รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการของครู A DEVELOPMENT MODEL OF THE TEACHERS’ ENPOWERMENT
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนา และยืนยันรูปแบบ การเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการ ของครู โดยใช้วิธีการวิจัยแบบพหุวิธี (Multiple Methodologies) ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การศึกษารายกรณี การใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง (Modified Delphi Technique) จำนวน 3 รอบ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โรงเรียนดีเด่น จำนวน 2 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 และเขต 2 จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 446 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามแบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และแบบเติมคำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู ประกอบด้วย การสร้างวินัยตนเอง การสร้างแรงจูงใจด้านภาวะผู้นำ การแสวงหาความรู้และสารสนเทศ และให้อำนาจในการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ อีกทั้งผลจากการยืนยันรูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการของครู พบว่ารูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในภาวะผู้นำทางวิชาการของครู โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คำสำคัญ : การเสริมสร้างพลังอำนาจ ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ABSTRACT This study aimed to investigate the components of development and confirm the model of the empowerment in the teachers' s academic affairs leadership using Multiple Methodologies including document analysis and research review, interviews of scholars, case studies, a 3-spiral modified Delphi Technique as well as a survey research. The target group consisted of 8 scholars, 20 experts through purposive sampling technique which 2 outstanding schools were selected. The sample consisted of 446 school administrators and teachers in the schools under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 and 2 in the academic year 2012 using multi-stage random sampling. The research instruments for data collection were content analysis, structured interviews, rating scale questionnaires, a checklist and a completion test. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, norms and inter quartile rank. The study results revealed that components of the teachers empowerment were comprised of Self-discipline, leadership motivation, pursuit of knowledge and information, and empowered to participate in decision making. The results of confirm the model of the empowerment in the teachers academic affairs leadership found that development model of the teachers empowerment in academic affairs leadership as a whole was at the highest level. When considering each individual aspect also revealed at the highest level. Keywords: Empowerment, Academic affairs leadershipDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-04-08
Issue
Section
Articles