การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน

Authors

  • คณิต สุขรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติต่อภาวะผู้นำคุณภาพและคุณลักษณะภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพในด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำคุณภาพ และคุณลักษณะภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ในการปฏิบัติงานมี 4 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการฝึกอบรม ด้วยการศึกษา และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการนำมาพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ โดยการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ผู้วิจัยสรุปอุปสรรคและปัญหาของผู้บริหารโรงเรียน ได้ดังนี้ 1) มีวิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน 2) ไม่สามารถนำวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ขาดการร่วมกิจกรรมด้านการบริการกับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 4) การบริการล่าช้า ไม่รวดเร็ว 5) ไม่จัดกิจกรรมเสริมแรงจูงใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 6) ข้อมูลการตัดสินใจไม่เพียงพอ 7) ผู้บริหารและครูไม่มีเวลาพบปะพูดคุยสร้างสัมพันธภาพต่อกัน 8) ไม่สนใจเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะให้มีการอบรมผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเพิ่มพูนคุณลักษณะภาวะผู้นำและสามารถบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ดำเนินการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วยการนำผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน มากำหนดเป็นรายละเอียดในโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสม ด้วยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าองค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมมีความสอดคล้องกัน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง CVI มีค่าเท่ากับ .82 ผลการประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตร โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.79 , S.D. = 0.47) และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม จากการทดลองการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนกับกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมและวัดผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พบว่า 3.1 ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบความรู้ ก่อนและหลังการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พบว่าหลังทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีระดับคะแนนสูงกว่า ก่อนทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ค่าเฉลี่ยของเจตคติต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำคุณภาพของผู้เข้ารับการอบรม พบว่าก่อนการอบรมและหลังการอบรมแตกต่างกัน โดยหลังทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีระดับค่าเฉลี่ยทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะภาวะผู้นำคุณภาพ พบว่าก่อนการอบรมและหลังการอบรมแตกต่างกัน โดยหลังทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีระดับค่าเฉลี่ยทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัยประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม เมื่อสิ้นสุดการอบรม โดยนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมฉบับสมบูรณ์ ในด้านโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม และในรายละเอียดที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม ให้มีความถูกต้องเหมาะสมเพื่อนำไปใช้เป็นหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนต่อไป ABSTRACT This study aimed at developing a training curriculum on quality leadership of private school administrators in order to gain knowledge, understandings and attitudes towards quality leadership and quality leadership characteristics. In doing so, they would initiate self-development and develop their schools more efficiently. It also aimed at examining the efficiencies of the training curriculum on quality leadership in the aspects of knowledge, understandings, attitudes towards quality leadership, and quality leadership characteristics of private school administrators. The study was conducted in 4 stages as follows. Stage 1: Studying and collecting fundamental data needed for the development of the training curriculum which would correspond to the problem conditions and current needs. 10 experts were also interviewed. The obstacles and problems of school administrators were indicated as follows: 1) having unclear vision, 2) being unable to bring the identified vision to achieve goals efficiently, 3) lacking participation in service activities with students, parents and community, 4) having slow services, 5) having no activities to enhance staff motivation, 6) having insufficient data for decision-making, 7) administrators and teachers having no time to meet and chat so as to strengthen relations, and 8) lacking interests in current communication technologies. The experts also suggested that there should be training program for school administrators to enhance the quality leadership and be able to manage more successfully. จ Stage 2: Designing and constructing training curriculum. A draft of the detailed training curriculum was formulated based on the results of the fundamental data study. A focus group consisted of 8 experts was arranged to examine and evaluate its concordance and appropriateness. The focus group evaluated that the components of the curriculum were in concordance, having the Content Validity Index (CVI) of .82 The evaluation results found that the components of the quality leadership training curriculum of the private school administrators as a whole was at the high level (X̅ = 3.79 , S.D. = 0.47) of appropriateness whereas its individual components were also at the high level.  Stage 3: Examining the efficiency of the training curriculum. The training curriculum on quality leadership of private school administrators was experimented with a group of trainees and had it evaluated. The results revealed as follows. 3.1 The means of the knowledge test scores before and after the experiment of the training curriculum program on the quality leadership of private school administrators revealed that the scores after the experiment of the training curriculum were significantly higher than those before the training at .05 level. 3.2 The means of the trainees attitudes towards quality leadership revealed that before and after the training were significantly different at .05 level. After the training the means as a whole and individual components were significantly higher than those before the training at .05 level. 3.3 The means of the trainees quality leadership characteristics, as a whole and individual components, before and after the training were significantly different at .05 level. After the training the means as a whole and individual components were significantly higher than those before the training at .05 level. Stage 4: Evaluating and improving the training curriculum. The researcher evaluated the efficiency of the training curriculum when the training sessions finished. The results of the evaluation were analyzed to improve the training curriculum accordingly. It produced the perfect version of the training curriculum in terms of structures and component details with correctness and appropriateness. It could be applied as a training curriculum on the quality leadership of private school administrators.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

คณิต สุขรัตน์

Downloads

Published

2014-04-08