ฤทธิ์ต้านการแบ่งเซลล์ของพืชบางชนิดที่เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงเขียวหวานต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ANTIPROLIFERATIVE ACTIVITY OF SOME HERBS USED IN KAENG-KHIAO-WAN PASTE ON LEUKEMIC CELL LINE)

Authors

  • Janpen Saengprakai Kasetsart University.
  • Gassinee Trakoontivakorn Kasetsart University.
  • Plernchai Tangkanakul Kasetsart University.
  • Chowladda Teangpook Kasetsart University.

Abstract

แกงเขียวหวานเป็นหนึ่งในอาหารไทยที่ติดอันดับ 10 รายการอาหารยอดนิยมของชาวต่างประเทศทั่วโลก และประกอบด้วยพืชหลายชนิดที่มีสรรพคุณในทางส่งเสริมสุขภาพ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว HL-60 ของแกงเขียวหวาน และพืช 4 ชนิด ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเครื่องแกงเขียวหวาน ได้แก่ พริกชี้ฟ้า ตะไคร้ ข่า และหอมแดง โดยทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวร่วมกับการใส่สารสกัดเมทานอลของตัวอย่างอาหารและพืช ที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่  0  0.01 0.1 1.0 10 50 และ 100 µg/mL พบว่า ที่ความเข้มข้น 100 µg/mL สารสกัดข่ามีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว HL-60 ได้ดีที่สุด โดยสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้สูงถึงร้อยละ 84.02 รองลงมาเป็นสารสกัดจากตะไคร้ (29.63%) และสารสกัดจากหอมแดง (22.56%) ส่วนสารสกัดพริกชี้ฟ้าและสารสกัดแกงเขียวหวานไก่นั้นไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว HL-60 นอกจากนี้ยังได้ทดสอบผลของการรวมตัวกันของพืชต่อการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากการนำสารสกัดพืชทั้ง 4 ชนิด มาทำการผสมกันตั้งแต่ 2-4 ชนิด ผลการทดสอบพบว่า ตัวอย่างสารสกัดที่เป็นส่วนผสมของพืช 2 3 และ 4 ชนิดนั้น มีฤทธิ์ไม่แตกต่างไปจากสารสกัดพืชแต่ละชนิด ทำให้กล่าวได้ว่าสารสกัดหลักที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง คือ สารสกัดข่า และเมื่อนำตัวอย่างสารสกัดที่เป็นส่วนผสมของพืช 4 ชนิด มาให้ความร้อนโดยการนึ่งที่อุณหภูมิ 100°C เป็นเวลา 15 นาที พบว่าทำให้ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลดลงคำสำคัญ: แกงเขียวหวาน ฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง ข่า (Alpinia galanga Linn.) หอมแดง (Allium ascalonicum Linn.) ตะไคร้ (Cymbopogan citratus (DC.) Stapf) พริกชี้ฟ้า (Capsicum annuum Linn.)Kaeng-Khiao-Wan is one of the Thai top ten dishes which is popular among foreigners all around the world. It consists of many health promoting plants. This study determined an antiproliferative effect of 4 main plants: chilli spur pepper, lemon grass, galanga, and shallot on HL-60 leukemic cell. The leukemia cells were cultured with 0, 0.01, 0.1, 1.0, 10, 50, and 100 µg/mL of methanol extracts of the food sample and the 4 plants. It was found that 100 µg/mL of galangal extract showed the strongest inhibition with 84.02% followed by the lemon grass extract with 29.63% inhibition and the shallot extract with 22.56% inhibition, whereas the chilli spur pepper extract and chicken Kaeng-Khiao-Wan extract showed no inhibition effect. The result also showed no significant inhibition effect of 2, 3, and 4 plant combinations. In conclusion, antiproliferation on HL-60 leukemic cell was mainly effected by the galangal extract. Additionally, at 100°C steaming process for 15 min caused the reduction of the antiproliferative effect of the 4 plant extracts.Keywords: Kaeng-Khiao-Wan, Antiproliferative, Galangal (Alpinia galanga Linn.), Shallot (Allium ascalonicum Linn.), Lemon grass (Cymbopogan citratus (DC.) Stapf), Chili spur pepper (Capsicum annuum Linn.)

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Janpen Saengprakai, Kasetsart University.

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Gassinee Trakoontivakorn, Kasetsart University.

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Plernchai Tangkanakul, Kasetsart University.

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Chowladda Teangpook, Kasetsart University.

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

Published

2012-09-12

How to Cite

Saengprakai, J., Trakoontivakorn, G., Tangkanakul, P., & Teangpook, C. (2012). ฤทธิ์ต้านการแบ่งเซลล์ของพืชบางชนิดที่เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงเขียวหวานต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ANTIPROLIFERATIVE ACTIVITY OF SOME HERBS USED IN KAENG-KHIAO-WAN PASTE ON LEUKEMIC CELL LINE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(7, January-June), 23–36. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2355