การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร TOTAL QUALITY MANAGEMENT MODEL DEVELOPMENT OF OFFICE OF THE WELFAIR PROMOTION COMMISSION FOR TEACHERS AND EDUCATIONPERSONNEL
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อประเมินความเป็นได้ของรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ตอนที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา CVI (Content Validity Index) ตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group)โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และตอนที่ 4 ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการประชุมสัมมนาและแจกแบบสอบถามกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่1) ด้านภาวะผู้นำ 2) ด้านการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 4) ด้านการเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม 6) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 7) ด้านการเพิ่มพลังอำนาจในการทำงานโดยมีรายละเอียดทั้งหมด100 ข้อ จำแนกในแต่ละด้านดังนี้ 1) ด้านภาวะผู้นำ 14 ข้อ 2) ด้านการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 12 ข้อ 3)ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 15 ข้อ 4) ด้านการเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ 15 ข้อ 5)ด้านการทำงานเป็นทีม 14 ข้อ 6) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 15 ข้อ และ 7) ด้านการเพิ่มพลังอำนาจในการทำงาน 15 ข้อ ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นสอดคล้องกันถึงความเป็นไปได้ของรูปแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถาม พบว่ารูปแบบการจัดการคุณภาพโดยรวมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมของระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการเพิ่มพลังอำนาจในการทำงาน ด้านการเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ด้านการวางแผนกลยุทธ์ และ ด้านการทำงานเป็นทีม คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบและการจัดการคุณภาพโดยรวม Abstract The purposes of this research were to develop Total Quality Management Model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel; and to assessthe feasibilityoftotal quality management model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel. Research methods were divided into 4 steps : Step 1: Create total quality management model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel by analyzed related researchdocumentsand interviewswith 10experts. Step 2 :Determine thecontent validity of total quality management model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel by provided to 5 experts to examine CVI (Content Validity Index). Step 3: Model development by examiningthe suitability of total qualitymanagement model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel by Focus Group with 10 experts. Step 4: Assessthe feasibilityoftotal quality management model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel by arranged seminar and sent questionnaire to 50 administrators and officers of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel. The research results found that Total Quality Management Model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel consisted of 7 aspects as follows: 1) Leadership, 2) Continuous Quality Improvement, 3) Human Resource Management, 4) Customer Service Focus, 5) Teamwork, 6) Strategic Planning, and 7) Empowerment. The aspects consisted of 100 items as follows. 1) Leadership 14 items, 2) Continuous Quality Improvement 12 items, 3) Human Resource Management 15 items, 4) Customer Service Focus 15 items, 5) Teamwork 14 items, 6) Strategic Planning 15 items, and 7) Empowerment 15 items. The results of the feasibility assessment of the Total Quality Management Model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel found that the administrators and officers of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel mutually agreed upon the feasibility of the application of the model in the administration of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel; so to gain benefits for the organization, teachers and educational personnel. The results from the questionnaire revealed that Total Quality Management Model of Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel had an overall mean of the feasibility at the high level. When considering individual aspects, they were also at the high level. They were arranged in descending order of means as follows: Leadership, Empowerment, Customer Service Focus, Human Resource Management, Continuous Quality Improvement, Strategic Planning, and Teamwork. Keywords : Model develop , Total Quality Management ModelDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-06-26
Issue
Section
Articles