การตรวจหาสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze.) (PHYSICOCHEMICAL AND ANTIMICROBIAL ACTIVITY OF THAO YAI MOM (TACCA LEONTOPETALOIDES (L.) KUNTZE.) EXTRACTS)

Authors

  • ญาณิกา วัชรเทวินทร์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.
  • อานนท์ เรียงหมู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.

Abstract

การตรวจสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นของหัวเท้ายายม่อม พบว่าสารสกัดจากฟลาวร์ประกอบด้วยแอลคาลอยด์ ซาโพนิน ฟลาโวนอยด์ และแทนนิน โดยสารพฤกษเคมีทั้งหมดข้างต้นยกเว้นแอลคาลอยด์พบในสารสกัดจากเปลือกเช่นกัน การทดสอบเฟอร์ริกคลอไรด์ไม่สามารถตรวจพบสารประกอบฟีนอลิกจากสารสกัดทั้งสองส่วน การวิเคราะห์สารประกอบฟีนอกลิกและแทนนินทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric พบว่าสารสกัดจาก ฟลาวร์และเปลือกมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด 2.70 และ 8.11 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิก / กรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และมีปริมาณแทนนินทั้งหมดเท่ากับ 2.62 และ 8.68 มิลลิกรัมสมมูลกรดแทนนิก / กรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณฟลาโวนอยด์ในสารสกัดจากเปลือกวิเคราะห์ได้ 20.79 มิลลิกรัมสมมูลเคอร์ซิทิน / น้ำหนักแห้ง ซึ่งสูงกว่าปริมาณฟลาโวนอยด์ในสารสกัดจากฟลาวร์ (0.79 มิลลิกรัมสมมูลเคอร์ซิทิน / น้ำหนักแห้ง) ถึง 26 เท่า สารสกัดจากเปลือกแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญเมื่อทดสอบด้วยวิธี Broth dilution โดยสามารถยับยั้งการเจริญของ Candida lipolytica ได้ร้อยละ 99.70, Bacillus subtilis ร้อยละ 76.58,  Enterococcus faecalis TISTR 379 ร้อยละ 72.79, Staphylococcus aureus ร้อยละ 69.23 และ Salmonella sp. ร้อยละ 56.92 แบคทีเรียแกรมลบตัวอื่น ได้แก่ Pseudomonas fluorescens TISTR 904 และ Escherichia coli มีความต้านทานต่อสารสกัดจากเปลือกมากกว่า Salmonella sp. สารสกัดจากฟลาวร์มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ต่ำกว่าสารสกัดจากเปลือก โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญต่อ C. lipolytica คิดเป็นร้อยละ 45.86 และ E. faecalis TISTR 379 คิดเป็นร้อยละ 13.55 การทดสอบ MIC พบว่า S. aureus ไวต่อสารสกัดจากเปลือกมากที่สุด เนื่องจากมีค่า MIC ต่ำที่สุด (12.5 มิลลิกรัม / มิลลิลิตร) ตามด้วย E. faecalis TISTR 379 และ C. lipolytica (25 มิลลิกรัม / มิลลิลิตร) และ B. subtilis (50 มิลลิกรัม / มิลลิลิตร) ส่วนแบคทีเรียแกรมลบ Salmonella sp. มีความไวต่อสารสกัดน้อยที่สุด โดยมีค่า MIC สูงสุด (100 มิลลิกรัม / มิลลิลิตร) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเท้ายายม่อมมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และอาจใช้เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่สามารถยับยั้บจุลินทรีย์ได้ คำสำคัญ: เท้ายายม่อม ฟีนอลิก  แทนนิน  ฟลาโวนอยด์  ฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ Phytochemical screening of Thao Yai Mom (Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze) indicated that its flour extracts contained alkaloids, saponins, flavonoids and tannins. These compounds except alkaloids were also found in the peel extracts. The ferric chloride test could not detect phenolic in both extracts. Total phenolic contents of the flour and peel extracts determined by Folin-Ciocalteu colorimetric method were 2.70 and 8.11 mg GAE/g dry sample, respectively. Tannins were evaluated at 2.62 and 8.68 mg TAE/g dry sample of flour and peel, respectively. Whereas total flavonoid content of the peel extracts was 20.79 mg QE/g dry sample, which was about 26 times higher than that of the flour extracts (0.79 mg QE/g dry sample). The significant microbial growth inhibition, tested with broth dilution method, by the peel extracts were observed for Candida lipolytica at 99.70%, Bacillus subtilis at 76.58%, Enterococcus faecalis TISTR 379 at 72.79%, Staphylococcus aureus at 69.23% and Salmonella sp. at 56.92%. Other gram-negative bacteria, Pseudomonas fluorescens TISTR 904 and Escherichia coli showed much more resistant to the peel extracts than Salmonella sp. The flour extracts possessed less potential antimicrobial activity than the peel extracts and gave significant inhibition only on C. lipolytica at 45.86% and E. faecalis TISTR 379 at 13.55%. The MIC test of peel extracts indicated that S. aureus was the most sensitive microorganism giving the lowest MIC value (12.5 mg/ml) followed by E. faecalis TISTR 379 and C. lipolytica (25 mg/ml) and B. subtilis (50 mg/ml), respectively. Gram-negative Salmonella sp. was observed less sensitive to the extracts with the highest MIC value (100 mg/ml). This study gave evidence that Thao Yai Mom might be applicable as natural source of antimicrobial agent. Keywords: Thao Yai Mom, Phenolic, Tannin, Flavonoid, Antimicrobial activity

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ญาณิกา วัชรเทวินทร์กุล, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.

สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมProgram of Microbiology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University.

อานนท์ เรียงหมู่, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมResearch and Development Institute, Nakhon Pathom Rajabhat University.

Downloads

Published

2020-12-31

How to Cite

วัชรเทวินทร์กุล ญ., & เรียงหมู่ อ. (2020). การตรวจหาสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze.) (PHYSICOCHEMICAL AND ANTIMICROBIAL ACTIVITY OF THAO YAI MOM (TACCA LEONTOPETALOIDES (L.) KUNTZE.) EXTRACTS). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 23–35. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13156