิเมตร และ ≤ 0.85 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยเป็นการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ และเพื่อศึกษาไอโซเทอมการดูดซับของฟอร์มัลดีไฮด์ จากผลการศึกษาพบว่า การปรับสภาพเปลือกไข่ด้วยพลาสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจัยที่เหมาะสมในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์โดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยพลาสมา คือใช้ความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มัลดีไฮด์เริ่มต้นเท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลาสัมผัส 120 นาที และใช้เปลือกไข่ขนาด Sieve no.16 ซึ่งส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์เท่ากับร้อยละ 90.53±0.00 ในขณะที่การใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์เท่ากับร้อยละ 56.17±2.34 รวมถึงยังพบว่า ไอโซเทอมการดูดซับ ฟอร์มัลดีไฮด์มีความสอดคล้องกับแลงเมียร์ได้ดีกว่าฟรุนดลิช โดยการใช้เปลือกไข่แบบที่ปรับสภาพด้วยพลาสมา ส่งผลให้มีความสามารถสูงสุดในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์เท่ากับ 18.203 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งสูงกว่าการใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพถึง 3.8 เท่า งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาวิธีการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปรับสภาพวัสดุดูดซับที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งอย่างเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้พัฒนาต่อยอดเพื่อการประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียฟอร์มัลดีไฮด์ในภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การดูดซับ ฟอร์มัลดีไฮด์ เปลือกไข่ เทคโนโลยีพลาสมา</p> <p>The aim of this study was to compare the adsorption potential of formaldehyde in aqueous solution using treated eggshell with plasma technology to untreated eggshell, based on factors affecting adsorption such as initial concentration of aqueous formaldehyde (10-50 mg/L), contact time (5-360 minutes), and Sieve no.12, 16 and 20 eggshell sizes in which referred to the particle size diameter of eggshell of ≤ 1.70 mm, ≤ 1.18 mm and ≤ 0.85 mm, respectively. All tests were performed in a laboratory scale. Moreover, the isotherm of formaldehyde adsorption was also examined. The results showed that plasma treatment of eggshell could efficiently increase the adsorption potential of formaldehyde. The optimal conditions for formaldehyde adsorption using eggshell treated with plasma technology were a 30 mg/L initial concentration of aqueous formaldehyde, a contact time of 120 minutes, and Sieve no.16 eggshell size. The average formaldehyde adsorption efficiency was 90.53±0.00% under this optimal condition, compared to 56.17±2.34% when using untreated eggshell. Additionally, the results showed that adsorption isotherm was more fitted by Langmuir than Freundlich. The maximum adsorption capacity of eggshell treated with plasma was 18.203 mg/g, which was 3.8 times higher than the capacity of untreated eggshell. This study provided a development of efficient adsorption of formaldehyde by using advanced technology for modifying absorbent in which focused on the use of wastes, such as eggshell. Furthermore, results obtained in this study can be used to further develop the treatment of formaldehyde industrial wastewater in the future.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Adsorption, Formaldehyde, Eggshell, Plasma Technology</p> ศิรประภา ชัยเนตร, รุ่งนภา เขียววิจิตร, ชาญชัย เดชธรรมรงค์, ครรชิต เงินคำคง Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15076 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผักพื้นบ้าน ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15077 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตของเกษตรกรปลูกผักพื้นบ้านจำพวกผักแขยงและใบบัวบก ทั้งหมด 95 ครัวเรือน ในตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการประเมินความเสี่ยงสุขภาพตามแบบ นบก.1-56 ของกรมควบคุมโรค แปลผลระดับความเสี่ยงเป็น 5 ระดับคือ สูงมาก สูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง และต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในระดับต่ำร้อยละ 72.53 เกษตรกรมีความเสี่ยงสุขภาพระดับปานกลาง และระดับค่อนข้างสูง ร้อยละ 24.17 และ 3.30 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่า เกษตรกรมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยมีการปฏิบัติทุกครั้งสูงที่สุด คือ เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดแมลงในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ร้อยละ 35.16 และเกษตรกร ไม่เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีทันทีหลังการฉีดพ่น ร้อยละ 29.67 ไม่ทำความสะอาดร่างกายเมื่อเสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีทันทีและไม่สวมใส่รองเท้าบู๊ทหรือรองเท้าที่ปิดมิดชิดกันสารเคมี