ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ในบริบทการจัดการศึกษาของประชาคมอาเซียน

Authors

  • วรรณษา ท้วมศิริ
  • ธีรวุธ ธาดาตันติโชค
  • นภาเดช บุญเชิดชู

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา2)เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาจำแนกตาม เพศ การศึกษาขั้นสูงสุด ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา 3)ศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงครามรวมทั้งสิ้น 269 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และกลุ่มที่ 2 ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 ถึง 1.00มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารกิจการนักเรียน และด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษตามลำดับ 2. ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นำผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้มาพัฒนาหลักสูตร 2) ควรสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรทุกคนในโรงเรียน 3) ควรมีการจัดสวัสดิการภายในโรงเรียนที่หลากหลายตรงกับความต้องการ 4) ควรวางแผน ประชุมการบริหารงานงบประมาณ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และเสนอคณะกรรมการสถานศึกษา 5) ควรมีการเผยแพร่ ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน เสนอแนะความคิดเห็น 6) ควรให้ความยุติธรรม และความเสมอภาคกับบุคลากรอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร     7) ควรกำหนดกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรม และกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาได้อย่างเหมาะสมสู่ประชาคมอาเซียน และ 8) พัฒนาผู้บริหารให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ โดยจัดหาวิทยากรมาพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแก่ผู้บริหาร และบุคลากรภายในโรงเรียน   คำสำคัญ:ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประชาคมอาเซียน   Abstract Theresearchaimedto:1)studytheprofessional administratorsofschool administrators;2) compare the opinions of school administrators and teachers as classified by gender, highest educational level, work experience,jobposition,andschool size; and 3) study the guidelines for developing professional administrators of school administrators. The research sample consisted of 2 groups. The first group included questionnaire respondents consisting of 269 school administrators and teachers under the Office of SamutSongkhram Primary Educational Service Area derived by stratified random sampling. The second group included interviewees consisting of 3 school administrators, derived by purposive sampling. The research instruments were a questionnaire and an interview form constructed by the researcher with the content validity between 0.67-1.00, and the values of Cronbach's Alpha reliability coefficient equal to 0.99. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and content analysis. The findings of this research were as follows: 1. Overallandinspecific aspects, the professional administrators of school administrators were at ahighlevel.Whenconsideringeachaspect,it wasfoundthatallspecificaspectswererankedinthe descendingorderasfollows:moralandethics,vision,budgetadministration,personneladministration,community relation administration, academic administration, student affairs administration, and English communication. 2. The professional administrators of school administrators as classified by job position and school size obtained statistically significant difference at .05; whereas, gender, highest educational level, and work experience had no difference. 3. The suggested guidelines associated with professional administrators of school administrators should be established as follows: 1) promoting and exploiting the research outcomes to curriculum development; 2) boosting all school staff’s morale; 3) providing various types of welfare associated with needs; 4) planning budget administration meetings preparing annual operational plans, and proposing to the school committee; 5) disseminating and propagating school public information and providing opportunity for parents and communities to give advice and offer opinion; 6) providing impartiality and equal treatment to all school staff as well as paying attention to their opinion; 7) organizing innovational activities and formulating strategies in educational administration appropriate to ASEAN Economic Community (AEC); and 8) equipping school administrators with communicative competence in English as well providing trainers to improve English communication skills for school administrators and staff.   Keywords: Professional administrators, School administrators, ASEAN community.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads