ความสัมพันธ์ของสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคในกลุ่มข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว: การสำรวจเบื้องต้นในคณะทันแพทยศาสตร์ของไทย 4 สถาบันในช่วงเวลาหนึ่ง

Authors

  • Sorasun Rungsiyanont Srinakharinwirot University.
  • Pensri Photipakde Khonkaen University.
  • Pornpan Piboonratanakij Chulalongkorn University.
  • Patrayu Taebunpakul Srinakharinwirot University.
  • Kajorndej Wanaratana Thammasat University.

Abstract

ระบบข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวผิดปกติเป็นปัญหาทางคลินิกที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคในกลุ่มความผิดปกตินี้อาศัยเพียงประสบการณ์ของผู้ตรวจ ยังไม่มีตัวชี้วัดทางคลินิกที่ดีจะช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการทางคลินิก มีรายงานที่น่าสนใจบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันกับพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกตินี้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันกับปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจากข้อมูลผู้ป่วย 1,000 คน โดยกำหนดผู้ป่วย 500 คน มีสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันเป็นกลุ่มทดลอง และผู้ป่วยอีก 500 คน ที่ไม่มีสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันเป็นกลุ่มควบคุม โดยผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการตรวจและรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ 4 สถาบัน สถาบันละ 250 คน (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 125 คนเท่าๆ กัน) ผู้ตรวจทุกคนได้ปรับมาตรฐานการตรวจ จำแนกข้อมูลตามอายุ เพศ การมีหรือไม่มีสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟัน ปัญหาของระบบข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว รูปแบบการอ้าปากที่ผิดปกติ การสูญเสียฟันหลังและการใส่ฟันปลอม ทดสอบข้อมูลด้วยตัวแปรทางสถิติ ออดเรโชโลจิสติกรีเกรสชั่นและเพียสันไควแสคร์ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างสันกระพุ่งแก้มเหตุสบฟันกับรูปแบบการอ้าปากที่ผิดปกติและการใส่ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)คำสำคัญ: สันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟัน ความผิดปกติของระบบข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว รูปแบบการอ้าปากที่ผิดปกติ การสูญเสียฟันหลัง ฟันปลอมTemporomandibular disorder (TMD) is the clinical problem that frequently found and affect quality of life. Nowaday, diagnosis is depended on the experiences of the examiners. There is no good clinical indicator to help diagnosing TMD in asymptomatic cases. Many studies reported the association between buccal mucosa ridging and parafunctional habits that were accepted as predisposing factors for TMD. The purpose of this study is to clarify the association between buccal mucosa ridging and TMD predisposing factors. One thousand data (500 who has buccal mucosa ridging and 500 who has no buccal mucosa ridging) was collected from out patients of 4 Thai dental schools by calibrated investigators, 250 from each school equally (125 for control and 125 for experiment group). The data collection were age, sex, presence or absence of buccal mucosa ridging, TMD, jaw opening patterns, masticatory muscle symptoms, loss of posterior teeth and denture wearing. All data were statistically analysed by odd ratio, logistic regression and chi-square test at significant level of p=0.05. The result showed that there is relationship between buccal mucosa ridging and abnormal jaw opening patterns and removable partial denture wearing (p<0.05).Keywords: Buccal mucosa ridging, TMD, Jaw opening patterns, Loss of posterior teeth, Denture

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Sorasun Rungsiyanont, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Pensri Photipakde, Khonkaen University.

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Pornpan Piboonratanakij, Chulalongkorn University.

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Patrayu Taebunpakul, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Kajorndej Wanaratana, Thammasat University.

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Downloads

Published

2012-09-21

How to Cite

Rungsiyanont, S., Photipakde, P., Piboonratanakij, P., Taebunpakul, P., & Wanaratana, K. (2012). ความสัมพันธ์ของสันกระพุ้งแก้มเหตุสบฟันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคในกลุ่มข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว: การสำรวจเบื้องต้นในคณะทันแพทยศาสตร์ของไทย 4 สถาบันในช่วงเวลาหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(8, July-December), 83–95. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2391