บทเรียนการพัฒนาหมู่บ้านในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จ.สระแก้ว-ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ (THE LESSON-LEARNT FROM DEVELOPMENT OF VILLAGE IN THE MOUNTAINOUS PLAIN DEVELOPMENT PROJECT OF SAKAEO-PRACHIN BURI UNDER ROYAL INITIATIVE)

Authors

  • อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านตามแนวทางพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดสระแก้ว-ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ 2) ประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านของโครงการฯ และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนาหมู่บ้านของโครงการฯ ที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หมู่บ้านเป้าหมายที่อยู่ในโครงการฯ จำนวน 14 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า1. เกณฑ์การคัดเลือกหมู่บ้านฯ มี 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการพัฒนาจิตใจ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ ความสามัคคี ข้อกำหนดและการปฏิบัติของหมู่บ้าน และกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต 2) แนวทางการพัฒนาด้านความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด คือ การบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ การเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และ 3) แนวทางการจัดระบบการใช้ที่ดินเพื่อทำกินและที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดคือ การจัดระบบการใช้ที่ดินตามทฤษฎีใหม่ และสภาพความเป็นอยู่และสาธารณูปโภคของที่อยู่อาศัย2. คณะกรรมการหมู่บ้านมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานพัฒนาตามพระราชดำริของโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.44) ไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หากพิจารณาในแต่ละแนวทางพัฒนา พบว่า การดำเนินงานพัฒนาด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.87) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการพัฒนาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.40) ไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และการจัดระบบการใช้ที่ดินเพื่อทำกินและที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับ ปานกลาง (X̅ = 3.05) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 4 หมู่บ้าน พบว่า หมู่บ้านทับลานจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพเป็นอันดับแรก อีกสามหมู่บ้านที่อยู่ในจังหวัดสระแก้ว ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจเป็นอันดับแรก3. บทเรียนการพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก พบว่าความสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาของหมู่บ้านในโครงการฯ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความสามัคคีของชาวบ้าน การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของราชการแล้ว การมีผู้นำที่เข้มแข็งและเสียสละ ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของงาน และทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถือเป็นต้นทุนสำคัญของการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อให้เกิดความยั่งยืนคำสำคัญ: บทเรียน การพัฒนา  หมู่บ้าน  โครงการตามพระราชดำริThe purposes of this research are as follows: 1) to develop criteria on evaluation the village in the Mountainous Plain Development Project of Sakaeo–Prachin Buri under Royal Initiative; 2) to assess result of the development of the villages of the project; and 3) to obtain lesson learnt from the development of the qualified villages of the project. The sampling of the research is 14 villages of the project. The research instruments are in the interview form and questionnaire.The research findings are as follows:1. There are three criteria in selecting sampling group of the village in the Mountainous Plain Development Project of Sakaeo–Prachin Buri under Royal Initiative are: (1) Mental development consisted of 3 indicators namely, unity, rules and regulations of village, and virtuous and ethical activities of conducting people’s living; (2) Guideline of career development which consists of 4 indicators namely, management of economics, learning and inherit the folk wisdom, environmental conservation, and networking co-operation; and (3) Guideline of land management for earning their living and dwelling which composes of 2 indicators namely the new theory of land management, and, living condition and public utilities.2. The opinion of village council on proceeding with the development under Royal Initiative is found out that it is moderate in general (X̅ = 3.44) and not higher than the criteria. However, upon considering on each guidelines of development, mental development is intense (X̅ = 3.87) and higher than criteria which is at statistical significance of .05, but developing knowledge for earning their living is moderate (X̅ = 3.40) and not higher than the criteria. Whereas, guideline of land management for earning their living and dwelling is at moderate rate (X̅ = 3.05) and lower than criteria which is at statistical significance of 05. The selected sampling group of village is 4 villages that the opinion of each village council is different as follows: The committee of Tab-larn Village focuses on developing knowledge for earning their living as the first priority. Meanwhile, committees of the other 3 villages in Sa-kaeo Province focus on mental development.3. The lesson learnt is found out that success of the development on target villages is not only people’s participation and unity, supports from governmental agencies; but it is also having determined and dedicated leaders. All these components enable efficiency in the result of development, whereas natural resources and environmental conservation that are social cost for developing the villages sustainably.Keywords: The Lesson-Learnt, Development, Village, Project Under Royal Initiative

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, Srinakharinwirot University.

Bodhivijalaya College, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2018-01-04

How to Cite

วิศวธีรานนท์ อ. (2018). บทเรียนการพัฒนาหมู่บ้านในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จ.สระแก้ว-ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ (THE LESSON-LEARNT FROM DEVELOPMENT OF VILLAGE IN THE MOUNTAINOUS PLAIN DEVELOPMENT PROJECT OF SAKAEO-PRACHIN BURI UNDER ROYAL INITIATIVE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(18, July-December), 241–257. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9693