แนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
Abstract
Kiattipoom Jante, Soontaree Cheentam and Punnraphat Takolpuekdee
รับบทความ: 31 มีนาคม 2558; ยอมรับตีพิมพ์: 6 มิถุนายน 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด ลักษณะทางชีววิทยา ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยง การขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 21 คน ได้แก่ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงผึ้งสายพันธุ์ชันโรงในชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ผึ้งสายพันธุ์ชันโรงในพื้นที่ตำบลปัถวีมีจำนวนทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่ ชันโรงปากแตร (Lepidotrigona terminate Smith) ชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz) ชันโรงขนเงินหลังลาย (Tetragonula fuscobalteata Cameron) และชันโรงซุปเปอร์จิ๋ว (Hypotrigona klossi Schwarz) ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์ชันโรงต้องอาศัยหลักวิชาการเกี่ยวกับความรู้ทางชีววิทยา การดูแลรัง แหล่งอาหาร การแยกขยายพันธุ์ และข้อควรระวังในการเลี้ยงชันโรง ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ชันโรง ได้แก่ การใช้เป็นแมลงผสมเกสร การใช้น้ำผึ้ง และการแปรรูปผลผลิตที่ได้จากเป็นสบู่ โลชันบำรุงผิว แชมพู ส่วนแนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง พบว่า ต้องประกอบด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วม การจัดโครงสร้างการบริหารงาน การพัฒนาสำนักงานและฐานการเรียนรู้ และการจัดกลไกการประสานงาน ประชาสัมพันธ์ และงบประมาณ
คำสำคัญ: ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง
Abstract
The objective of this research to study the biological characteristics, wisdom of raising, breeding and utilizing stingless bees including the development guideline of environmental education center on conservation of local wisdom on stingless bees. The qualitative research was used in this study, and the data were collected by participatory observation, in–depth interview, focus group discussion in a target group of 21 participants who were local philosophers, com-munity leaders, and others raising stingless bees in the local stingless bees breeder. The results showed that 4 species of stingless bees have been found in the Patawee subdistrict, i.e., Chanrong Paktra (Lepidotrigona terminate Smith), Chanrong Konngern (Tetragonula pagdeni Schwarz), Chanrong Konngern Lunglai (Tetragonula fuscobalteata Cameron), Chanrong Superchiew (Hypotrigona klossi Schwarz). The success of local wisdom of raising and breeding stingless bees have to use the academic knowledge of biology, lair supervision and expansion. The local wisdom of utilizing stingless bees was used them as pollinating insects, utilization from honey and transformation of the products received from stingless bee to produce soap, skin lotion, and shampoo. The ways to develop the educational environmental center on conservation of local wisdom on stingless bees were as follows: creating the network for participation; managing the administrative structures; setting up the Office of Knowledge Evidence; and rearranging the administrative mechanism, publication and budget.
Keywords: Environmental Education Center, Local Wisdom, Stingless bee
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2525). การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกษม จันทร์แก้ว. (2553). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จูบ รักษา. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557.
ชยุทกฤษดิ์ นนทแก้ว. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2557.
ธัชคณิน จงจิตวิมล. (2553). ความหลากชนิดของชันโรง (Apidae, Meliponinae) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์. Narasuan University Science Journal 7(2): 71–85.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง. (2557). มหัศจรรย์ชันโรง. เข้าถึงได้จาก http://www.ชันโรง.com, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557.
รวีวรรณ สนั่นวรเกียรติ. (2543). รูปแบบศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. นครปฐม:มหาวิทยาลัย มหิดล.
รัฐไท พงษ์ศักดิ์. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2557.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2555). สิ่งแวดล้อมศึกษาในยุคโลกร้อน. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.
วิสิทธิ์ ธนูอาจ. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557.
สมนึก บุญเกิด และอรุณรัตน์ บุญเกิด. (2549). การเลี้ยงผึ้งและการผสมเกสร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมนึก บุญเกิด. (2544). ผึ้ง. กรุงเทพฯ: มติชน.
สมนึก บุญเกิด. (2553). การเลี้ยงผึ้งและชันโรง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สามารถ เครือวัลย์. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557.
สำนักงานคณะกรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2557.
สุนทรี จีนธรรม. (2555). การพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านความหลากหลายของพรรณไม้ บ้านศีรษะอโศก ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรัญ พงศ์ศักดิ์. (2557). สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557.
อัญชลี สวาสดิ์ธรรม นิรันดร์ จันทวงศ์ รุ่งโรจน์ เจริญโพธิ์ ชาญณรงค์ ยาวส่ง และธรรมนูญ ปลื้มรักษ์. (2548). การใช้ประโยชน์จากชันโรงของกลุ่มเกษตรกร บ้านวังปลา ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัญชลี สวาสดิ์ธรรม. (2557). ภูมิปัญญาคนจันท์ เรื่องชันโรง. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
Sakagami, S. F., Inoue, T., and Salmah, S. (1990). Stingless bees of central Sumatra. In S. F. Sakagami, R. Ohgushi, and D. W. Roubik (Eds.) Natural History of Social Wasps and Bees in Equatorial Sumatra. Sapporo: Hokkaido University.
Sawatthum, A. (2004). Stingless Beekeeping in Thailand. Proceeding of the 8th International Conference on Tropical Bee and VI Encontro sobre Abelhas–2004. Brazil: Rebreo Preto.