การพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • นายประจักร์ เข็มใคร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้าง      ตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนา ขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมีสี่ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรก การกำหนดกรอบแนวคิด   การวิจัยและร่างตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สอง การพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ ระยะที่สาม การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 420 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่สี่ การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย  6  องค์ประกอบหลัก  28  องค์ประกอบย่อย 144  ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น สมรรถนะของผู้บริหาร 39 ตัวบ่งชี้ คุณธรรมนำชีวิตของผู้บริหาร  24  ตัวบ่งชี้ จิตลักษณะของคนดีของผู้บริหาร  20  ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 25  ตัวบ่งชี้ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 20  ตัวบ่งชี้ และคุณลักษณะของผู้บริหาร 16 ตัวบ่งชี้โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ABSTRACT The purposes of this study were to develop indicators of administration trust in the northeastern school under the office of the basic education commission and to test goodness of fit between the developed structural equation model (SEM)  indicators of Administration Trust and the  empirical data. The study was conducted into four phases: phase 1- establishment of conceptual framework in research and doing a draft indicators of Administration Trust in the Northeastern School under the Office of the Basic Education Commission through synthesis of documents and research, and interviews with experts; phase 2- development indicators of administration trust in the northeastern school under the office of the basic education commission through the Modified Delphi Technique with 3-time revisions; phase 3 - test of goodness of fit between the SEM indicators of administration trust and the  empirical data. The data were collected from a sample in 420 administrator by means of a 5-rating scale questionnaire. Data analysis was done using a statistical package through which confirmatory factor analysis (CFA) was conducted; and phase 4 – production of a manual for the indicators application. The results were expected The  indicators of administration trust in the northeastern school under the office of the basic education commission consisted of 6 main element. 28 sub-elements and 144 indicators which were divided into 39 indicators of Competency, 24 indicators of virtue, 20 indicators of psychological characteristics, 20 indicators of  situation, 16 indicators of the features. SEM of Administration Trust in the Northeastern School under the office of the basic education commission has goodness of fit with the empirical data

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-25