ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ขจรศรี ศรีเจริญบุตร

Abstract

Effect of Class Materials on Work and Technology Strand (Agriculture-Oriented) for Prathumsuka V
 
Kajonsri Sricharoenbut
 
รับบทความ: 12 กันยายน 2553; ยอมรับตีพิมพ์: 16 พฤศจิกายน 2553
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนที่สร้างขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 41 คน รูปแบบการศึกษา เป็นแบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) จำนวน 5 เรื่อง และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ จากการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนด้วยสถิติที (t-test) พบว่า เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ มีประสิทธิภาพ 83.83/84.47 และมีคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.63±0.52 และนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (p < .05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำงานเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
คำสำคัญ: กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี, งานเกษตร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, เอกสารประกอบการเรียน
 
Abstract
This research aimed at 1) constructing and investigating the efficiency and quality of a class material on Work and Technology Strand; Agriculture Oriented for Prathomsuksa V based on a standardized criteria of 80/80, and 2) comparing the pupils’ achievement before and after using the class material.  The samples were 41 Prathomsuksa V pupils of Suksawad Kindergarten School, Samutprakan, under the jurisdiction of Samutprakan Office of Educational Service Area 1, in a first semester, academic year 2007. A one group pretest posttest design was used in the study.  The research tools were 5 sets of class materials on Work and Technology Strand; Agriculture Oriented for Prathomsuksa V and the learning achievement test.  By the comparison between before and after using the class materials with t-test, the efficiency of class materials on Work and Technology Strand (Agriculture-oriented) were as the criterion (83.83/84.47).  The quality of the class materials evaluated by the experts was the highest in a mean of 4.63±0.52. The pupils after learning using the class materials of Work and Technology Strand (Agriculture-oriented) had higher learning achievement than those before using them (p < .05). It indicated that pupils had the developments of knowledge and working skills to apply for their further work.
Keywords: Work and technology strand, Agriculture, Achievement, Prathomsuksa V, Class material

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

ณิชาภัทร ศรีสุระ. (2547). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การทำน้ำปลาจากปลาหมักชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหา-สารคาม. ถ่ายเอกสาร.

บุหงา แซ่เตีย. (2547). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทอผ้าเกศเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

ประไพ ฉลาดคิด. (2548). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พันทิพา ปัจจังคะตา.(2549). การพัฒนาเอกสารประกอบ การเรียนโดยใช้การ์ตูน เรื่อง การเลือกซื้อสินค้าและบริการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวหมู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุพดี พาชัย. (2548). การพัฒนาการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การทำไม้กวาดจากใยตาล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2546). รายงานการวิจัยปฏิบัติการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สุคนธ์ ชำนาญณรงค์. (2550). รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์). โรงเรียนอนุบาลลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1.

สุรพล พลอยมณีวงษ์. (2549). รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ง 43101 งานเกษตร (พืช) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.

ไสว คนึงเหตุ. (2548). รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนอุปลพันธุ์โรจน-ประสิทธิ์ พระนครศรีอยุธยา.

อนงค์ ศรีรับขวา. (2548). แผนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่องการออกแบบผ่าลายขิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bloom, B. S. (1976). Mastery learning: Theory and practice. New York: Holt Rinehart and Winston.

Fan, C. T. (1952). Item analysis table: A table of item-difficulty and item-discrimination indices for given proportions of success in the highest 27 percent and the lowest 27 percent of a normal bivariate population. Princeton, NJ: Educational Testing Service.

Kuder, G. F., and Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika 2: 151-160.

Skinner, B. F. (1968). The technology of teaching. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.