ทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครู ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Self-Regulated Skills in Online Learning during the Covid-19 Pandemic for Pre-Service Teachers

Authors

  • ศุภณัฐ พานา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ทักษะการกำกับตนเอง, การเรียนการสอนออนไลน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูสาขาสังคมศึกษา ในภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิเคราะห์ทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนในภาวะดังกล่าว โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีระยะเวลาการเก็บข้อมูล 4 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะการกำกับตนเองในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูในภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้มาจากการเปิดรับอาสาสมัคร จำนวน 112 คน แบ่งเป็น นิสิตหญิง 71 คน นิสิตชาย 41 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนออนไลน์ของนิสิตครูในภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัวของตน ซึ่งเป็นบ้านพักของตนเองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยแอปพลิเคชันที่คณาจารย์เลือกใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นอันดับแรก ได้แก่  Zoom Cloud Meetings และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และวิธีการสอนแบบอภิปรายเดี่ยวและอภิปรายกลุ่มย่อย ตามลำดับ และ (2) กลุ่มเป้าหมายประเมินว่าตนเองมีทักษะการกำกับตนเองค่อนข้างมาก ในองค์ประกอบที่ 1 การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้  องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถในการบริหารการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง องค์ประกอบที่ 5 ความรักในการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 6 ความคิดสร้างสรรค์ และ องค์ประกอบที่ 7 การมองอนาคตในแง่ดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ในระดับ 5 ส่วนองค์ประกอบที่ 3 ความริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ และ องค์ประกอบที่ 8 ทักษะสืบค้นและทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายประเมินว่าตนเองมีทักษะการกำกับตนเองระดับปานกลาง กล่าวคือ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ในระดับ 4 This exploratory research aims to study the condition of online learning during the COVID-19 pandemic among social studies pre-service teachers and to analyze self-regulated skills in teaching and learning under such conditions. The data collection period was 4 months. Data were collected by using the self-assessment form on self-regulated skills in online learning of pre-service teachers during the COVID-19 pandemic. The target group is pre-service teachers of Social Studies, freshmen to seniors, at Srinakharinwirot University. The sample consisted of 112 volunteers, 71 female, and 41 male pre-service teachers. The results of the research is as follow: 1) the environment in online teaching and learning of pre-service teachers during the COVID-19 pandemic, most of the pre-service teachers lived with their families in their own home in Bangkok and surrounding areas. The application that lecturers choose to use to manage online teaching for their pre-service teachers first was Zoom Cloud Meetings and most of them use lecture, group processes, and single discussion and small group discussion respectively. and 2) Pre-service teachers assessed that they had relatively high self-regulated skills in component 1: the opportunity for learning, component 2:  ability to manage learning management, component 4: responsibility for own learning, component 5: passion of learning, component 6: creativity and component 7:  optimistic. The arithmetic mean is at 5. Component 3: initiative and independent learning and component 8: search skills and problem-solving skills the pre-service teachers assessed that they had moderate self-regulated skills, their arithmetic mean were at level 4.

References

คะนึง บัวพูล. (2563). Zoom ทางเลือกการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://clib.psu. ac.th/km/zoo

มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564, จาก www.kenan-asia.org

วรัท พฤกษากุลนันท์. (2550). การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction). สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.kroobannok.com/133

วิชุดา รัตนเพียร. (2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์. 27(3): 29-35.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล พินดา วราสุนันท์ กุลธิดา นุกูลธรรม กิติศาอร เหล่าเหมณี สินีนุช สุวรรณาภิชาติ และ สุมิตร สุวรรณ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(1): 44-61.

วินิจ ผาเจริญ ภัทรชัย อุทาพันธ์ กรวิทย์ เกาะกลาง และ สุรชัย พุดชู. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด-19. วารสารปัญญาปณิธาน. 6(1): 1-14.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2542). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน. 4(11): 73-79.

สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน. (2526). จิตวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ใหญ่. เชียงใหม่: ลานการพิมพ์.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2): 203–214.

สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (2558). การออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสาวคนธ์ วงศ์ศุภชัยนิมิต. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้ใหญ่. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบ). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Albelvisi I & Yusob. (2019). Factors Influencing Learners’ Self-Regulated Learning Skills in a Massive Open Online Course (MOOC) Environment. Turkish Online Journal of Distance Education-TOJDE. 20(3): 1-16.

Brookfield, Stephen. D. (1984). Self-Directed Adult Learning: A Critical Paradigm. Adult Education Quarterly. 35(2): 59-71.

Griffin. (1983). Curriculum Theory in Adult Lifelong Education. London: Croom Helm.

Hardy, L & Hutchinson, A. (2007). Effects of Performance Anxiety on Effort and Performance in Rock Climbing: A Test of Processing Efficiency Theory. Anxiety, Stress, and Coping. 20(2): 147-61.

Knowles, Malcolm S. (1975). Self – Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago: Association Press.

Sung, Yao-Ting; Chang, Kuo EN; & Liu, Tzu-Chien. (2016). The Effects of Integrating Mobile Devices with Teaching and Learning on Students’ Learning Performance: A Meta-Analysis and Research Synthesis. Computers & Education. 94: 252-275.

Tami, I. & Minseok, K. (2019). Structural Relationships of Factors Which Impact on Learner Achievement in Online Learning Environment. International Review of Research in Open and Distributed Learning. 20(1): 111-124.

Tough, Allen. (1979). The Adult’s Learning Projects: A Fresh Approach to Theory and Practice in Adult Learning. 2nd ed. Toronto: Ontario Institute for studies in Adult Education.

Skager, Rodney W. (1978). Lift Long Education Practice. Hamburg: UNESCO Institute for Education.

Downloads

Published

2024-06-29