การศึกษาตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง (THE STUDY FORECASTING MODELS OF EXPORT QUANTITY OF FROZEN SHRIMP)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวแบบการพยากรณ์ โดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาเพื่อพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลาที่นำมาใช้ 5 วิธี คือ วิธีการปรับให้เรียบเอ็กซ์โปเนนเชียลโฮลท์-วินเทอร์ วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ รูปแบบทรานสเฟอร์ฟังก์ชัน และการพยากรณ์ร่วม โดยข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นข้อมูลรายเดือน ที่มีลักษณะแนวโน้มและฤดูกาล ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ใช้อนุกรมเวลาเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ตรวจสอบความถูกต้องของการพยากรณ์ เปรียบเทียบการพยากรณ์ทั้ง 5 วิธีด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (MSE) ทำการตรวจสอบค่าพยากรณ์ด้วยค่าสัญญาณเตือน (TS1) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยวิธีการพยากรณ์ร่วมเป็นวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง เนื่องจากให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ต่ำที่สุด และทำการตรวจสอบค่าพยากรณ์ด้วยค่าสัญญาณเตือน (TS1) พบว่า ช่วงเวลาของการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับวิธีการพยากรณ์ร่วม คือ 1 เดือนคำสำคัญ: วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีบ๊อกซ์-เจนกินส์ ทรานสเฟอร์ฟังก์ชันThe purpose of this research is to study forecasting models by using analysis of time series for prediction of the export quantity of frozen shrimp. The five techniques used for time series analysis are Holt–Winters, Decomposition method, Box–Jenkins method, Transfer Function model and Combination Forecasting. The studied data were monthly time series with trends and seasonal from January 2003 to December 2008 and data from January 2009 to April 2010 were used to investigate the accuracy of forecasting. The comparison of the five forecasting methods used Mean Absolute Percent Error (MAPE) and Mean Square Error (MSE) and the accuracy of forecasting was investigated by Tracking Signal (TS1). The result of the study found that time series analysis by using combination forecasting was the best techniques for forecasting export quantity of frozen shrimp because it has the lowest of Mean Absolute Percent Error (MAPE) and Mean Square Error (MSE). From ckecking an accuracy of the forecasting values by TS1, it is found that the suitable forecasting period is one month.Keywords: Decomposition method, Box–Jenkins method, Transfer FunctionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-03-23
How to Cite
แสนเดช ย., ชาญบรรยง น., & พยัคฆพงษ์ ป. (2012). การศึกษาตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง (THE STUDY FORECASTING MODELS OF EXPORT QUANTITY OF FROZEN SHRIMP). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(supplement 2, March), 32–44. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2128
Issue
Section
บทความวิจัย