ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 (FACTORS AFFECTING JOB SATISFACTION OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION TEACHERS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF RAYONG EDUCATIONAL SERVICE AREA 1)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความพึงพอใจในการทำงานของครูปฐมวัย และ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครูปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัยที่ได้ทำการสอนเด็กปฐมวัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย และได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ทั้ง 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามความความพึงพอใจในการทำงานโดยรวม (Overall Job Satisfaction-OJS) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น แอลฟา เท่ากับ 0.75 และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู (Teacher Job Satisfaction Questionnaire-TJSQ) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น แอลฟา เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น และการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับมาก และ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 มีเพียง 4 ปัจจัย ที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการทำงาน ได้ร้อยละ 27.3 คือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้า เพื่อนร่วมงาน และความมั่นคงในงานคำสำคัญ: ความพึงพอใจในการทำงาน ครูปฐมวัยThe purposes of this research were to study (1) job satisfaction of early childhood education teachers, and (2) factors affecting their job satisfaction. The research sample consisted of 310 early childhood education teachers who had at least one year of teaching experience in schools under the Office of Rayong Educational Service Area 1. The employed research instruments were the Teacher Job Satisfaction Questionnaire (TJSQ) and the Overall Job Satisfaction Questionnaire (OJS) both of which were translated from English version by the researcher and then subject to quality verification. Confirmatory factor analysis was used to analyze construct validity for TJSQ. Cronbach’s Alpha Cofficients for OJS and TJSQ were found to be 0.75 and 0.94 respectively. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, step-wise multiple regression, and discriminant analysis.Research finding shown that (1) early childhood education teachers were satisfied with their job at the high level; and (2) four factors were found to affect early childhood education teacher’ s job satisfaction, namely, work Itself, advancement, colleagues, and security which could be combined to explain 27.3 percents of variance of their job satisfaction. Keywords: Job satisfaction, Early childhood education teachersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-06-05
How to Cite
ซื่อมาก ณ., ภัสสรศิริ น., & สบายยิ่ง ว. (2010). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 (FACTORS AFFECTING JOB SATISFACTION OF EARLY CHILDHOOD EDUCATION TEACHERS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF RAYONG EDUCATIONAL SERVICE AREA 1). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3, January-June), 87–94. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/910
Issue
Section
บทความวิจัย