การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ระบบนิเวศป่าชายเลน แบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

กิตติพงษ์ ไชยบุญชู
จงดี โตอิ้ม

Abstract

Development of Integrated Learning Package on Mangrove Ecosystems for Lower Secondary Students in Samut Songkhram Province
 
Kittipong Chaiboonchoe and Jongdee To-im
 
รับบทความ: 10 มีนาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 11 พฤษภาคม 2554
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน ดำเนินการพัฒนาชุดกิจกรรมแบบบูรณาการ และวิเคราะห์ผลของชุดกิจกรรมต่อความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 32 คน ชุดกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วยกิจกรรมแบบบูรณาการ ได้แก่ กิจกรรมเกมสิ่งแวดล้อม การบรรยาย การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนตามสภาพจริงในท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน และการศึกษาด้วยตัวเอง ใช้เวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง การจัดกิจกรรมดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน จำนวน 20 ข้อ ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ของนักเรียนก่อน (11.19±2.63) และหลังเข้าร่วมกิจกรรม (12.69±1.77) มีความแตกต่างกัน (p < .05) และความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ (0.17)
คำสำคัญ: ชุดกิจกรรม, ระบบนิเวศป่าชายเลน, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ความก้าวหน้าทางการเรียน
 
 
Abstract
The objectives of this study were to investigate lower secondary school students’ knowledge on mangrove ecosystems, to develop an integrated learning package on mangrove ecosystems, and to study the effect of developed learning packages on students’ knowledge.  The participants of this study were 32 eighth-grade students in a school at Muang District, Samut Songkhram Province, and were randomized using purposive sampling technique. These participants attended the developed learning package in second semester of academic year 2010. The developed learning package composes of various integrated activities as games, lecture from local sage, teacher and researcher, field trips in local ecosystems, discussion with local sages, and self-study. Data collections using the questionnaires and multiple choice items were conducted for the knowledge assessment. The results of the study indicated the significant difference in knowledge between pre-test score (11.19±2.63) and post-test score (12.69±1.77) (p < .05), and all students’ average normalized gain is low gain (0.17).
Keywords: Learning package, Mangrove ecosystem, Lower secondary level, Normalized gain

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

จำนงค์ ศรีโมรา จิราภรณ์ ศรีโมรา และประภาศรี แสงทองอร่าม. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ เรื่องบรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุติมา มีชนะ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่าชายเลน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีระสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัทมา เมืองลี. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัด-การเรียนรู้โดยใช้เกมประกอบการสอนวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรกร เผื่อนโชติ. (2549). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง ป่าชายเลน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยม-ศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ พาหะมาก. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ สำนักงานประเทศไทย. (2550). แนวทางการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชนที่อยู่ในท้องถิ่นเขตพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา และตรัง. http://cmsdata.iucn.org/downloads/magrove rehabilitation_by_community.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554.

สุระพงษ์ คำผง และสุระ วุฒิพรหม. (2553). การสำรวจตรวจสอบความเข้าใจรวบยอด เรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวด-ล้อมเพื่อการเรียนรู้ 1(1): 35-45.

อภิสิทธิ์ ธงไชย ขวัญ อารยะธนิตกุล เชิญโชค ศรขวัญ นฤมล เอมะรัตต์ และรัชภาคย์ จิตต์อารี. (2550). การประเมินผลการเรียนรู้แบบใหม่โดยการใช้ผลสอบก่อนเรียนและหลังเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 11(21): 86 - 94.

อิสริยา หนูจ้อย. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเรื่อง ระบบนิเวศในนาข้าวสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

American Association for the Advancement of Science (AAAS). (2005). The living environment in content standard C. p. 103-208. In The National Science Education Standards (NSES), Project 2061 Science for all Americans. Washington, DC: AAAS.

Bloom, B. S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I Cognitive Domain. New York: David McKay.

Center for Science, Mathematics, and Engineering Education (CSMEE). (2000). Inquiry and the National Science Education Standards: A guide for teaching and learning. Washington, DC: National Academy.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousandstudent survey of mechanics test data for introductory physics courses. Am. J. Phys. 61(1): 64 - 74.

Oloke, L. O. (1982). A comparative study of an indoor-outdoor laboratory method with a traditional method of teaching ecology in a secondary school in Nigeria. University of Northern Colorado. DAI 42(4): 4386-A.

Philips, D. A. (1988). An evaluation of the cognitive and affective changes resulting from implement-ation on materials developed by teachers working for the Louisiana Department of Environmental Quality. Ph.D. (Science Education). USA: The University of Southern Mississippi.