ร้อยละ 28.57 และ 25.27 ตามลำดับ เกษตรกรมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และคันผิวหนัง เกิดขึ้นหลังสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 15.38 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติงานกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย สนับสนุนการทำเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความเสี่ยงสุขภาพ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผักพื้นบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี</p> <p>This cross-sectional study aimed to assess health risks of exposure to organophosphate and carbamate pesticides among 95 local vegetable farmers who grew Limnophila aromatic and Centella asiatica at Bungwai Subdistrict, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Data were collected using questionnaires and the health risk assessment form by the Department of Disease Control. Risk levels were assessed using a 5-point scale: very high, high, relatively high, medium, and low. Data were analyzed using frequency counts and percentages. The results showed that 72.53% of the farmers were at the low risk for pesticide exposure, 24.17% of them were at the medium risk, and 3.30% of them had the relatively high risk of being exposed to pesticides. However, there were pesticide risk behaviors among the farmers. The research found that 35.16% of them always used pesticides in their farming operations and 29.67% of them did not change their pesticide-contaminated clothes immediately after spraying the pesticides. It also found that 28.57% and 25.27% of the farmers did not immediately wash their bodies when their clothes were soaked with chemicals and did not wear boots or shoes to protect themselves from pesticides, respectively. In addition, 15.38% of them experienced symptoms of fatigue, headache, and itchy skin after being exposed to pesticides. Therefore, the concerned authorities should encourage safe pesticide practices among the farmers and promote organic farming to reduce the risks of pesticide exposure among the farmers.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Health Risks, Pesticides, Local Vegetables, Ubon Ratchathani Province</p> ลักษณีย์ บุญขาว, จิตรติศักดิ์ มะลาศรี, รุจิรา ต่อซอน, ศิรภา ลามี Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15077 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ทิศทางลมที่ระดับความสูง 120 เมตร ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง (MODEL FOR FORECASTING WIND DIRECTION AT AN ALTITUDE OF 120 METERS IN KOH PHAYAM, MUEANG RANONG, RANONG) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15078 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ทิศทางลมที่ระดับความสูง 120 เมตร ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ด้วยวิธีการทางสถิติ 7 วิธี ได้แก่ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของบราวน์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ อนุกรมเวลาทิศทางลมรายชั่วโมงได้มาจากศูนย์วิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2558 จำนวน 2,209 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์จะใช้เกณฑ์ร้อยละค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) และเกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของบราวน์มีความเหมาะสมมากที่สุด (MAPE = 8.694, RMSE = 24.682)</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ทิศทางลม ตัวแบบพยากรณ์ บ็อกซ์-เจนกินส์ การทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลัง</p> <p>The aim of this research is to construct seven methods of forecasting wind direction at an altitude of 120 meters in Koh Phayam, Mueang Ranong, Ranong, namely, Box-Jenkins method, Holt’s exponential smoothing method, Brown’s exponential smoothing method, damped trend exponential smoothing method, simple seasonal exponential smoothing method, Winters’ additive exponential smoothing method, and Winters’ multiplicative exponential smoothing method. Time series of hourly wind direction were gathered from research center in energy and environment, Thaksin university during 1 July to 1 October 2015 of 2,209 observations. The criteria of the lowest mean absolute percentage error and root mean squared error were used for comparing the suitability of the forecasting model. The study indicated that Brown’s exponential smoothing method was the most appropriate (MAPE = 8.694, RMSE = 24.682).