การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อําาเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • กิตติพันธุ์ ประสิทธิ์ Kittiphan Prasit

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและ กำหนดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จำนวน 5 คน กลุ่มชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี จำนวน 59 คน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จำนวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่น ใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการร่วมกันปฏิบัติตามแผน ร่วมบำรุงรักษา และร่วมด้านร่วมกันวางแผน มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด รองลงมาคือ ร่วมติดตามและประเมินผล และร่วมกันใช้ประโยชน์ ตามลำดับ และระดับความคิดเห็นในการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในส่วนของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านกิจกรรมต่างๆด้านการท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านที่พัก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีระดับความคิดเห็นดีมาก รองลงมาคือ ด้านองค์ประกอบของการบริการและด้านคมนาคม ตามลำดับ ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่พัก ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านคมนาคม ด้านองค์ประกอบของการบริการและด้านกิจกรรมต่างๆด้านการท่องเที่ยว มีระดับความคิดเห็นดีมาก และพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการกำหนดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์คือ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีคำสำคัญ : การจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, การมีส่วนร่วม

Downloads