การจัดการความรู้เพื่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้านไทยภาคกลาง (KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR CONTINUITY OF NATIVE BOAT CULTURE CENTRAL THAILAND)

Authors

  • จิรัฏฐ์ เหมือนวิหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของเรื่องการจัดการความรู้เพื่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้านไทยภาคกลาง คือการนำบทบาทของการจัดการความรู้ ในการฟื้นฟูวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้าน ซึ่งอยู่ในกระบวนการที่สูญหายไป เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์และมีการผสมผสานรูปแบบของการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) ผลการวิจัย พบว่า1) กระบวนการแสวงหาความรู้มีผลต่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้าน2) สังคมวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้านมีผลต่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้าน3) การเผยแพร่ความรู้มีผลต่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้าน4) การใช้ความรู้เรื่องเรือพื้นบ้านมีผลการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้าน และยังมีสังคมที่ใช้เรือพื้นบ้านอยู่จริงในปัจจุบัน           ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ1) กระบวนการการจัดการความรู้ควรมี 6 ขั้นตอน คือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การใช้ความรู้ การเก็บรักษาความรู้ และการประเมินผลความรู้2) ควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคไทยภาคกลางโดยนำเรือพื้นบ้านมาใช้เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน    คำสำคัญ: การจัดการความรู้ กระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การเก็บรักษาความรู้The main objective of the thesis entitled, Knowledge Management for Continuity of Native Boat Culture in Central Thailand, is to investigate the roles played by knowledge management to revive Thai native boat culture which is in the process of declining in central Thailand using qualitative research method broadly and historical study in specific. The research findings confirms the working hypotheses that:1) There exist native boat building in the region.2) There exist native boat using society and culture in the region.3) The distribution of knowledge management processes in reviving the boat utilization culture.4) There exist at the juncture the actual utilization of boat culture in the region.    The thesis then ended with many interesting recommendations as to how to make best uses of the research findings. It is suggested that:1) the process of knowledge management should contain of 6 steps : searching, creation, distribution, knowledge usage, conservation, and evaluating knowledge illustrated by a model.2) to assist the knowledge management  process in the continuation of native boat culture, it  is recommended to promote tourist activities utilizing native boats.Keywords: knowledge management, process of knowledge, creation, distribution, preservation

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จิรัฏฐ์ เหมือนวิหาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 

Downloads

Published

2010-06-05

How to Cite

เหมือนวิหาร จ. (2010). การจัดการความรู้เพื่อการสืบทอดวัฒนธรรมการใช้เรือพื้นบ้านไทยภาคกลาง (KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR CONTINUITY OF NATIVE BOAT CULTURE CENTRAL THAILAND). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3, January-June), 69–86. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/909