คุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธของนักศึกษา CHARACTERISTIC THAT SUPPORT THE LEARNING ACCORDING TO BUDDHIST WAY OF STUDENTS
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธของนักศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธของนักศึกษา 3) พัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธของนักศึกษา 4) ประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกอบรมและ 5) หาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมวิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ1) ศึกษาคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านหลักธรรมที่เสริมสร้างคุณลักษณะเกี่ยวกับวิถีพุทธ จำนวน 7 คน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่ากับนักศึกษา จำนวน 341 คน 3) พัฒนาชุดฝึกอบรม โดยการสร้างชุดฝึกอบรมแล้วดำเนินการฝึกอบรมกับนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน 4) ศึกษาความเหมาะสมของชุดฝึก อบรม โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ และการทดสอบที (t-test) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปผลการศึกษาพบว่า 1. นักศึกษาควรมีคุณลักษณะตามหลักไตรสิกขาจึงเอื้อต่อการเรียนรู้วิถีพุทธ 2. ปัจจัยด้านระเบียบวินัย ปัจจัยด้านการปรับทัศนคติ ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านการช่วยเหลือสังคม ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายในชีวิต และปัจจัยด้านการพัฒนาตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้วิถีพุทธ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรม 4. ทุกกิจกรรมในชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสม 5. ชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามวิถีพุทธมีประสิทธิภาพที่ 98.02/90.30 มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คำสำคัญ: คุณลักษณะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตาม วิถีพุทธของนักศึกษา Abstract The purpose of this research were: 1) to study the characteristics that support the learning according to the Buddhist way of students , 2) to study the factors related to the characteristics that support the learning according to the Buddhist way of students , 3) to develop the training package for enhancing characteristics that support the learning according to the Buddhist way of students , 4) to evaluate the suitability of training package, 5 ) to investigate the efficiency of training package. The study as the form of research and development had been divided into four steps; 1) study characteristics that support the learning according to the Buddhist way by studying documents and related researches and structured-selection interview to 7 experts regarding Buddhist principles that support the characteristics of Buddhist way, 2) study the factors related to the characteristics that support the learning according to the Buddhist way by using rating scale questionnaires toward 341 students , 3) develop the training package by building the training package and train 45 of sample students, 4) study the suitability of the training package by structured selection interview toward 5 experts. The statistics used to analyze the data were Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation: S.D, Correlation Analysis, and T-Test by SPSS program. Research results were found as follows; 1) Students should have the characteristics in accordance with the threefold studies (Trisikkha) that could support the learning of Buddhist way. 2) The factor of discipline, attitude adjustment, knowledge, helping society, setting goal of life and self-development have a positive relation with the characteristics that support toward the learning of Buddhist way significantly in statistics at the level. 05. 3) Students has point average mean after training higher than before training. 4) Every activity in training package was suitable. 5) The training package for enhancing characteristics that support the learning according to the Buddhist way was found efficiently at 98.02/90.30 more than specified standard. Key words: Characteristics that support the learning, Buddhist wayDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-06-26
Issue
Section
Articles