การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด DEVELOPMENT OF A MODEL FOR ADMINISTRATION OF SCHOOL UNDER THE PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4) ตรวจสอบรูปแบบและทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้วิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากรอบแนวคิดและร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณา และเดลฟาย (Ethnographic Delphi Futures Research : EDFR) และระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบและทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน และน้อย 4 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากน้อยไปมาก คือ ด้านผู้บริหารโรงเรียน ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารวิชาการ และด้านนักเรียน ปัญหาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ด้านผู้บริหารโรงเรียน ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารวิชาการ และด้านนักเรียน ส่วนความต้องการในการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านผู้บริหารโรงเรียน ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านนักเรียน ด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป 2. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย การบริหารโรงเรียนเชิงกลยุทธ์ มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมโรงเรียน 2. การกำหนดวิสัยทัศน์ 3. การกำหนดพันธกิจ 4. การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 5. การกำหนดเป้าประสงค์ 6. การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ 7. การกำหนดกลยุทธ์โรงเรียน 8. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และ 9. การประเมินและการควบคุมกลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนเชิงประสิทธิผล มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2. โครงสร้างขององค์กร 3. การประกันคุณภาพการศึกษา 4. ธรรมาภิบาล 5. การพัฒนาบุคลากรและ 6. บรรยากาศองค์กร ขอบข่ายและภารกิจการบริหารสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การบริหารงานวิชาการ 2. การบริหารงบประมาณ 3. การบริหารงานบุคคล และ 4.การบริหารทั่วไป 3. รูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นแบบจำลองที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเชิงกลยุทธ์ และการบริหารโรงเรียนเชิงประสิทธิผล ซึ่งส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด และตรงกับความต้องการของชุมชน 4. การตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่าองค์ประกอบทั้งหมดมีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้อง คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโรงเรียน, องค์การบริหารส่วนจังหวัด Abstract The purposes of this research were: 1) to investigate states, problems and needs of administration in schools under the Provincial Administrative Organizations, 2) to examine components of administration in schools under the Provincial Administrative Organizations, 3) to develop a model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations, and 4) to verify the model and produce a manual on how to use the model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations. A mixed methodology of both qualitative and quantitative was employed. The study was conducted into 3 stages: Stage 1 – Developing a conceptual framework and drafting a model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations. Stage 2 – Developing a model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations. and Stage 3 – Verifying the model and producing a manual on how to use the model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations. The findings revealed as follows: 1. The overall state of administration in schools under the Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization was found at the low level. Considering it by each aspect, 2 aspects were found at the medium level and 4 aspects at the low level as placed in ranking order from lower to higher levels like those aspects of school administrators, budget administration, personnel administration, general administration, academic administration, and students. The overall and each aspect of problems and needs of administration in schools under the Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization were at the highest level ranking from higher to lower levels school administrators, budget administration, academic administration, students, personnel administration, and general administration. 2. Administration of schools under the supervision of the Provincial Administrative Organizations comprised 9 components of strategic school administration. They were: 1) analysis of the school environment state, 2) determination of vision, 3) determination of mission, 4) determination of strategic issues, 5) determination of objectives, 6) determination of key performance indicators, 7) determination of school strategies, 8) implementation of the strategies, and 9) assessment and control of the strategies. Effective school administration comprised 6 components. They were: 1) administrator’s leadership, 2) organizational structure, 3) educational quality assurance, 4) good governance, 5) personnel development, and 6) organizational climate. The scope and tasks of school administration comprised 4 components like: 1) academic administration, 2) budget administration, 3) personnel administration, and 4) general management. 3. The model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations was one which shows the relationship between the components of strategic school administration and of effective school administration which result in changes of the aspects of school administration according to the set standard criteria and the needs met by the community. 4. From the verification of the model for administration of schools under the Provincial Administrative Organizations, it was found that all the components are appropriate, feasible, useful and correct. Keywords: Development of a Model, School Administration, The Provincial Administrative Organizations.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-04-08
Issue
Section
Articles