การออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน

Effective Learning Content Design Influencing MOOC Technology Acceptance for Massive Open Online Courses

Authors

  • สุนันทา คชสาร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ลักขณา คิดบรรจง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • มยุรี ศรีกุลวงศ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Keywords:

แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี, การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน, การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้, ปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้

Abstract

การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (MOOC) ในประเทศไทยมีผู้สนใจและเข้าใช้งานมากขึ้นกว่าเท่าตัวในปีที่ผ่านมา แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากระบบเหล่านี้ยังมีอยู่จำกัด ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยด้านการจัดโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ ที่อาจมีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างชัดเจนไว้ตอนต้น, การจัดลำดับเนื้อหา, การแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยแบบมีโครงสร้าง, และการมีส่วนการอภิปราย ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (2) เพื่อสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Technology Acceptance Model) การวิจัยนี้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบและออกแบบโครงสร้างรวมถึงเนื้อหาการเรียนการสอนบน MOOC โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ตามบทบาทของผู้เชี่ยวชาญ ผสมผสานกับการสุ่มแบบลูกโซ่ จำนวน 10 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านทางแอพพลิเคชัน Zoom ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี MOOC และสามารถสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี MOOC สำหรับในอนาคต คณะผู้วิจัยอาจขยายกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ หรือศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (While the adoption of Massive Open Online Courses (MOOCs) in Thailand has doubled in the past year, research has continued to reveal their limited success, which can be attributed to multiple factors. We contribute to clarifying this underperformance by investigating how the structuring of content might affect the student acceptance of MOOCs. Specifically, our objectives are (1) to study how displaying clear learning goals, logically ordering the content, dividing the content into small-structured units, and organizing discussion forums might promote student acceptance, and (2) to build a technology acceptance model (TAM) of this relationship. We conducted in-depth interviews on Zoom with 10 experts who have taken varying key roles in developing MOOCs, using purposive and snowball sampling techniques. We find that structuring does indeed influence student acceptance and that TAM can help clarify this effect. Future works may diversify the panel of interviewees or investigate other factors on academic achievement.)

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). รัฐบาลปลื้ม “Thai MOOC” โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ยอดคนเรียน1.5ล้านคน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทุกคน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/144660

กรมที่ดิน. (2563). Thai MOOC: การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.dol.go.th/train/eschool/doccument/Thai-MOOC%201.pdf

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). MOOC Pedagogy: จาก OCW, OCR สู่ MOOC เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ประจำปี พ.ศ. 2556. หน้า 276-285. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก http://support.thaicyberu.go.th/proceeding/proceedingNEC2013.pdf

ชโรชินีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 1(1): 46-70.

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(3): 158-166.

ดำรัส อ่อนเฉวียง. (2565). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/4364/1/2565_059.pdf

ปริญญา น้อยดอนไพร. (2560). MOOC (มู้กส์). สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563, จาก https://arit.sru.ac.th/news-activities/arit-share/751-MOOC.html

รุสดี เปาจิ. (2558). MOOC กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์. 2(1): 17-28.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). MOOC: นวัตกรรมการศึกษา/เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษาแบบก้าวกระโดด. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/MOOC-bibliometric/

Alamri, Mahdi Mohammed. (2022). Investigating Students’Adoption of MOOC during COVID-19 Pandemic: Students’Academic Self-Efficacy, Learning Engagement, and Learning Persistence. Sustainability. 14(2): 1-15.

Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using Thematic Analysis in Psychology. Qualitative Research in Psychology. 3(2): 77-101.

Cheung, R. & Vogel, D. (2013). Predicting User Acceptance of Collaborative Technologies: An Extension of the Technology Acceptance Model for e-Learning. Computers & Education. 63(2013): 160-175.

CHULA MOOC. (2566). เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://mooc.chula.ac.th/about

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly. 13(3): 319-340.

Davis, F. D.; Bagozzi, R. P.; & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science. 35(8): 982-1003.

Digitalagemag. (2562). MOOC นวัตกรรม การศึกษา แบบเปิดกว้าง ยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562, จาก https://www.digitalagemag.com/MOOC-นวัตกรรม-การศึกษา-แบบเปิดกว้าง-ยุคดิจิทัล

Meet, Rakesh Kumar; & Kala, Devkant. (2021). Trends and Future Prospects in MOOC Researches: A Systematic Literature Review 2013-2020. Contemporary Educational Technology. 13(3): 312.

Weerasinghe, T., & Ramberg, R. (2009). Designing Online Learning Environments for Distance Learning. International Journal of Instructional Technology and Distance Learning. 6(3): 21-41.

Workpoint TODAY. (2561). รู้จัก “MOOC” มหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียนได้ทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://workpointtoday.com/เจาะตลาด-mooc-มหาวิทยาลัย/

Wu, B. & Chen, X. (2017). Continuance Intention to Use MOOCs: Integrating the Technology Acceptance Model (TAM) and Task Technology Fit (TTF) Model. Computer in Human Behavior, 67(2017): 221-232.

Yang, M.; Shao, Z.; Liu, Q.; & Liu, C. (2017). Understanding the Quality Factors that Influence the Continuance Intention of Students toward Participation in MOOC. Educational Technology Research and Development. 65(5): 1195-1214.

Downloads

Published

2024-12-26