การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

Action Research to Development Learning Achievement of Geographical tools in Graphic Organizers Technique of Learning Social Studies Education for Ninth Grade Student

Authors

  • นวพรรษ ศุภวรางกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุษณี ลลิตผสาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคผังกราฟิก , พัฒนาผลสัมฤทธิ์ , วิชาสังคมศึกษา

Abstract

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก ประชากรเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปากเกร็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน ซึ่งเรียนวิชาสังคมศึกษา ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวม 6 คาบ (50นาที) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ จำนวน 6 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพันธ์ โดยผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนพัฒนาการสัมพันธ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 97.06

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

__________. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลัญญู เพชราภรณ์. (2562). เอกสารประกอบการสอน วิชาจิตวิทยาครูสำหรับการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ บทที่ 2 จิตวิทยาพัฒนาการตามช่วงวัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก http://www.eledu.ssru.ac.th/kalanyoo_pe/file.php/4/_2_.pdf

กวี วรกวิน และคณะ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชนุช รัตนสาร. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบ 4MAT กับการสอนแบบเทคนิคผังกราฟิก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

วิทวัส อินทมานนท์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยผังกราฟิกกับการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคท. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สุรางค์ โค้วตระกูล. 2553. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____________. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์รั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังชณีภรณ์ ศรีคำสุข. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

Downloads

Published

2022-11-09