การพัฒนาทักษะทางดนตรีเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรี ตามทฤษฎีของโคดาย

Authors

  • พจณิชา ฤกษ์สมุทร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางดนตรีเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรี ตามทฤษฎีของโคดายและศึกษาผลของพัฒนาการความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่างและหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 5 – 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปฐมวัย ห้อง 4 (ทวิภาษา) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จำนวน 11 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน และแบบบันทึกพฤติกรรมรายบุคคล ซึ่งประกอบด้วยแบบประเมินพัฒนาการความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ แบบประเมินพัฒนาการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดาย และแบบประเมินสุขภาวะทางอารมณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอทักษะทางดนตรีด้วยภาพกราฟเส้น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดายมีคะแนนเฉลี่ยด้านพัฒนาการความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ ด้านการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดาย และด้านสุขภาวะทางอารมณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดายจากการนำเสนอด้วยเส้นกราฟพบว่าส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับจากสัปดาห์ที่ 1–7 ทั้งนี้มีเพียงค่าเฉลี่ยของคะแนนในสัปดาห์ที่ 2 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 3 ที่คะแนนเฉลี่ยพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีตามทฤษฎีของโคดายมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์มือตามทฤษฎีของโคดายเป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องพัฒนาการของผู้เรียนมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ และพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยหลังจากการได้รับการจัดการเรียนรู้แล้ว เด็กมีทักษะทางดนตรี มีสุขภาวะทางอารมณ์ และมีความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ทักษะทางดนตรีเป็นไปในแนวทางที่ดีคำสำคัญ: เด็กปฐมวัย  ทักษะทางดนตรี  ทฤษฎีของโคดาย  การคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์The aims of this research were to develop music skills of Kindergarten students to encourage creative originality by using Kodaly approach-based musical activity and to study the outcome of creative originality of Kindergarten students before, during and after facilitating Kodaly approach-based musical activity learning experience. The samples of this study were 11 of 5-6 year old students who were studying in Kindergarten level bilingual program in 2016 academic year at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University, selected by cluster random sampling. The data collection was conducted within 7 weeks. Research tools in this study were 7 lesson plans and individual behavior observation form included creative originality development assessment form, Kodaly approach’s music skills assessment form and emotional health assessment form. The collected data was presented by line diagram. Statistic used for data analysis was descriptive analysis, standard deviation and t-test. The qualitative data was analyzed by content analysis.The result of the study showed that Kindergarten students who were given Kodaly approach-based musical activity treatment developed higher creative originality mean scores, music skills and emotional health after the experiment statistically significant at .01; According to graph result, the Kindergarten students development improved continuously after facilitating Kodaly approach-based musical activity learning experience during the 1 – 7 weeks. However, there were only during week 2 - 3 period that the development tended to slightly decrease, due to it’s the first period of learning hand signs according to Kodaly theory, but after providing the activity continually, the development of the learners had a tendency to improve respectively. In addition, after facilitating the learning experience, the students’ behavior also lead to improved in terms of music skills, emotional health and musical creative originality.Keywords: Early Childhood Students, Music Skill, Kodaly Approach, Creative Thinking

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พจณิชา ฤกษ์สมุทร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒEducational Research Development and Demonstration Institute, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2019-06-21

How to Cite

ฤกษ์สมุทร พ. (2019). การพัฒนาทักษะทางดนตรีเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรี ตามทฤษฎีของโคดาย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(21, January-June), 74–87. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/11390