ชีวิตเปื้อนฝุ่นของคนขอทานในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม The Dust Life of Beggars in Ho Chi Minh City, Vietnam Authors อมร หวังอัครางกูร และ พิสิฐ นิลเอก Amorn Wangukkarangkul and Bhisit Nil-ake Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิถีการดำรงชีวิตและการทำงานหาเลี้ยงชีพของคนขอทานในนครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาขอทานตามนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานรัฐบาลเวียดนาม จากการศึกษาพบว่า คนขอทานในนครโฮจิมินห์มีทั้งที่เป็นคนสัญชาติเวียดนามและที่เป็นคนต่างชาติหลบหนีเข้าเมืองมาเพื่อทำงานหารายได้เลี้ยงชีพ อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้ยังพบขอทานที่เป็นทารกแรกเกิดที่พ่อแม่พามาร่วมขอทาน ขอทานวัยชราที่หาเลี้ยงชีพตนเองด้วยการเป็นขอทานมาตลอดชีวิตและคนขอทานที่เป็นผู้พิการอีกด้วย พื้นที่ในนครโฮจิมินห์ที่พบคนขอทานส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีผู้คนสัญจรไปมาตลอดทั้งวัน การหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยการเป็นขอทานจึงไม่เพียงแต่เป็นการขอแบ่งปันส่วนน้ำใจเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด แต่เป็นอาชีพที่กลุ่มคนขอทานเหล่านี้ยึดถือในการดำรงชีวิต เพราะเป็นงานที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีรายได้ตอบแทนที่ดีกว่างานประจำหลายงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการประสานการทำงานเชิงบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐของเวียดนามร่วมกับหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในการผลักดันให้เกิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนขอทาน จัดระเบียบคนขอทานเร่ร่อน จัดให้มีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับประเทศต้นทางในการควบคุมดูแลการเดินทางย้ายถิ่นข้ามแดน เพื่อป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์เป็นผลกระทบสืบต่อมา ใช้กลไกความร่วมมือของอาเซียนยกระดับการแก้ไขปัญหาให้เป็นวาระแห่งภูมิภาคที่ต้องบรรลุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพลเมืองอาเซียน ตลอดจนขจัดความยากจนโดยภาครัฐควรเร่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการพัฒนาที่ไม่ได้สัดส่วนด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยในการดำรงชีวิต โอกาสในการได้รับการศึกษาอันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีอาชีพการงานที่มั่นคงคำสำคัญ: คนขอทาน การดำรงชีวิต ความเหลื่อมล้ำ นครโฮจิมินห์ Downloads PDF Issue Vol. 22 No. 1 (2562): วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - ธันวาคม 2562) Section บทความวิจัย