การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ของไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
A Comparative Study of Health Policies on the Elderly during COVID-19 Pandemic of Thailand, Japan and Singapore
Keywords:
นโยบายสุขภาพ, สุขภาพจิต, วัคซีนโควิด 19, ผู้สูงอายุAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบนโยบายด้านสุขภาพผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเน้นด้านสุขภาพจิตและการส่งเสริมการรับวัคซีนโควิด 19 ของไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ และสามารถสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพจิตและการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของผู้สูงอายุช่วงการระบาดโควิด 19 ระหว่างพ.ศ. 2563-2565 ของทั้ง 3 ประเทศ ผลการวิจัยพบว่า นโยบายด้านสุขภาพจิตช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ของผู้สูงอายุของทั้ง 3 ประเทศมีความแตกต่างกัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ต่างจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กรุงเทพมหานคร ของไทยใช้วิธีการการลงเยี่ยมบ้าน และการสื่อสารทางโทรศัพท์ ภายใต้แนวคิด “ลดอารมณ์ลบ เพิ่มอารมณ์บวก” เพื่อให้ผู้สูงอายุคลายความกังวล และเกิดความสบายใจมากขึ้น ในขณะที่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์กำหนดแนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุผ่านการจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุแบบออนไลน์และรายการโทรทัศน์ สำหรับการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของผู้สูงอายุชาวไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ได้ระบุกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญลำดับแรกได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่มีค่าใช้จ่าย และได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น (This research aims to study and compare health policies for the elderly during the COVID-19 pandemic in Thailand, Japan, and Singapore by focusing on mental health and promoting COVID-19 vaccination. This research employs a qualitative methodology using a document search on the internet in Thai and English of responsible government agencies from 2020 to 2022. The research shows that the mental health policies during the COVID-19 pandemic for the elderly in the three countries are different. Village health volunteers (VHVs) in provincial areas and public health volunteers (PHVs) in Bangkok Metropolitan Administration (BMA) of Thailand use the method of home visits and telephone communication under the concept of “reducing negative emotions, increasing positive mood” to relieve the elderly's stress and become more comfortable. Meanwhile, Japan and Singapore set mental healthcare programs or activities for the elderly online and on television. As a part of the COVID-19 vaccination, the elderly of these three countries were prioritized as the first target group to receive the COVID-19 vaccine at no cost and received constant stimulating injections.)References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). ผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/857
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับ
ปรับปรุง ครั้งที่ 1. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566, จาก https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid-19-public-Vaccine-040664.pdf
กรมสุขภาพจิต. (2563). องค์ความรู้การดูแลสุขภาพใจในสถานการณ์การระบาด โควิด-19 “ใจพร้อม ไม่ยอมป่วย”. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสุขภาพจิต. (2564). ผู้สูงอายุกับวัคซีนป้องกัน COVID-19. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565, จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2345
กรุงเทพธุรกิจ. (2565ก). เช็คลิสต์ ประเทศไหนเข้าสู่ “สังคมสูงวัย”. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/social/980466
กรุงเทพธุรกิจ. (2565ข). อัตราฉีด"วัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุ"ยังต่ำ ย้ำลดเสียชีวิต 31 เท่า. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/997628
กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการดูแลสังคมจิตใจผู้สูงอายุในสถานการณ์ โควิด-19 สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ/อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส
เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ และสาริณี โต๊ะทอง. (2564). อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : บทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพจิตในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 29(2): 31-323.
บีบีซี นิวส์ ไทย. (2564, 2 พฤษภาคม). โควิด – 19 : สิงคโปร์แซงหน้านิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่รับมือโควิด-19 ได้ดีที่สุดในโลก. สืบค้นวันที่ 20 กันยายน 2567, จาก https://www.bbc.com/thai/international-56956778
ปนัดดา สังฆ์คุ้ม. (ม.ป.ป.). สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการปรับแผนรับมือของสาธารณรัฐสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2567, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=80408&filename=index
ผู้จัดการออนไลน์. (2564, 21 กันยายน). โควิดสะท้อน “คนแก่เต็มประเทศ” ฉุดญี่ปุ่นไร้แรงฟื้น. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2565, จาก https://mgronline.com/japan/detail/9640000093362
ภากิตติ์ ตรีสกุล วิภารณี แม้นอินทร์ และเรวดี ไวยวาสนา. (2563). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
_______. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
รวีวรรณ สุรเศรณีวงศ์. (2567). ผลกระทบของภาวะ COVID-19 ต่อผู้สูงอายุในระยะยาวและการดูแลรักษาป้องกัน. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 20(1): 49 – 59.
ศรันยา สีมา. (2565). มาตรการปิดเมือง (Lockdown) กับการควบคุมโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566, จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2565-jan3
ศศิวัฒน์ บุญวงศ์. (2563). ผู้สูงอายุไทยมีอัตราป่วยตายจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) คิดเป็นร้อยละ 7.93. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก https://webportal.bangkok.go.th/hesd/page/main/1686
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ.2564-2565. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/cpcovid/
Open Development Thailand. (2563). โควิด 19 (COVID-19) ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566, จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/pandemics-covid-19/
Thai PBS. (2563). นายกฯ สั่ง 14 มาตรการเร่งด่วน แก้ไข-ป้องกัน COVID-19. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566, https://www.thaipbs.or.th/news/content/289489
Fujita, Kosuke; Inoue, Aiko; & Kuzuya, Masafumi. (2020). Mental Health Status of the Older Adults in Japan During the Covid Pandemic. JAMDA. 22(2021): 220 – 221.
Hoong, Soon; Chow, Daniel; & Chong, Si Jack. (2022). A Strategy to Make COVID-19 Vaccination More Accessible to the Elderly. Annals Academic of Medicine Singapore. 51(11): 745-746.
Nomoto, Hidetoshi; Hayakawa, Kayoto; & Ohmagari, Norio. (2022). Impact of Prioritized Vaccinations for the Elderly on the COVID-19 Pandemic in Japan. Global Health and Medicine. 4(2): 129-132.
Ministry of Health, Labour and Welfare. (n.d.). COVID-19 Vaccine Booster Shots (3rd Dose). Retrieved on December 04, 2023, from https://www.mhlw.go.jp/stf/covid-19/booster.html
The Japan Times. (2022, May 20). Japan to Start Fourth Vaccine Shots for Elderly and At-Risk Groups Wednesday. Retrieved on December 04, 2023, from https://www.japantimes.co.jp/news/2022/05/20/national/fourth-covid-shots-rollout/
Too, Jillian; Shang, Loh Xin; & Lim, Veronica. (2020, May 30). Mental Health of Elderly in Singapore: What Can Be Done During Times of Uncertainty to Improve the Mental Health of Elderly in Singapore? Retrieved on May 20, 2022, from https://sph.nus.edu.sg/wp-content/uploads/2020/08/PHTT-Interns-2020-Mental-Health-of-Elderly-in-Singapore.pdf
United Nations Population Fund. (2020). COVID-19 and Older People in Asia Pacific: 2020 in Review. Retrieved on May 20, 2022, from https://ageingasia.org/monitoring-covid-19-impact/
Yu, Haoyuan & Alizadeh, Farideh. (2023). Chinese Older Adults’ Motivations and Preferences for Television Watching During the Pandemic. Malaysian Journal of Social Sciences and Humanities (MJSSH). 8(4): e002296.