ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลกับความหมายของว่านในระบบสุขภาพไทย (CULTURAL FACTORS ON MEDICINAL MEANING OF WAAN IN HEALTHCARE SYSTEM)

Authors

  • วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • อำนาจ เย็นสบาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ศิริยุภา พูลสุวรรณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ลือชัย ศรีเงินยวง มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

Abstract

ว่าน คือที่คนไทยโดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากต้นไม้อื่นๆ เป็นพฤกษศาสตร์พื้นบ้านที่มีความเฉพาะตัวสำหรับวัฒนธรรมไทย โดยทั่วไปแล้วว่านจะถูกเข้าใจในสองลักษณะใหญ่ๆ คือ พืชที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค หรืออีกนัยหนึ่งจะหมายถึงพืชที่มีสมบัติในทางไสยศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ทว่าในความหมายอย่างเป็นทางการ ว่าน กลับไม่มีการนิยามอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในตำราว่านเองหรือในพจนานุกรมงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการหาความหมายและการเปลี่ยนแปลงความหมายของพืชที่เรียกว่า ว่าน และการหาความหมายดั้งเดิมของสิ่งที่เรียกว่า ยา โดยการศึกษาจากเอกสารชั้นต้นคือตำราว่านเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก (Key Tracers) ประกอบกับเอกสารข้างเคียงในช่วงเวลาเดียวกันด้วยวิธีวิทยาแบบสาแหรก (Genealogy) ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสาธารณสุข รวมถึงตำรายา อาจกล่าวได้ว่าผลที่ได้จากงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นการอธิบายสภาพสังคมโดยใช้ว่านเป็นตัวขับเคลื่อนหลักผลสุดท้ายยังสามารถได้ผลลัพท์ในทางนิรุกติศาสตร์ของคำที่ยังมีความหมายกำกวมนี้ด้วยจากการศึกษาจากเอกสารทั้งในด้านความหมาย เนื้อหา และขนบในการเขียนเอกสารต่างๆ นั้น สามารถสรุปได้ว่า ว่าน คือ พืชที่มีสรรพคุณเป็นยา หากแต่ความหมายของ ยา ในอดีตนั้น กินความลึกซึ้งถึงสิ่งที่ใช้สำหรับต่อสู้กับสิ่งคุกคามในชีวิตประจำวันอันได้แก่ โรค-ภัย-ไข้-เจ็บ หาได้เป็นสิ่งที่ใช้เพียงรักษาโรคดังในปัจจุบันไม่ และในส่วนของสรรพคุณความเป็นยานั้น แม้ว่าว่านจะมีมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ หากแต่มีปรากฏว่านในรายการเภสัชธาตุน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่อ้างในตำราว่าน ทั้งนี้เนื่องจากแม้จะมีสรรพคุณมากพอสำหรับชาวบ้านที่ห่างไกลศูนย์กลางอำนาจ แต่ไม่สามารถเข้ากับระบบสุขภาพสมัยใหม่ที่มาจากตะวันตกได้คำสำคัญ: ว่าน  ยา  สาธารณสุขไทย  ระบบสุขภาพไทยAmong Thai people, Waan was generally perceived as a herb with special properties, Unlike a typical herbs. Ethnobotany, a Cultural identity, in Thailand is generally understood in two ways, plants for a medicinal treatment or plants with supernaturality like a Iron-skined or charismatics being. but the official meaning is that there are no clearly defined. Whether in Waan’s textbooks itself or in the dictionary.This research is aimed to explore the meaning and transformation of Waan and Drug by mean of documentary research by Waan’s textbook as the key tracer. Genealogy using the contemporary documents was used to be a main methodology, including the political, economic, public health, and the medical textbooks. The results from this work will help to explain the society by Waan as a centre. furthermore  the final result could even made the etymology of the words, Waan and drug, become explicitly too.The study documents from both the content and the tradition of writing such textbooks. It can be concluded that it is a plant with medicinal properties. But the meaning of the drug in the past covered the profundity of what used to negotiate everyday threats such Disease-Scare-Fever-Pain that did not mean the only curling like a currently does. The medicinal properties of Waan, even though, is more than other plants, but not enough to be fit to the modern pharmaceutical regime from the western that inroaded to Kingdom of ThailandKeywords: Waan, Drug, Thai Healthcare System, Thai Public Health

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล, มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒProgramme in Arts and Culture Research, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University.

อำนาจ เย็นสบาย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒBodhivijjalaya College, Srinakharinwirot University.

ศิริยุภา พูลสุวรรณ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒEducational Research Development and Demonstration Institute, Srinakharinwirot University.

ลือชัย ศรีเงินยวง, มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University.

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลFaculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University.

Downloads

Published

2019-01-10

How to Cite

วุฒิฤทธากุล ว., เย็นสบาย อ., พูลสุวรรณ ศ., & ศรีเงินยวง ล. (2019). ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลกับความหมายของว่านในระบบสุขภาพไทย (CULTURAL FACTORS ON MEDICINAL MEANING OF WAAN IN HEALTHCARE SYSTEM). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(20, July-December), 147–159. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/10850