แนวทางการส่งเสริมความตระหนักของประชาชนเพื่อการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา : ศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา
Guidance on Raising Public Awareness for Environmental Law Enforcement: A Case Study of Khlong Saen Saep Area in Wattana District
Keywords:
คลองแสนแสบ, สิ่งแวดล้อม, มลพิษ, มาตรการทางกฎหมายAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงนโยบายของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองแสนแสบ และเพื่อศึกษาถึงแนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม: ศึกษาพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนา ได้ศึกษาในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมุ่งเน้นศึกษาเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองแสนแสบ ในส่วนของกฎหมายต่างประเทศจะศึกษาเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม และการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์คำถามปลายเปิด โดยทำการสัมภาษณ์บุคคลที่อาศัยบริเวณนั้น และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งหมด 15 คนโดยวิธีเจาะจง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่านโยบายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐนั้นมีมาตรการทางกฎหมายที่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่มีผลบังคับใช้และบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ซึ่งประชาชนก็ขาดความรู้ความเข้าใจในมาตรการดังกล่าวด้วย จึงได้ศึกษากฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ว่ามีกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เพื่อรักษาระดับมาตรฐานของน้ำโดยให้สิทธิประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบเชิงรุกเพื่อทำให้เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืนต่อการบริหารจัดการน้ำในประเทศ โดยแนวทางการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการบังคับใช้กฎหมายต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นที่คลองแสนแสบในท้องที่เขตวัฒนาของประเทศไทยควรได้รับการพัฒนาในรูปแบบเชิงรุกสร้างการบูรณาการ เพื่อแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา มีการให้ความรู้แก่ประชาชนและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมนโยบายและกำหนดนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยอาจนำเอากฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์มาเพื่อเป็นแนวทาง (This research aims to promote knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the management of the Khlong Saen Saep area in Wattana District. The objectives are to study the government's policies regarding the enforcement of environmental laws, examine legal measures concerning environmental management, and explore strategies for promoting knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the Khlong Saen Saep area. The study employs a qualitative research approach, utilizing document analysis and in-depth interviews. It focuses on examining various documents related to laws concerning environmental management in the Khlong Saen Saep area. Regarding international laws, the focus is on those related to environmental management and regulation in the Netherlands to analyze appropriate legal enforcement measures. In-depth interviews utilizing open-ended questions were conducted with five residents, five commuters, and five authorities, totaling 15 participants, using purposive sampling. The study findings suggest that the state's policies and legal measures regarding environmental management are inadequate due to unclear and non-enforceable legal measures and a lack of penalties for violators. Consequently, the public lacks an understanding of these measures. Therefore, studying Dutch laws, which enforce standards to involve citizens in sustainable water management, offers insights into the development of proactive approaches to enhance water management in the country. It is suggested that proactive approaches for promoting knowledge, understanding, and enforcement of environmental laws in the Khlong Saen Saep area in the Wattana District of Thailand should be developed to address the current issues. This involves providing education to the public, promoting policies, and establishing collaborative work among all stakeholders. Utilizing Dutch laws as a guideline is recommended.)References
กษิดิศ ลือชัย. (2553). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมมลพิษทางน้ำในคลองแสนแสบในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ชล บุนนาค. (2554). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2546). ความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์: กรณีศึกษาชุมชนคลองแสนแสบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งอรุณ เชี่ยวชาญ. (2560). การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยมาตรการทางผังเมืองพื้นที่ศึกษาเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การผังเมืองมหาบัณฑิต (การผังเมือง). ปทุมธานี: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรศักดิ์ บุญเรือง. (2565). บทบาทของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม: ศึกษาการกำหนดเงื่อนไขประกอบการใช้ดุลพินิจในการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2535). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ. 121
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2523