กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง STRATEGIES FOR DEVELOP COMPETENCY ACTIVE LEARNING OF ELEMENTARY TEACHERS ON HIGHLAND
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากการศึกษาเอกสารและการสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจำนวน 5 คน แล้วนำมากำหนดเป็นตัวแปรในแบบสอบถามเพื่อใช้สอบถามผู้บริหารและครูวิชาการโรงเรียนในพื้นที่สูง จำนวน 301 โรงเรียน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ( Confirmatory Factor Analysis ) ของตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แล้วนำตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่สูงจำนวน 301 โรงเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้ไปเป็นฐานในการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion ) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารและครูวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกจากเขตพื้นที่ละ 1 โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียนในพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนเขตพื้นที่ละ 1 คน รวม 18 คน และกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีโรงเรียนในพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 15 คนเป็นผู้ตรวจสอบ กลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้วัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ หลัก 49 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.66) เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่าสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาต่ำสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ วิจารณ์ ( = 2.46) สมรรถนะที่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูงมีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติมากกว่าการบรรยายความรู้ ( = 4.31) (3) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง ประกอบไปด้วย (3.1) สร้างความรู้ ทักษะ ความตระหนักและ เจตคติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3.2) พัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาตามตัวชี้วัด (3.3) เสริมสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3.4) ยกระดับสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา คำสำคัญ: กลยุทธ์ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนในพื้นที่สูง Abstract This research objective for (1) to study indicators competency active learning of elementary teachers (2) to study competency active learning of elementary teachers on highland ,Office Of The Basic Education Commission (3) to create strategies for develop competency active learning of elementary teachers on highland, Office Of The Basic Education Commission . By learning indicators of competency active learning from document and queries from scholars with expertise in learning management proactively with 5 people and then be assigned to a variable in the questionnaire use for question director and academic teachers 301 schools for need to analyze the confirmatory factor analysis of indicators competency active learning and then the performance indicator for knowledge management example group are director and academic teachers on highland 301 schools and analyze the data to find the average, And standard deviation. Upon information and bring information to build development strategies for develop competency active learning of elementary teachers on highland, using Focus Group Discussion by a group to be composed of director and academic teacher of school on highland in Chiang Mai province. Selected from Education Service Area Office each 1 school , the educational supervisors to take responsibility of on highland in Chiang Mai. Education Service Area Office 1 and evaluate strategies by the director of the Education Service Area Office , with local high school in the northern upper 15's to monitor the strategy. conclusion : (1) indicators competency active learning of elementary teachers of primary to be composed 4 factors and 49 sub factors. Factors are (1) to design and plan a proactive learning (2) learning activities proactively. (3) the use of media technology in learning management proactively. (4) the evaluation of competency active learning . (2) competency active learning of elementary teachers on highland are moderate level ( = 3.66), The lowest of competency active learning of elementary teachers on highland that earning activities that allow the students to critical analysis ( = 2.46) The highest average competency active learning of elementary teachers on highland that include activities that allow students to practice rather than lectures ( = 4.31). (3) Strategies for development competency Active Learning of Elementary teachers On Highland, comprising (1) the knowledge, skills, awareness and good attitude to competency active learning (2) development competency active learning of elementary teachers education indicators (3) confidence in competency active learning (4) elevates performance in competency Active learning of elementary teachers in primary. Keywords: Strategy, Performance Management, Learning, Proactive, Proactive learning, Schools on HighlandDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-04-11
Issue
Section
Articles