รูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRATION MODEL FOR PRIVATE SCHOOLS UNDEROFFICE OF THE PRIVATE EDUCATION COMMISSION
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน พิจารณาความถูกต้อง ความสอดคล้องและเหมาะสมของร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย 2 รอบ และนำกลับมาวิเคราะห์คำตอบของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเอกชน สอบถามความคิดเห็นกับผู้บริหารสถานศึกษา 10 คน ครูผู้สอนในสถานศึกษา 10 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ 2.การนิเทศภายในสถานศึกษา 3. การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ 4. การจัดบรรยากาศทางวิชาการโดยแต่ละด้านมีหัวข้อย่อยเกี่ยวกับการบริหารตามหลักการของ POIC ซึ่งได้แก่ P (Planning) การวางแผน O (Organizing) การจัดองค์การ I (Influencing) การใช้อิทธิพล และ C (Controlling) การควบคุม รวมหัวข้อย่อยในแต่ละด้าน ดังนี้ 1. ด้านการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้มี 23 ข้อ 2. ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษามี 25 ข้อ 3. ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามี 23 ข้อ และ 4. ด้านการจัดบรรยากาศทางวิชาการมี 21 ข้อ ผลจากการพิจารณาความถูกต้อง ความสอดคล้องและเหมาะสมของร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาฯ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 2 รอบ และนำกลับมาวิเคราะห์คำตอบของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ พบว่าผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันถึงความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมของระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ Abstract The purposes of the research on academic affairs administration model for private schools under Office of the Private Education Commission were to develop an academic affairs administration model for private schools under Office of the Private Education Commission, and determine the feasibility of the academic affairs administration model for the private schools under Office of the Private Education Commission. The research was conducted in four steps. Step 1: Studying related research documents and interviewing 5 experts. Step 2: Creating academic affairs administration model for private schools under Office of the Private Education Commission. Step 3: Developing academic affairs administration model for private schools under Office of the Private Education Commission. In this step the researcher conducted 2-round-Delphi study, asking 20 experts to consider the accuracy, consistency and appropriateness of the academic affairs administration model. The experts’ responses were analyzed by median and interquartile range. Step 4: Studying the feasibility of the academic affairs administration model for private schools in the opinions of 10 school administrators, 10 teachers and 10 school committees. The research results revealed that the academic affairs administration model for the schools under Office of the Private Education Commission consists of 4 aspects: 1. Instructional management and learning process, 2. Internal school supervision, 3. Development of innovative media and technology for education, and 4. Academic climate arrangement; the individual aspects have sub-topics/items following POIC administrative principles (P Planning) (O Organizing) (I Influencing) and (C Controlling). Accordingly as follows: 1. Instructional management and learning process has 23 items; 2. Internal school supervision has 25 items; 3. Development of innovative media and technology for education has 23 items, and 4. Academic climate arrangement has 21 items. The analysis results of the 2-round-Delphi study on the accuracy, consistency and appropriateness of the academic affairs administration model in terms of median and interquartile range revealed the 20 experts having consensus on the appropriateness of the academic affairs administration model. The analysis results of thefeasibility of the academic affairs administration model for private schools in terms of mean and standard deviation revealed that the feasibility level as a whole is at the highest level. When considered individual aspects they also are at the highest level; ranking in descending order of means: Development of innovative media and technology for education, Academic climate arrangement, Internal school supervision, and Instructional management and learning process.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-06-26
Issue
Section
Articles