การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย (DEVELOPMENT OF THAI HERBS DATABASE SYSTEM)

Authors

  • พิมพ์ชนก สุวรรณศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.
  • ทัศนันท์ จันทร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.
  • สุรีพร บุญอ้วน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร และเพื่อประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร และ แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร ผลการวิจัย คือ ได้ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร โดยมีการทำงานอยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนของสมาชิก และ ส่วนของผู้ดูแลระบบ ส่วนของผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำการค้นหาข้อมูลพืชสมุนไพรได้ โดยแสดงผลตามพืชสมุนไพรและสรรพคุณ ส่วนของสมาชิก สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้เช่นเดียวกับผู้ใช้ทั่วไป และสามารถทำการเพิ่มข้อมูลพืชสมุนไพรเข้าไปในระบบได้ สำหรับส่วนของผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ภายในระบบได้ทั้งหมด ทั้งการเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลพืชสมุนไพร ข้อมูลสรรพคุณ ข้อมูลประโยชน์ รวมทั้งทำการตรวจสอบข้อมูลสมุนไพรที่เพิ่มจากสมาชิก และทำการอนุมัติผลการเพิ่มข้อมูลดังกล่าวก่อนจะเผยแพร่ผ่านระบบได้ ผลการประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคคลทั่วไป จำนวน 104 คน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27คำสำคัญ: พืชสมุนไพร  การพัฒนาระบบ  ระบบฐานข้อมูลThe objectives of the research on development of herbs database system are: 1) to develop herbs database system; and 2) to evaluate satisfaction towards the use of herbs database system. Research tools were: 1) herbs database system; and 2) Assessment Form on Satisfaction towards the use of herbs database system. The results revealed that the herbs database system was obtained with 3 main parts including the parts of general users, members, and administrator. The part of general user could be operated to search for herbs information by providing output based on herbs and their properties. For the part of members, data could be searched in the same manner as that of general users but they were able to add additional information on herbs. For the part of administrator, administrator was able to manage all information in the system including adding, deleting, and editing information on herbs, properties, and benefits, as well as checking herbs information added by members and approving them before publishing via the system. The result of evaluation on satisfaction towards system usage from the sample group was 104 general persons was in high level with the mean of 4.27.Keywords: Herbal, System Development, Database System

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University.

ทัศนันท์ จันทร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University.

สุรีพร บุญอ้วน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiang Mai Rajabhat University.

ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Department of Computer, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University.

Downloads

Published

2020-06-30

How to Cite

สุวรรณศรี พ., จันทร ท., & บุญอ้วน ส. (2020). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย (DEVELOPMENT OF THAI HERBS DATABASE SYSTEM). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(23, January-June), 81–92. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/12742