คุณลักษณะทางชีวสังคมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร BIOSOCIAL AND ENVIRONMENTAL CHARACTERISTICS OF SCHOOL AFFECTING ETHICAL LEADERSHIP ACCORDING TO BUDDHIST PRINCIPLES O
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องคุณลักษณะทางชีวสังคมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามคุณลักษณะทางชีวสังคม ได้แก่ 1. เพศ 2. ระดับการศึกษา และ 3. ประสบการณ์การทำงาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และศึกษาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 ทั้งหมด 364 คน จากโรงเรียน 91 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Multiple Correlation Coefficient) และสัมประสิทธิ์สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 และอิทธิบาท 4 ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม ระดับการศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พรหมวิหาร 4 และอิทธิบาท 4 แตกต่างกัน แต่ด้านสังคหวัตถุ 4 ไม่พบความแตกต่าง ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้านภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ด้านอาคารสถานที่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการพยากรณ์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมของโรงเรียนส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 33 คำสำคัญ : สภาพแวดล้อมของโรงเรียน, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาสังกัดกรุงเทพมานคร Abstract Biosocial and Environmental Characteristics of School affecting Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan aimed to study Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan, to compare Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan classified by biosocial characteristics such as 1. Sex 2. Education level and 3. Working experience,study the relationship between school environment and Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan and study environment affecting Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan, and. The sample group consisted of 364 teachers, year 2014 from 91 schools in the Northern Krungthon School Grouping under Bangkok Metropolitan Administration. The instruments used for data collection 5 point-rating scale questionnaires. The data analysis was done by mean and standard deviation. The test of hypothesis was done by using t-test, One-Way ANOVA, Multiple Correlation Coefficient and Multiple Regression Coefficient. The research results revealed as follows; Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan as a whole was at a highest level. When considering each individual aspect was also at a highest level by ranking from the highest to the lowest mean as follows; four bases of sympathy, four sublime states of mind and the four bases of accomplishment respectively. The result on the comparison of Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan classified by sex, found that different sex of school administrators as a whole and each individual aspect revealed no difference on performance in accordance with Buddhist Principles. The result on the comparison of Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan classified by education level, found that different education level of school administrators as a whole was statistically significant difference at .05 level. When considering each individual aspect found that the aspect of four sublime states of mind and the four bases of accomplishment were statistically significant difference at .05 level while the aspect of four bases of sympathy revealed no difference. The result on the comparison of Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators under Bangkok Metropolitan classified by working experience, found that different working experience of school administrators as a whole and each individual aspect revealed no difference on performance in accordance with Buddhist Principles. The study results on the relationship between school environment and Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators found that the aspect of landscape, building, social and culture and technology had statistical relationship with Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators at .01 level. The result on prediction of school environment effecting Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators found that there was significant at the .05 level for school environment effecting Ethical Leadership according to Buddhist Principles of School Administrators. The power of prediction was 33 percent. Keywords : Environmental of School, Leadership according to Buddhist, Administrators under BangkokDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-06-26
Issue
Section
Articles