การวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของฟาร์มไก่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
An Analysis of Spatial Distribution Patterns of Chicken Farms in Nakhon Ratchasima Province by Geographic Information System
Keywords:
ฟาร์มไก่, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในไก่, การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยตำแหน่งใกล้เคียง, ทิศทางการกระจายตัวด้วยวงรีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานAbstract
โรคระบาดในสัตว์ปีก เช่น ไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นต้น ก่อปัญหาทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างมหาศาลต่อเกษตรกรผู้ทำฟาร์มไก่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของฟาร์มไก่ในเขตจังหวัดนครราชสีมาด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่วิธีการจัดการและมาตรการในการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างถูกต้องตามความเหมาะสมของปัจจัยเชิงพื้นที่เป็นสำคัญ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลและปัจจัยเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การศึกษานี้มีขอบเขตการศึกษาฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ (จำนวนไก่มากกว่า 1 แสนตัว) และฟาร์มไก่ขนาดเล็ก (จำนวนไก่น้อยกว่า 1 แสนตัว) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพิจารณารูปแบบการกระจายของฟาร์มไก่ในพื้นที่ ทิศทางของตำแหน่งที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มฟาร์มไก่ขนาดใหญ่และการกระจุกตัวของฟาร์มไก่ขนาดเล็ก ผลการศึกษาพบว่า พบการกระจุกตัวอย่างชัดเจนทั้งในกลุ่มฟาร์มขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (ค่า ANN = 0.50 โดย z-score = -17.63 และ p-value < -2.58 ที่ระดับความเชื่อมั่น 99%) ตำแหน่งที่ตั้งฟาร์มมีทิศทางการกระจายตัวสัมพันธ์กับถนนและแม่น้ำอย่างชัดเจน โดยมีรูปแบบการวางตัวขนานไปกับเส้นทางถนนสายหลักหมายเลข 24 และมักอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ฟาร์มไก่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำฝนเฉลี่ย 900-1100 ม.ม./ปี จากผลการศึกษานี้จึงนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง 4 สถานการณ์ เพื่อเสนอแนะมาตรการป้องกันและเสนอแนะแนวทางการป้องกันการ แพร่ระบาดในวงกว้างตามสภาพปัจจัยเชิงพื้นที่และปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก งานวิจัยนี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังสถานการณ์หากเกิดการระบาดในพื้นที่ที่จะสามารถมีผลกระทบกับกลุ่มอ่อนไหวเดียวกับตนและในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการจัดการและป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเป็นระบบต่อไป Chicken farming can suffer from epidemics such as bird flu, Newcastle disease, and infectious bronchitis, which will also cause economic problems enormously for farmers. This research aims to analyze the spatial distribution patterns of chicken farms in Nakhon Ratchasima Province using the Geographic Information System, which will provide a guideline for disease prevention based on spatial factors. The spatial factors and rainfall amounts were studied using a geographic information system. This study covers large-scale chicken farms (more than 100,000 chickens) and small chicken farms (less than 100,000 chickens) in Nakhon Ratchasima Province. This research explores the distribution pattern of chicken farms in the area and the directions of the cluster locations of large and small chicken farms in the study area. The study found cluster patterns in both large chicken farms and small chicken farms (ANN value = 0.50 where z-score = -17.63 and p-value < -2.58 at 99% confidence level). The farm's locations have a clear distribution direction relative to a main road and natural water bodies. They are oriented parallel to the major route number 24 and are mainly near the water sources. Most chicken farms are located in the average of 900-1100 mm./year rainfall. The result of this study leads to a modeling of four scenarios to suggest preventive plans for four tentative situations based on spatial and rainfall considerations. The results of this study benefit farmers to be aware of the outbreak in the same cluster and the relevant agencies to manage and prevent the spread of the diseases effectively.References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ปศุสัตว์ ย้ำป้องไข้หวัดนกกลายพันธุ์รุนแรงขั้นสูงลาม 30 ประเทศ. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/991806.
พชรมน ทองเฟื่อง สถิตย์พงษ์ พรหมสถิตย์ ธีราภรณ์ พรหมภักดี และ อาภาพร บุญสุวรรณ. (2564). การวิเคราะห์พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อการควบคุมป้องกันโรคด้วยวิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา:จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เอกสารวิชาการ). ส. 1. เลขทะเบียนวิชาการ 63(2)-0116(1)-159. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566, จาก https://region1.dld.go.th/webnew/index.php/th/ news-menu/academic-works-menu/856-abstract-the-evaluation-of-suitable-area-for-poultry-farming-2.
สุวรรณี กาญจนภูสิต. (2563). กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรฯเตือนเกษตรกรและผู้เลี้ยงสัตว์เฝ้าระวังโรคในสัตว์หน้าฝน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://dld.go.th/th/index.php/en/newsflash/ banner-news/37-news/leader-news-2560/22281-head-25630710-2
_______. (2561). กรมปศุสัตว์เตือนเกษตรกรระวังโรคระบาดสัตว์หน้าฝน. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566, จาก https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/bookkrut-menu/16252-livestock-25610605-1.
Bruhn, M.; Cajka, J.; Smith, G.; Curry, R.; Dunipace, S.; Wheaton, W.; Cooley, P.; & Wagener, D. (2007). Generating Realistic Livestock and Poultry Operations to Support Development of Infectious Disease Control Strategies. Proceedings of the ESRI Health GIS Conference, October 7-10, 2007, Scottsdale AZ. 1-13.
Bruhn, M.; Munoz, B.; Cajka, J.; Smith, G.; Curry, R.; Wagener, D.; & Wheaton, W. (2012). Synthesized Population Databases: A Geospatial Database of US Poultry Farms. Methods Rep RTI Press. Mr-0023-1201: 1-24.
ESRI. (2014). ArcGIS Desktop Program: Release 10.2. Retrieved on June 20, 2023, from https://support.esri.com/en-us/ patches-updates/2019/arcgis-10-2-1-for-desktop-engine-server-utilities-and-t-7680
Khaleda, S. and Murayama, Y. (2013). Geographic Concentration and Development Potential of Poultry Microenterprises and Value Chain: A Study Based on Suitable Sites in Gazipur, Bangladesh. Social Sciences. 2(3): 147-167.
Peng, L.; Chen, W.; Li, M.; Bai, Y.; & Pan, Y. (2014). GIS-based Study of the Spatial Distribution Suitability of Livestock and Poultry Farming: The Case of Putian, Fujian, China. Computers and Electronics in Agriculture. 108: 183-190.
Torzkrub. (2017). จับตา!! “อาชีพเลี้ยงไก่” ตลาดโตทุกปีสร้าง “เศรษฐี” ใหม่ได้ตลอด. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566, จากhttps://www.kasetkaoklai.com/home/2017/10/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b