การพัฒนาคลังข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (THE DEVELOPMENT OF ITEM BANK FOR MATHEMATICS - GRADE 10)

Authors

  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุวิมล ติรกานันท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคลังข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3,466 ด้วยข้อสอบปรนัย จำนวน 240 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับวัตถุประสงค์ 0.67 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์ความเป็นเอกมิติ และโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ 2 พารามิเตอร์ ผลการศึกษาพบว่าข้อสอบทั้งหมดวัดคุณลักษณะเด่นเดียว จำนวนข้อสอบที่ถูกคัดเลือกเข้าคลังข้อสอบตามเกณฑ์ของทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ คือ 81 ข้อ โดยมีค่าพารามิเตอร์ความยากระหว่าง (-3.00) ถึง 3.00 และค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกระหว่าง 0. 05 – 2.50 และข้อสอบในคลังจำแนกตามเนื้อหาย่อย คือเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต จำนวน 30 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 37.04 การดำเนินการของเซต จำนวน 42 ข้อคิดเป็นร้อยละ 51.85 และการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้แผนภาพเวนน์–ออยเลอร์ จำนวน 9 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 11.11 นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้เสนอการใช้ประโยชน์จากคลังข้อสอบในเบื้องต้น คือการจัดชุดแบบทดสอบจากคลังข้อสอบแบบที่เป็นระบบ พบว่าแบบทดสอบตัวอย่างจำนวน 10 ฉบับ ที่ได้จากระบบดังกล่าวมีฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบ 1.190 ถึง 2.379 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่า 0.195 ถึง 0.483 และแบบทดสอบทั้ง 10 ฉบับ มีความเชื่อมั่นของการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ 0.721 ถึง 0.815คำสำคัญ: คลังข้อสอบ  คณิตศาสตร์  ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบThe main purpose of this research was to develop an item bank in mathematics with item response theory. Data collection was performed with 3,466 grade 10 students by 240 multiple choice test items with IOC of 0.67 - 1.00. The statistics for data analyzing included dimensionality and 2-parameters logistic item response model. The results showed that all test items were unidimensional. An item bank included 81 test items were qualified with IRT. The difficulty parameter value and discrimination power vary from (-3.000) - 3.000 and 0.50 - 2.50 respectively. The 30 items (37.04%) were based on basic knowledge in Set content, the 42 items (51.85%) were based on procedural in Set content, and the 9 items (11.11%) were based on problem solving with Venn-Euler diagrams content. Furthermore, the researchers have suggested that the primary utilization of an item bank should be a systematic test assembly. In this research, there were 10 sample tests including test information function of 1.190 - 2.379, and the standard errors of estimation were 0.195 - 0.483. Finally, the empirical reliability of 10 sample tests was 0.721- 0.815.Keywords: Item Bank, Mathematics, Item Response Theory

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุวิมล กฤชคฤหาสน์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุวิมล ติรกานันท์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Downloads

Published

2017-07-05

How to Cite

กฤชคฤหาสน์ ส., & ติรกานันท์ ส. (2017). การพัฒนาคลังข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (THE DEVELOPMENT OF ITEM BANK FOR MATHEMATICS - GRADE 10). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(17, January-June), 145–159. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9020