การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบการขนส่งทางรางและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา การนำรถโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศมาใช้ในการเดินขบวนรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย
Abstract
ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการให้บริการด้านการเดินรถโดยสารหลากหลายรูปแบบและหลากหลายชนิดของการทำขบวน โดยมีการพ่วงตู้รถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ในแต่ละตู้รถโดยสารต่อจากหัวรถจักรเพื่อทำเป็นขบวนรถในการให้บริการด้านการโดยสาร ซึ่งในแต่ละปีมีค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมากถึง 2,500 ล้านบาท ทั้งนี้ การรถไฟฯ เล็งเห็นถึงวิธีการในการลดค่าใช้จ่ายดังกล่าว โดยการนำรถไฟฟ้ากำลัง หรือ พาวเวอร์คาร์ (Power Car) ซึ่งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบต่าง ๆ ในตู้โดยสารทั้งหมดในขบวนแทนการให้แต่ละตู้รถโดยสารต้องติดเครื่องยนต์และใช้น้ำมันในแต่ละตู้รถโดยสาร จากการทดสอบใช้งานจริง โดยพ่วงรถไฟฟ้ากำลังเข้ากับขบวนรถโดยสารในเส้นทางต่าง ๆ พบว่า สามารถลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 30% ต่อขบวน ซึ่งนอกจากจะสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้แล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 1,432,750.176 tCO2e ในอีกด้านหนึ่ง การที่การรถไฟฯ ได้เริ่มโครงการก่อสร้างดัดแปลงรถไฟฟ้ากำลังนี้ ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยการใช้ทรัพยากร และองค์ความรู้ที่มีภายในประเทศ (Local Content) ซึ่งเป็นการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมภายในประเทศในด้านอุตสาหกรรมทางรางด้วยเช่นกันคำสำคัญ: ระบบการขนส่งทางราง รถโบกี้ไฟฟ้ากำลัง ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันAt present, State Railway of Thailand (SRT) provides passenger service with different and many types of passenger trains by attaching each passenger coach that has his own’s engine to the locomotive at the beginning of train consist next to the locomotive. Each year, SRT pays about 2,500 million baht for fuel expenses. SRT can reduce these expenses by attaching Air-conditioned Power Van Car (Power Car) that generates electricity supply to all passenger coaches instead of each passenger coach with own’s engine and consume fuel in each coach. In experiment, attaching Power Car to passenger trains in different routes can reduce the fuel expense up to 30% per passenger train. Also, the greenhouse effect can reduce 1,432,750.176 tCO2e per year. In addition, by promoting to build Power Car domestically can generate and support the innovation by using local content in the rail industry.Keywords: Rail Transport, Power Car, Friendly Environment, Competitive PerformanceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
How to Cite
พฤทธิพันธุ์ ศ. (2021). การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบการขนส่งทางรางและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา การนำรถโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศมาใช้ในการเดินขบวนรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(26, July-December), 106–120. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/14116
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.