การเคลื่อนไหวทางสังคมในบริบทของสังคมไทย

Social Movement in Thai Social Context

Authors

  • เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การเคลื่อนไหวทางสังคม , บริบทของสังคมไทย, สิทธิทางการเมือง

Abstract

       ประเทศไทยได้มีการรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องสิทธิต่างๆ มาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยการเคลื่อนไหวทางสังคมส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากการต่อสู้เรียกร้องทางการเมือง การรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการ และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงการเรียกร้องให้มีการรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตลอดจนการรวมตัวของกลุ่มการเมืองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของพวกพ้องตน โดยมีการอ้างอิงสิทธิในการชุมนุมเรียกร้องต่างๆ บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ แต่ทว่าเมื่อมองผ่านประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวทางสังคมแล้ว การเคลื่อนไหวทางสังคมของประเทศไทยมีความแตกต่างจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากต่างประเทศเป็นการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นขบวนการทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นขบวนการทางการเมือง เพราะให้ความสนใจในเรื่องค่านิยมและวิถีชีวิตเรื่องเชิงวัฒนธรรมมากกว่า และไม่ได้มุ่งที่จะเข้าไปมีส่วนในอำนาจรัฐ หรือครองอำนาจรัฐเเหมือนเช่นการเคลื่อนไหวในประเทศไทย ซึ่งนับวันจะมีผลกระทบที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นความแตกแยกของสังคมอันยากที่จะเยียวยาให้เกิดความปรองดองได้

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ และนัยยะเชิงทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย. ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. หน้า 63 - 65. กรุงเทพ: โครงการวิจัยและพัฒนาสังคม.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2550). ทักษิกา-ประชานิยม: คู่มือรัฐประหารและรัฐธรรมนูญสีเหลือง. ฟ้าเดียวกัน. 5(1): 155.

ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคณะ. (2545). วิถีชีวิต วิธีสู้ ขวนการประชานิยมร่วมสมัย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ ตรัสวิน.

พฤทธิสาน ชุมพล, ม.ร.ว. (2546). ความหมายขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. ใน สิริพรรณ นกสวน และเอก ตั้ง ทรัพย์วัฒนา (บรรณาธิการ). คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย. หน้า 337-339. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 http://www.senate.go.th/web-senate/senate/maincons.htm

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 http://www.onep.go.th/oneb/Group2/Law/RTN_2550.pdf

Donatella Della Porta and Mario Diani. (1999). Social Movement An introduction. MA: Blackwell.

Escobar, Artura. and Sonia E. Alvarez, eds. (1992). The Making of Social Movement in Latin America: Identity Strategy, Strategy and Democracy. CO: Westview Press.

Downloads

Published

2012-09-27