การออกแบบชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
Abstract
Teerawadee Hungsanate
รับบทความ: 15 มีนาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 25 พฤษภาคม 2558
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและออกแบบชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 20 ชนิด ได้แก่ เครื่องชั่งลูกตุ้มน้ำหนักแบบ 2 จาน, เครื่องชั่งลูกตุ้มน้ำหนักแบบเลื่อน, เครื่องชั่งสปริง, กระบอกตวง, บีกเกอร์, แท่งแก้วคน, กรวยแก้ว, หลอดทดลอง, อุปกรณ์วัดความยาว (ไม้บรรทัด ไม้เมตร ตลับเมตร และสายวัด), เทอร์มอมิเตอร์, แอมมิเตอร์, โวลต์มิเตอร์, เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์, ไมโครมิเตอร์, หลอดฉีดยา, ถ้วยยูเรก้า, ตะเกียงแอลกอฮอล์, กล้องจุลทรรศน์, แว่นขยาย และหลอดหยด จากนั้นสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เกี่ยวกับการออกแบบชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ชนิด พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นให้สร้างเครื่องมือในรูปแบบ 4 รูปแบบ ได้แก่ แบบฝึก ใบความรู้ เกม และภาพเคลื่อนไหว ดังนี้ (1) แบบฝึก ใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ เครื่องชั่งลูกตุ้มน้ำหนักแบบ 2 จาน, เครื่องชั่งลูกตุ้มน้ำหนักแบบเลื่อน แอมมิเตอร์, โวลต์มิเตอร์, กล้องจุลทรรศน์, หลอดหยด, เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์, ไมโครมิเตอร์, เครื่องชั่งสปริง, เทอร์-มอมิเตอร์ และกระบอกตวง (2) ใบความรู้ ใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ แท่งแก้วคน, ตะเกียงแอลกอฮอล์, แว่นขยาย, หลอดฉีดยา, ถ้วยยูเรก้า, บีกเกอร์, หลอดทดลอง และอุปกรณ์วัดความยาว (3) เกม ใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์, ไมโครมิเตอร์, เครื่องชั่งสปริง และอุปกรณ์วัดความยาว และ (4) ภาพเคลื่อนไหว ใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หลอดทดลอง, กระบอกตวง, บีกเกอร์ และกรวยแก้ว จากนั้นส่งชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้ผู้เชี่ยวชาญ 2 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 ท่าน และด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน ตรวจประเมินโดยใช้แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาพบว่า ด้านหลักสูตรและการสอนผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุดทั้ง 4 รูปแบบ ส่วนในด้านวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ แบบฝึก ใบความรู้ และเกม ส่วนภาพเคลื่อนไหวผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมาก นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำชุดฝึกแอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นระดับชั้นที่ผู้วิจัยสอนมาเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากนักเรียนจำนวน 5 คน ด้วยการสังเกตการปฏิบัติและแบบทดสอบ พบว่า นักเรียนมีทักษะการใช้อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถเลือกใช้และต่ออุปกรณ์เข้ากับวงจร ไฟฟ้าได้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งานและสามารถอ่านค่าจากอุปกรณ์ได้ถูกต้อง
คำสำคัญ: การออกแบบชุดฝึก ชุดฝึกทักษะ ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
Abstract
This research aimed to explore and design of a practical skills package of scientific equipment and tools for upper secondary students. The various practical skills for scientific equipment and tools were collected from both domestic and aboard data. The practical skills of twenty basic scientific equipment and tools, double balance, triple–beam balance, spring balance, cylinder, beaker, stirring rod, glass funnel, test tube, length measuring tools (i.e., ruler, meter, tape measure, tape), thermometer, ammeter, voltmeter, Vernier calipers, micrometer, syringe, eureka, alcohol burner, microscope, magnifying glass and dropper were collected. Five science experts gave opinions to design the four types of the practical skill package, i.e., drills, information sheets, games and animations. The drills were composed of 11 equipment and tools that were double balance, triple–beam balance, ammeter, voltmeter, microscope, dropper, Vernier calipers, micrometer, spring balance, thermometer and cylinder. The information sheets were composed of 8 scientific equipment and tools that were stirring rod, alcohol burner, magnifying glass, beaker, test tube, length measuring tools, syringe and eureka. The games comprised 4 equipment and tools that were Vernier calipers, micrometer, spring balance and length measuring tools. The animations comprised four equipment and tools that were beaker, test tube, cylinder and glass funnel. The four types were qualified by three curriculum experts and six science experts. The qualities of a designed practical package by three curriculum experts were shown in very good level. The qualities of the package were determined by six science experts were performed in very good level of drills, information sheets, games, following the animation in a good level. The five students’ achievements after practicing with the packages including voltmeter and ammeter were higher than those before practicing with them.
Keywords: Design of practical skill packages, Practical skill package, Scientific equipment and tools
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กติกา สุวรรณสมพงศ์. (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวลาและเงิน ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 โดยได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นกับแบบฝึกหัดในบทเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กีรติ สายสิงห์. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ทิพยวรรณ์ ไกรนรา. (2550). ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นภาพร วงศ์เจริญ. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศรีนวล เช่นพิมาย. (2554). ระบบย่อยอาหาร. เข้าถึงได้จาก http://www.jv.ac.th/pdf/senon.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554.
ศักรินทร์ ภูมิรัตน. (2549). รู้ใช้ รู้เทคนิคในห้อง ปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุพัตรา สัตยากูล. (2552). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อาร์ม โพธิ์พัฒน์. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
American association for the advancement of science. (1970). Science Process Approach. New York: Commentary for Teachers.
Brown, J. W. (1973).A.V. Instruction Technology, Media and Methods. New York: McGraw–Hill.
Mandy, B. (2008). Interactive Science Games. Retrieved from http://resources.woodlands-junior.kent.sch.uk/revision/science/index. html, October 13, 2014.
Mandy, B. (2008). Science Games and Activities. Retrieved from http://www.primaryre sources.co.uk/online/smallskel.html, October 13, 2014.
Mandy, B. (2008). Solids and liquids Retrieved from http://www.bbc.co.uk/schools/ scienceclips/ages/8_9/solid_liquids_fs.shtml, October 13, 2014.
National high school. (2009). Three forces equilibrium Retrieved from http://www. physics-chemistry-interactive-flash-animation.com/mechanics_forces_gravitation_energy_interactive/equilibrium_three_forces_2.htm, October 13, 2014.
Proctor, K. J. (2003). Designing a Learning Activity Package (LAP). Retrieved from www.xnet.rrc.mb.ca/proctor/B23-C203%20 Applied%20Tech%20ll/lap2k.pdf, January 18, 2015.
Rita, G., and Thomson, W. (2010). Planet web quest. http://olc.spsd.sk.ca/de/webquests/planetwq/webquest2html, October 13, 2014.
Sanil. (2010). Mental status examination computer online package. Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=NVRP9Umpz4M, October 13, 2014.
Success, P. (2012). Science–Chemistry Packages. Retrieved from http://www.success planner.com.au/academic-teacher-resour ces/science/chemistry-package-2, October 13, 2014.
University of Warwick. (2007). Study Skills Package. Retrieved from http://www2.warwick.ac.uk/fac/sci/dcs/teaching/movingon, October 13, 2014.