ความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติของครัวเรือน: กรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย (VULNERABILITY TO DISASTER OD HOUSEHOLD: THE CASE STUDY FROM THE 2011 FLOOD IN THAILAND)
Abstract
ปัจจุบันโลกของเราได้ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย โดยมีสาเหตุหลักมาจากการกระทำของมนุษย์ ภัยธรรมชาติต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างหนึ่งของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือ มหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ซึ่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และก่อความสูญเสียให้กับระบบเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การศึกษาความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติของครัวเรือน จึงเป็นการมองผลกระทบจากภัยธรรมชาติหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดในอีกมิติหนึ่ง อันจะนำไปสู่การหามาตรการป้องกัน หรือนโยบายในการลดความรุนแรงและช่วยเหลือผู้เปราะบางได้ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติของครัวเรือน และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาน้ำท่วม ปี พ.ศ. 2554 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัย (Principle Component Analysis) ในการวิเคราะห์ความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติ การวิเคราะห์ปัจจัยในการศึกษานี้ จะได้ค่าดัชนีสามค่าที่เกี่ยวข้องกับความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติ คือ ดัชนีโอกาสเสี่ยงภัย ดัชนีความอ่อนไหว และดัชนีความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิม โดยดัชนีความสามารถในกลับสู่สภาพเดิมของครัวเรือนจะส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครัวเรือนสูงกว่าดัชนีอื่น ถ้าหากพิจารณาเฉพาะจังหวัดที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ประสบกับภาวะน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 อย่างรุนแรง พบว่า ดัชนีความอ่อนไหวและความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิมจะส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และการสูญเสียรายได้ของครัวเรือนในกลุ่มนี้ มากกว่ากรณีกลุ่มตัวอย่างรวม ทั้งนี้ การจัดทำแผนจัดการน้ำท่วมและแผนบรรเทาทุกข์ รวมถึงการคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วม และการเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพของภาครัฐ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติของครัวเรือน และช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครัวเรือนได้คำสำคัญ: ความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติ อุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครัวเรือนNowadays, our world is facing many environmental issues which mainly due to human activities. Natural disasters are prone to frequent and more intense. The previous example of a natural disaster that occurred in Thailand is the 2011 flood which affected in wide area especially the economy loss, both in the short and long term. Vulnerability to disaster is the one dimension of studying about effected of unexpected shock. This will lead policy maker to find some preventive measures and policy to reduce the severity and fragile of households. The aim of this study was analysis the determinants of vulnerability to disaster and economic impact from the 2011 flood to household by using the data from survey of the 2011 flood on the livelihood of Thai households during July to December 2011 by National Statistic Office. Principle Component Analysis was the Methodological approach to analyze household vulnerability to disaster which employed three indeices: expose index, susceptibility index and resilience index. The result showed that the resilience index was the greater effect on the loss of households than the others do. For the provinces located in Chaopraya river area which suffered from the 2011 flood, the affect from susceptibility index and resilience index to their economic loss and income loss were more than the total of household samples. In addition, the flood management and relief plan, flood forecasting and efficiency warning from the public sector were the vital for the protection of household vulnerability to disasters and reduce the household loss.Keywords: Vulnerability to Disaster, The 2011 Flood, The Loss of HouseholdsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-12-28
How to Cite
วิริยาทร ช., & เกิดเรือง ภ. (2017). ความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติของครัวเรือน: กรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย (VULNERABILITY TO DISASTER OD HOUSEHOLD: THE CASE STUDY FROM THE 2011 FLOOD IN THAILAND). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(18, July-December), 46–59. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9575
Issue
Section
บทความวิจัย