ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนไทย Factors Affecting the Quality of Thai Private University Instructors Authors จริมจิต เกิดบ้านชัน และ พิศมัย จารุจิตติ Charimchit Kerdbanchan and Pisamai Jarujittipant Abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยไทยด้านงานวิจัย ผลงานวิชาการ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดและอายุมหาวิทยาลัยเอกชนไทยกับคุณภาพอาจารย์ และปัจจัยระบบและกลไกในการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยที่ส่งผลต่อคุณภาพอาจารย์ด้านงานวิจัย ผลงานวิชาการ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือมหาวิทยาลัยเอกชนที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 43 สถาบัน เก็บรวมรวมข้อมูลจากผลการประกันคุณภาพภายในสถาบันด้านระบบและกลไกในการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)ผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมด 43 สถาบัน เป็นสถาบันขนาดใหญ่จำนวน 7 สถาบัน ขนาดกลางจำนวน 13 สถาบัน และขนาดเล็กจำนวน 23 สถาบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาก่อตั้งได้แก่ อายุ 1-15 ปี จำนวน 10 สถาบัน อายุ 16-30 ปี จำนวน21 สถาบัน และอายุมากกว่า 30 ปี จำนวน 12 สถาบัน มีผลงานด้านงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ที่มีคุณภาพในระดับพอใช้ งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีคุณภาพในระดับดี ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพอยู่ในระดับดี ในขณะที่คุณภาพด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าขนาดและอายุของสถาบันไม่มีผลต่อระดับคุณภาพอาจารย์ทั้งในด้านงานวิจัย ผลงานวิชาการ คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยระบบและกลไกในการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อต่อคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนไทยโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพบว่าเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจํานวนอาจารย์ ส่งผลต่อคุณภาพอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05คำสำคัญ: คุณภาพอาจารย์ การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน Downloads PDF Issue Vol. 22 No. 1 (2562): วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - ธันวาคม 2562) Section บทความวิจัย