การวิเคราะห์หาพื้นที่ภูมิทัศน์บำบัดเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ พื้นที่ศึกษา: กรุงเทพฯ ชั้นใน

Analysis of Therapeutic Landscapes for health promotion: a case study of inner Bangkok

Authors

  • นัชชา มั่นศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิชญา มูลพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พุทธพร อารีประชากุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภูมิทัศน์บำบัด, สุขภาวะ, ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

Abstract

วิถีชีวิตของคนเมืองเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าในการดำเนินชีวิต ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาวะของผู้คน หนึ่งใน วิธีที่สามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจและส่งเสริมสุขภาวะได้ คือภูมิทัศน์บำบัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์หาลักษณะ ภูมิทัศน์บำบัดของผู้คนกลุ่มอายุต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ระบุตัวอย่างสถานที่ในกรุงเทพมหานคร (เขตชั้นใน) ที่จัดเป็นภูมิทัศน์บำบัดและอธิบายสาเหตุของการเป็นภูมิทัศน์บำบัดของสถานที่เหล่านั้น ศึกษาด้วยวิธีการรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 คน ประกอบกับทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้วิธีการทางสถิติ โดยผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ พบว่ากลุ่มอายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อลักษณะภูมิทัศน์บำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงประเภทสถานที่กับคุณลักษณะของการเป็นภูมิทัศน์บำบัดมีความสัมพันธ์กัน และผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าลักษณะของภูมิทัศน์บำบัดที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูจิตใจในความเห็นของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มอายุ มีทั้งที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน เช่นเดียวกับผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ซึ่งลักษณะที่เห็นตรงกันทุกกลุ่ม คือ เป็นพื้นที่ที่ทำให้รู้สึกได้ผ่อนคลาย ปล่อยวาง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ทั้งผู้คน ธรรมชาติ สถานที่ สถาปัตยกรรม ส่วนลักษณะที่เห็นแตกต่างกันนั้น เกิดจากความรู้สึกต่อสถานที่ และความคิดความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน (Life in the city is exhausting, it can negatively affect people's health. One of the ways that can help restore the mind and promote well-being is therapeutic landscapes. The objectives of this research are 1) to analyze the therapeutic landscape characteristics defined by different age groups living in Bangkok 2) to identify samples of places in Bangkok (inner district) that can be classified as the therapeutic landscape and explain the reasons for those places. This study collects data using a questionnaire with 129 samples along with in-depth interviews and statistical methods. The statistical method shows that different age groups have significantly different opinions on the therapeutic landscape characteristics and the location for the healing landscape characteristics are also related. The in-depth interview results show that the characteristics of the therapeutic landscape affect mental recovery for the same and different age groups’ opinions are the same with the result from the statistical method. The same opinions for all groups of characteristics are spaces to feel relaxed, let go, and interact with other people, nature, places, and architecture. Even so, the different opinions are caused by the feeling of the places and different beliefs of people.)

References

กศินร์ ศรศรี. (2559). Sense of place ในความหมายของ กึ๋น – กศินร์ ศรศรี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก https://dsignsomething.com/2016/08/26/SENSE-OF-PLACE -ในความหมายของ-กึ๋น-กศินร์

ชนิดา คำแก้ว. (2561). ศูนย์บำบัดความเครียด. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564, จาก http://www.dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/6227/1/56016549%20ชนิดา%20คำแก้ว.pdf

ชุติมา รุ่งโรจน์พานนิชกุล. (2560). การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60050

ประชาชาติธุรกิจ. (2567). จำนวนประชากรไทยปี 2566 เช็ก 5 จังหวัดประชากรสูงสุด-น้อยสุด. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/general/news-1499442

พีรพรรณ ธีรบุษยเวศย์, จามรี จุลกะรัตน์, อรัญญา ตุ้ยคาภีร์ และ วิลาสินี สุขสว่าง. (2563). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินภูมิทัศน์ในด้านการส่งเสริมความรู้สึกถึงการฟื้นคืนพลังจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ. สาระศาสตร์. 3(2): 371-384.

สิงหนาท แสงสีหนาท. (2563). Sense of Place สัมผัส ความรู้สึก และสำนึกต่อถิ่นที่. สืบค้นจาก https://sangsehanat-s.medium.com/สำนึกต่อถิ่นที่-sense-of-place-ced430984e4e

อุดม บัวศรี. (2544). สัมมนาปัญหาปรัชญา (Seminar on Problem of Philosophy). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฮร็อน สเตอร์ลอกดอตตีร์. (2553). สำนึกเรื่องถิ่นฐานในนวนิยายเรื่องลูกอีสานของคำพูน บุญทวี. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/32304/1/Hronn_st.pdf

Ashihara Yoshinobu. (1983). The Aesthetics Townscape. (Lynne E. Riggs, Translated). Cambridge: MIT Press.

Cullen, G., Gosling, D. (1996). Visions of Urban Design. London: Academy Editions.

Gesler, W. (1991). The Cultural Geography of Health Care. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press.

Gesler, W. (1992). Therapeutic Landscapes: Medical Issues in Light of the New Cultural Geography. Soc. Sci. Med. 34(7): 735-746.

Gesler, W. (1993). Therapeutic Landscapes: Theory and a Case Study of Epidauros, Greece. Environment and Planning D Society and Space. 11: 171–189.

Richards, P. Scott & Bergin, Allen. (2005). A Spiritual Strategy for Counseling and Psychotherapy. Washington, DC: American Psychological Association.

Thip. (2563). 4 การวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่าการออกกำลังกายสามารถลดความเครียดได้. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.vrunvride.com/exercise-for-stress-relief.

Williams, A. (2002). Changing Geographies of Care: Employing the Concept of Therapeutic Landscapes As A Framework In Examining Home Space. Social Science & Medicine. 55(1): 141–154.

Downloads

Published

2024-12-26