</p> <p><strong>Keywords:</strong> Wind Direction, Forecasting Model, Box-Jenkins, Exponential Smoothing</p> วรางคณา เรียนสุทธิ์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15078 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 ภาพฉายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความเข้มฝนในอนาคตโดยแบบจำลอง WRF และแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครนายก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15079 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ประเมินแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปัจจัย ทางกายภาพในอนาคตบริเวณพื้นที่จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพในอนาคตบริเวณพื้นที่จังหวัดนครนายก และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตบริเวณพื้นที่จังหวัดนครนายก ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำข้อมูลที่คำนวณจากแบบจำลอง HadGEM2-ES จากช่วงเวลาอดีต 36 ปี (1971-2005) นำมาหาค่าอคติที่อาจเกิดจากระบบของแบบจำลอง จากนั้นนำค่าอคติที่หาได้มาปรับแก้ข้อมูลที่ทำนายจากแบบจำลอง HadGEM2-ES ในช่วงเวลาอนาคต (2020-2040) ภายใต้ Scenario การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ RCP 4.5 โดยปัจจัยทางกายภาพที่นำมาศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณจังหวัดนครนายก ได้แก่ ความเข้มฝนและอุณหภูมิอากาศผิวพื้น จากผลกระทบที่วิเคราะห์ได้จะนำสู่แบบสอบถาม เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสำนักงานจังหวัดนครนายก ข้อมูลจากแบบจำลอง HadGEM2-ES สามารถจำลองความเข้มฝนได้แม่นยำมากกว่าข้อมูลอุณหภูมิอากาศผิวพื้นร้อยละ 12 ในช่วงปี 2020 ถึงปี 2040 ความเข้มฝนในพื้นที่จังหวัดนครนายกจะมีแนวโน้มความเข้มฝนเฉลี่ยในอนาคตมีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลักษณะการตกของฝน จะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ จากที่ฝนตกไม่แรงมาก แต่ตกหลายวันสม่ำเสมอตลอดปีจะเปลี่ยนเป็นฝนตกแรงแต่จำนวนวันที่ฝนตกจะน้อยลง ผลการศึกษาแสดงค่าดัชนี SPI เฉลี่ยในพื้นที่จังหวัดนครนายกมีค่าระหว่าง -2.00 ถึง 2.00 พบว่าในปี 2020 ถึงปี 2040 เกิดสภาวะชื้นหรือฝนตกมากกว่าปกติ จำนวน 35 เดือน และเกิดสภาวะแห้งแล้ง จำนวน 27 เดือน และจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการข้อมูล เชิงคุณภาพโดยโปรแกรม ATLAS.ti version 8.0 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวคิด (Concepts) และรหัสเชิงลึก (Focused Coding) ปรากฏพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก ปรากฏออกมาใน 5 แนวคิด (Concepts) คือ 1. ขาดทรัพยากรในการปรับตัว/รับมือ 2. ความยุ่งยากของโครงการพัฒนาชุมชน 3. การสนับสนุนที่ไม่เพียงพอจากภาครัฐ 4. ขาดความรู้/ข้อมูลข่าวสาร และ 5. ขาดตลาดรองรับสินค้าแปรรูปเกษตรของชุมชน เป็นต้น</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ WRF CMIP5 จังหวัดนครนายก</p> <p>The objectives of the study were: 1) Evaluate the trends of climate change based on physical factors in the future in Nakhon Nayok province 2) To study the problems and obstacles to farmers' adaptation to cope with the impacts of climate change affecting the physical environment in the future in Nakhon Nayok province area and 3) To suggest guidelines for solving farmers' problems and obstacles to cope with the impacts of climate change in the future in Nakhon Nayok Province. In this study, the data was calculated from HadGEM2-ES models in the past 35 years (1971-2005) to determine the potential bias of the model. The bias obtained was then corrected to the predicted data from the HadGEM2-ES model in the future (2020-2040) under the RCP 4.5 atmospheric carbon dioxide concentration scenario. The physical factors were taken to study the effects of climate change in Nakhon Nayok province including rainfall and surface air temperature. The effect that can be analyzed will lead to questionnaires to in-depth interview relevant sample group in the area that are expected to be affected in the dimensions of climate change preparedness. The data from the HadGEM2-ES model was able to simulate precipitation more accurately 12% than the surface air temperature data. In the period of 2020 to 2040, the rainfall in Nakhon Nayok province area is likely to have a constant average rainfall in the future. But the rainfall pattern would change from the past was not very strong and fall on several days regularly throughout the year. Whereas it will rain heavily, but the number of days it would be less. The results showed that the average SPI index in Nakhon Nayok province was between -2.00 and 2.00, it was found that from 2020 to 2040, there was 35 months of more humid or rainy conditions than usual and 27 months of drought conditions. The analysis of data from interviews using a computer program for qualitative data management by ATLAS.ti version 8.0 program to analyse the relationship of concepts and focused coding. The research findings showed problems and obstacles for climate change adaptation among farmers in Nakhon Nayok province appearing in five concepts: 1. Lack of resources for adaptation / response; 2. Difficulty of community development projects; 4. Lack of knowledge / information and 5. Lack of market for community processed agricultural products.