การวิเคราะห์องค์ประกอบ สุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 3 THE FACTOR ANALYSIS OF ORGANIZATIONAL HEALTH OF SCHOOLS IN THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 3

Authors

  • ธนัตติยา จาตุรนต์

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาตัวบ่งชี้และกำหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3เพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 และ ศึกษาระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำนวน 403 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .06 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.271 – 0.835 และค่าความเชื่อมั่นอยู่เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ 1. การศึกษาและกำหนดองค์ประกอบของสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3  สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สุขภาพองค์การ ได้เป็น 8 องค์ประกอบ 55 ตัวบ่งชี้ คือองค์ประกอบที่ 1 ด้านการให้ความสำคัญต่อการเป็นวิชาการ 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการเคารพต่อกฎระเบียบภายในองค์กร 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการใส่ใจต่อผู้ร่วมงาน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการมีวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้ 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ด้านภาวะผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ 6 ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบที่ 7 ด้านการปรับตัวตามความคาดหวังของชุมชน 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 8 ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน 3 ตัวบ่งชี้ 2. การศึกษาระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 พบว่า สุขภาพองค์การสมบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน รองลงมาคือด้านการเคารพต่อกฎระเบียบภายในองค์กรด้านการเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานด้านการใส่ใจต่อผู้ร่วมงานด้านการให้ความสำคัญต่อการเป็นวิชาการด้านภาวะผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ด้านการปรับตัวตามความคาดหวังของชุมชนด้านความรู้สึกดีต่องาน และด้านการมีวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้ตามลำดับ   คำสำคัญ: สุขภาพองค์การ, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   Abstract The purposes of this exploratory research were 1)to study the indicators and determine the organizational health factors 2) toexaminethe indicators quality oforganizational health and 3) to measure the organizational health level of schools in the secondary education service area office 3.  A samples of 403 teachers were drown from basic education under the secondary educational service area office 3, using Multistage Random Sampling method. A Likert-type rating scale questionnaire was used in collecting data of Cronbach alpha of .977 respectively. Percentage, Mean, Standard Deviation, Simple correlation analysis, and Exploratory Factor Analysis were used for data analysis. The research findings were as follows. 1. The study indicators and determine the factor oforganizational health of schools in the secondary education service area office 3 ,it could be divided into 8 factors of 55 indicators.Factor 1:Academic Emphasis;10 indicatorsFactor 2:Morale 10 indicators;10 indicatorsFactor 3:Initiating Structure;8 indicatorsFactor 4:Consideration;7 indicators  Factor:Resource Support;6 indicatorsFactor 6:Principal Influence;6 indicators Factor 7:Orientation Institutional;5 indicatorsFactor 8:Community Relationship;3 indicators 2. The organizational health level of schools in the secondary education service area office 3 was at the high level as a whole. Moreover, in considering each individual aspect, it was found that all aspects were also at the high level. The aspects with the highest average score in Community Relationship, Initiating Structureas the second, and followed by Morale, Consideration, Academic Emphasis, Principal Influence, Orientation Institutional,  Performance Saticfaction, and Resource Support Keyword: organizational health, factor analysis, Basic Education

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26