ผลของไดโอดเลเซอร์ในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบร่วมกับการขูดใต้เหงือกด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิคเสร็จในคราวเดียว (EFFECT OF DIODE LASER ON PERIODONTITIS TREATMENT WITH ONE-VISIT ULTRAZONIC SUBGINGIVAL DEBRIDEMENT)
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกระหว่างการใช้ไดโอดเลเซอร์ร่วมกับการขูดใต้เหงือกด้วยเครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิคชนิดเพียโซอิเล็กทริกเสร็จในคราวเดียว ในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรงโดยใช้อาสาสมัคร 30 คน เป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการแบบสุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งปากในคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิคชนิดเพียโซอิเล็กทริก โดยในกลุ่มทดลองมีการใช้ไดโอดเลเซอร์ร่วมด้วย เฉพาะตำแหน่งร่องลึกปริทันต์ที่ ≥ 5 มม. ขึ้นไป ติดตามผลการรักษาที่เวลา 1, 3 และ 6 เดือน พบว่าที่เวลา 6 เดือน ผลทางคลินิกของทั้ง 2 กลุ่ม ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับที่เวลาเริ่มต้น ผลที่ดีกว่าพบได้จากกลุ่มทดลอง โดยพบว่าที่เวลา 3 และ 6 เดือน ตำแหน่งร่องลึกปริทันต์ขนาดเริ่มต้น ≥ 5 มม. มีการลดลงของร้อยละค่าดัชนีการเลือดออกของเหงือกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และพบว่าในตำแหน่งร่องลึกปริทันต์ที่มีขนาดเริ่มต้น ≥ 7 มิลลิเมตรนั้น กลุ่มทดลองมีการลดลงของร่องลึกปริทันต์ และการมีเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เวลา 6 เดือน สรุปผลได้ว่าการใช้ไดโอดเลเซอร์ร่วมกับเครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิคในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง สามารถลดขนาดร่องลึกปริทันต์และเพิ่มระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ได้ในร่องลึกปริทันต์ขนาด ≥ 7 มม. ขึ้นไปได้คำสำคัญ: ไดโอดเลเซอร์ การขูดใต้เหงือกด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิคเสร็จในคราวเดียว การรักษาโรคปริทันต์ การขูดหินน้ำลายใต้เหงือกด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิคชนิดเพียโซอิเล็กทริกThis study aimed to evaluate the clinical outcome of one-visit periodontal treatment using ultrasonic piezoelectric device in combination with diode laser. Thirty patients were randomized into two groups. In both groups, sub-gingival full mouth SRP in a single visit was performed using piezoelectric ultrasonic device. In test group, after sub-gingival debridement, a 970 nm diode laser was applied to all periodontal pockets of ≥5 mm. The clinical parameters were evaluated at 1,3 and 6 months after treatment. At 6 months, each clinical parameter was significantly improved compared to baseline, better results were in favor of the test group. At 3 and 6 months, statistical significant difference between control and test group were found in bleeding on probing (BOP) at site with ≥5 mm. pocket depth and pocket reduction (p<0.05). Nevertheless, the significant difference in clinical attachment gain at site with ≥ 7 mm. pocket depth was only found after 6 months (p<0.05). The use of diode laser following subgingival SRP could shallow periodontal pocket depth and improved clinical attachment level, especially at site with ≥ 7 mm. depth of periodontal pockets.Keywords: Diode laser, One-visit ultrasonic subgingival debridement, Periodontal treatment, Piezoelectric ultrasonic debridementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
How to Cite
พงษ์ไพโรจน์ ณ., ศรีสุวรรณฑา ร., & เหล่าศรีสิน ณ. (2021). ผลของไดโอดเลเซอร์ในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบร่วมกับการขูดใต้เหงือกด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิคเสร็จในคราวเดียว (EFFECT OF DIODE LASER ON PERIODONTITIS TREATMENT WITH ONE-VISIT ULTRAZONIC SUBGINGIVAL DEBRIDEMENT). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(26, July-December), 26–37. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/14109
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.