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Climate Change, WRF, CMIP5, Nakorn Nayok Province</p> วสันต์ สกุลกิจกาญจน์, ปริชาติ เวชยนต์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15079 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 การทดสอบความทนทานของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์โดยใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่นภายใต้การกระทำของโซเดียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15080 <p>ความทนทานของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ต่อสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับซัลเฟต ซึ่งมีส่วนผสมจากเถ้าถ่านหิน โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และโซเดียมซิลิเกต (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) เป็นสารเชื่อมประสาน โดยใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่น และทำการควบคุมการไหลแผ่ร้อยละ 110±5 โดยการเติมน้ำ ถูกนำมาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของมอร์ต้าร์ควบคุมที่มีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.4 โดยน้ำหนัก ผลทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่อายุ 28 วัน อยู่ในช่วง 427-514 กก./.ซม.2 ยกเว้นจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่มีเถ้าถ่านหินร้อยละ 70 ที่ใช้ NaOH ความเข้มข้น 10 โมลาร์ มีกำลังรับแรงอัดอยู่ในช่วง 270-275 กก./ซม.2 และในสภาวะที่สัมผัสกับสารละลายโซเดียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต (Na<sub>2</sub>SO<sub>4</sub> และ MgSO<sub>4</sub>) ความเข้นข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ในช่วง 0-28 วัน ทุกส่วนผสมมีการพัฒนากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 34-145 กก./ซม.2 ยกเว้น 70FA[10M](S) ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดลดลง 4-11 กก./ซม.2 และในช่วง 28-56 วัน ทุกส่วนผสมมีกำลัง รับแรงอัดลดลงอยู่ในช่วง 5-50 กก./ซม.2 ในส่วนของการสูญเสียกำลังอัดที่อายุ 28 และ 56 วัน จีโอโพลิเมอร์ มอร์ต้าร์ทุกส่วนผสมมีการสูญเสียกำลังอัดมากกว่ามอร์ต้าร์ควบคุม แต่ในส่วนของการทดสอบค่าระยะการซึม ผ่านของน้ำที่อายุ 56 วัน จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ทุกส่วนผสมมีค่าระยะการซึมผ่านของน้ำต่ำกว่ามอร์ต้าร์ควบคุม จากผลการทดสอบทั้งหมดพบว่า จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ที่ใช้เถ้าถ่านหินร้อยละ 65 และใช้ NaOH ความเข้มข้น 10 โมลาร์ และใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่นมีการสูญเสียกำลังอัดน้อยและมีความทึบน้ำสูง มีศักยภาพสามารถนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับซัลเฟต</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> จีโอโพลิเมอร์ หินฝุ่น ความทนทาน โซเดียมซัลเฟต แมกนีเซียมซัลเฟต</p> <p>Durability of controlled flow geopolymer (ranged 110 ± 5% by adding water) mortar which contains fly-ash, sodium hydroxide (NaOH) and sodium silicate (Na<sub>2</sub>SiO<sub>3</sub>) as a binder and use quarry dust as fine aggregate were compared to the control conventional cement mortar (W/C=0.4). From the results, the compressive strength of geopolymer mortars at the age of 28 days were in the range of 427-514 ksc, while compressive strength of geopolymer mortars (70% fly-ash with 10M NaOH) were in the range of 270-275 ksc. In exposed to sulfate solutions (5% by weight of Na<sub>2</sub>SO<sub>4</sub> or MgSO<sub>4</sub>), compressive strength of all mixtures had increased by 34-145 ksc until 28 days but the compressive strength of geopolymer mortar 70FA[10M](S) (70% fly-ash and 10M NaOH with sand,) had reduced by 4-11 ksc. Between 28 and 56 days in sulfate solution, compressive strength of all mixtures had decreased roughly 5-50 ksc. and all of geopolymer mortar loss compressive strength more than the control mortar. However, all geopolymer mortars show lower water penetration depth than that of the control mortar. This work found out that the geopolymer mortar 65FA[10M](D) (65% fly-ash and 10M NaOH with quarry dust) can be developed as a durable mixture which obtains low water penetration depth and slight compressive strength loss in sulfate environment.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Geopolymer, Quarry Dust, Durability, Sodium Sulfate, Magnesium Sulfate</p> ศุภชัย สินถาวร, ณัฐณีกาณต์ ธรรมรัตน์, ศรัญญู เลิศเกียรติกุล, ภัทรพล ไพจิตรวิจารณ์ Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15080 Thu, 29 Dec 2022 00:00:00 +0000 กองบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15063 กองบรรณาธิการ Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15063 Fri, 10 Feb 2023 00:00:00 +0000