การศึกษาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชุมชน (A STUDY ON THE POTENTIAL OF THE CASHEW NUT INDUSTRIAL BUSINESS MANAGEMENT FOR THE DEVELOPMENT OF THE COMMUNITY, FARMERS CAREER PROMOTION PROCESS)
Abstract
การศึกษาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชุมชน ซึ่งการวิจัยมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับข้อมูลและผ่านการนำเสนอของโครงการวิจัยเกษตรกรชุมชนสามารถนำข้อมูลที่วิจัยไปใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแนวโน้มความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาให้เกิดเป็นองค์กรที่เข้มแข้งโดยเฉพาะธุรกิจด้านการเกษตรที่มีพื้นฐานการเพาะปลูกจากการผลิต เพื่อบริโภคเพื่อเชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดและพัฒนาให้มีศักยภาพในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูกเป็นของเกษตรกรเองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเช่าพื้นถึงร้อยละ 92.23 จึงถือได้ว่าเป็นจุดแข็งในการปลูกรวมไปถึงการขยายพันธ์ยังสามารถขยายตัวของเกษตรกรเองส่วนใหญ่ก็จะมีการปลูกพร้อมกันหมดคิดเป็นร้อยละ 94.5 และอีกปัจจัยสำหรับเกษตรกรปลูกมีการจัดระบบชลประทานที่ดี มีความสมบูรณ์ของดินสูงจึงทำให้ผลผลิตที่ได้จะสูง ส่วนจุดอ่อนของเกษตรกรในการเพาะปลูกบางรายยังขาดความรู้การปลูกที่ถูกต้อง การเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวไม่มีเครื่องทุนแรงมาใช้ซึ่งการเก็บเกี่ยวจะใช้แรงงานในครัวเรือนมาเก็บเพื่อเพื่อลดต้นทุนการจ้างแรงงาน ซึ่งบางครัวเรือนมีจำนวนพื้นที่ปลูกมากการเก็บเกี่ยวต้องมีระยะเวลาจึงต้องมีการจ้างแรงงานทำให้ต้นทุนที่สูงขึ้นผลผลิตไม่ได้คุณภาพอีกด้วยเพราะแรงงานที่เก็บเป็นเกษตรกรด้วยกันไม่มีความรู้และขาดความรับผิดชอบเท่าที่ควร การแปรรูปเกษตรกรจะเก็บเม็ดมะม่วงไว้แปรรูปเองที่บ้านของแต่ละครัวเรือนเพื่อเพิ่มมูลค่าที่ดีกว่าเม็ดสดที่เก็บมาแล้วและยังสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับครัวเรือนและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบเก่าที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ปริมาณการผลิตที่ได้จึงไม่สูงนักจึงทำให้เกิดความเสียหายของผลผลิตระหว่างการแปรรูปด้านการตลาดของเกษตรกรซึ่งในราคามีแนวโน้มดีขึ้นทุกปีโดยเฉพาะเม็ดที่กะเทาะเปลือกแล้วเฉลี่ย 304.34 บาท/กก. ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปีจุดแข็งของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของอำเภอท่าปลาอยู่ที่คุณภาพซึ่งถือได้ว่ามีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่นและจุดอ่อนด้านการตลาดเนื่องจากการขายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ส่วนใหญ่เกษตรกรขายผ่านพ่อค้าคนกลางเพราะมีแนวความคิดว่าสะดวกจึงทำให้การกำหนดราคาอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง ซึ่งอาจถูกกดราคาจากที่กำหนดเท่าท้องตลาด ซึ่งแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการตลาดนั้น ควรส่งเสริมเกษตกรให้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการตลาดซึ่งกันและกันคำสำคัญ: การจัดการธุรกิจ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ การมีส่วนร่วม เกษตรชุมชนThis study had activities which conformed to the economic obtaining data or information through the presentation of the community farmer’s research project could investigate, analyze, and consider the araised actual conditions by using the research data. Besides, it could be used for predicting the possible tendency in the business running and development so as to be a strong agricultural business organization. This commercial production could have the potential in snatching market share and business development of the farmers group. This was because the farmers grew cashews by themselves, without the expenses on tendency (92.23 percent). It was considered to be a strong point in cashew growing and propagation (94.5 percent). Other important factors were there was good irrigation system and soil fertility, resulting in high yields. However, the following weak pints: lack of knowledge in the correct growing system; harvesting was mostly done by household workforce, some households had a big cultivation land and needed to hire workforce with high payment; low yield quality since hired workers did no have knowledge and had low responsibility; and the farmers used traditional tools, resulting in low yields. However, the price of cashew nuts tended to be high every year. The nuts which had already been shelled were found to be at 304.34 baht per kilogram, higher than the previous years. Cashew nuts of Thapla district was considered to have good quality due to its taste. Importantly, most cashew nuts there were sold to middlemen who might obtain the price which was lower than the fixed price in markets. Thus, the farmers should group themselves for the negotiation power with the middlemen and exchange of market knowledge.Keywords: Business Management, Cashew Nut, Participation, Community FarmingDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-01-25
How to Cite
อินทุวงศ์ ก. (2017). การศึกษาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชุมชน (A STUDY ON THE POTENTIAL OF THE CASHEW NUT INDUSTRIAL BUSINESS MANAGEMENT FOR THE DEVELOPMENT OF THE COMMUNITY, FARMERS CAREER PROMOTION PROCESS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(16, July-December), 136–147. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/8408
Issue
Section
บทความวิจัย