การเปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์จำนวนการเกิดของประชากรจังหวัดปทุมธานี (A COMPARATIVE PREDICTION ACCURACY OF BIRTH NUMBER OF THE POPULATION PATHUM THANI PROVINCE)

Authors

  • คชินทร์ โกกนุทาภรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์สำหรับพยากรณ์จำนวนการเกิดของประชากร จังหวัดปทุมธานี โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของระบบสถิติทางการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2562 จำนวน 27 ค่า ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2559 จำนวน 24 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วย วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังด้วยวิธีของโฮลท์ วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม และวิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังด้วยวิธีของบราวน์ ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความแม่นยำของวิธีการพยากรณ์โดยใช้เกณฑ์ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า วิธีการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำที่สุดคือ วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังด้วยวิธีของบราวน์คำสำคัญ: จำนวนการเกิดของประชากร  วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังด้วยวิธีของบราวน์  ค่าเปอร์เซ็นต์  ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยThis research is aimed to compare the prediction accuracy of forecasting model for the birth number of the population Pathum Thani Province. The data gathered from the website of Registration system - Office of Registration Administration, Department of Local Administration during year 1993 to the year 2019 of 27 values which were used and separated into 2 groups. The first group contained 24 values from year 1993 to the year 2016 for comparing and searching for forecasting models. There were forecasting methods: Box-Jenkins, Holt’s exponential smoothing method, Damped trend exponential smoothing method and Brown’s exponential smoothing method. The second set had 3 values from year 2017 to the year 2019 for comparing and finding the most suitable forecasting method via criteria of the lowest root mean squared error (RMSE) and mean absolute percentage error (MAPE). The result indicated Brown’s exponential smoothing method was the best method.Keywords: Birth number of the population, Brown’s exponential smoothing method, Mean absolute percentage error

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

คชินทร์ โกกนุทาภรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์Program in Applied Mathematics, Faculty of Science and Technology, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Downloads

Published

2021-12-31

How to Cite

โกกนุทาภรณ์ ค. (2021). การเปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์จำนวนการเกิดของประชากรจังหวัดปทุมธานี (A COMPARATIVE PREDICTION ACCURACY OF BIRTH NUMBER OF THE POPULATION PATHUM THANI PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(26, July-December), 14–25. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/14108